หลวงปู่ขาว เกิดเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2431 ที่จังหวัดอำนาจเจริญ เดิมชื่อ ขาว โคระถา มีอาชีพ ทำนาและค้าขาย แต่งงานตอนอายุ 20 ปี มีบุตรด้วยกัน 3 คน ซึ่งต่อมาได้แยกทางกัน .... เมื่อท่านอายุได้ 31 ปี ได้อุปสมบทที่วัดโพธิ์ศรี อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญและได้จำพรรษาที่วัดนี้เป็นเวลา 6 พรรษา
...... เนื่องจากท่านได้บังเกิดศรัทธาในปฏิปทาของพระอาจารย์มั่น หลวงปู่่ขาวจึงได้ญัตติเป็นพระธรรมยุติ เมื่อปี พ.ศ.2468 อายุได้ 37 ปี ณ พันธสีมา วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี แล้วได้จำพรรษาอยู่ที่อุดรเป็นเวลา 8 ปี....... โดยได้ประกาศลั่นแก่ตัวเองว่า " เราอยากได้แก่นแท้ เราไม่ต้องการกระพี้หรือเปลือก ถ้าเป็นเนื้อก็อยากกินเนื้อล้ำหัวใจ ไม่อยากจะกินเนื้อที่ติดพังผืด "
จากนั้นหลวงปู่ขาวได้ออกเดินธุดงค์ตามหาพระอาจารย์มั่น ซึ่งก็คลาดกันเสมอ จนสุดท้ายได้เข้ากราบนมัสการที่ป่าเวียงทรายจังหวัดเชียงใหม่ตอนหลวงปู่่ขาวอายุ45ปี ..... และได้จำพรรษากับพระอาจารย์มั่น ในช่วงออกพรรษาพระอาจารย์มั่นให้ลูกศิษย์แต่ละรูปแยกย้ายปลีกวิเวกบำเพ็ญเพียร ซึ่งหลวงปู่ขาวก็ได้ปลีกวิเวกตามคำสอนโดยมีสติปัญญาเป็นครูบาอาจารย์ ท่านได้ไปอยู่กับพวกชาวเขา และได้เคยมอบคาถาสั้นบทหนึ่งเป็นคาถาป้องกันภัยให้กับชาวบ้าน มีว่า " อิติปิโส ภควา พระเจ้าสั่งมา ภควายันติ"
หลวงปู่ขาวได้ออกธุดงค์บำเพ็ญเพียรในป่าซึ่ง เวลาท่านนึกถึงอะไร สิ่งนั้นมักจะมาตามความรำพึงนึกคิดเสมอ เช่น นึกถึงช้าง ว่าหายหน้าไปไหนนานพอตกกลางคืนดึกๆ ช้างก็จะมาหาจริงๆ เวลาที่ท่านนึกถึงเสือ ก็เช่นกัน นึกถึงตอนกลางวันตกกลางคืนเสือก็มาเพ่นพ่านภายในวัดบริเวณที่ท่านพักอยู่....เวลาท่านไม่สบายอยู่ในป่าเขา ท่านมักจะไม่ใช้ยา จะใช้แต่ธรรมโอสถ ซึ่งได้ผลทั้งทางร่างกายและจิตใจไปพร้อมๆ กัน..... หลวงปู่ขาวมีความเพียรอย่างแรงกล้า ท่านจะปฏิบัติธรรมใน3อริยาบทคือ ยืนเดิน นั่ง โดยไม่ล้มตัวลงนอน เพื่อเอาแพ้ชนะระหว่างกิเลสตัวเห็นแก่เสื่อเห็นแก่หมอนกับ ศรัทธาธรรม วิริยะธรรม สติธรรม สมาธิธรรม ปัญญาธรรม
หลวงปู่ขาว ได้บรรลุธรรมชั้นสุดยอดในราวพรรษาที่ 16-17 ที่อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ...... เย็นวันหนึ่ง หลวงปู่ขาว ออกจากที่พักไปสรงน้ำ ได้เห็นข้าวในไร่ชาวเขา กำลังสุกเหลืองอร่าม ทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาในขณะนั้นว่า ข้าวมันงอกขึ้นมาเพราะมีอะไรเป็นเชื้อพาให้เกิด ใจที่พาให้เกิดตายอยู่ไม่หยุด ก็น่าจะมีอะไรเป็นเชื้ออยู่ภายในเช่นเดียวกันกับเมล็ดข้าว เชื้อนั้น ถ้าไม่ถูกทำลายเสียที่ใจให้สิ้นไป จะต้องพาให้เกิดตายอยู่ไม่หยุด ก็แล้วอะไรเป็นเชื้อของใจเล่า ถ้าไม่ใช่กิเลสอวิชชา ตัณหาอุปาทาน ท่านคิดทบทวนไปมา โดยถืออวิชชาเป็นเป้าหมายแห่งการวิพากษ์วิจารณ์ พิจารณาย้อนหน้าถอยหลัง อนุโลมปฏิโลมด้วยความสนใจอยากรู้ตัวจริงแห่งอวิชชา นับแต่หัวค่ำจนดึกไม่ลดละการพิจารณาระหว่าง อวิชชา กับ ใจ จวนสว่างจึงตัดสินใจกันลงได้ด้วยปัญญา อวิชชาขาดกระเด็นออกจากใจไม่มีอะไรเหลือ....... การพิจารณาข้าว ก็มายุติกันที่ข้าวสุก หมดการงอกอีกต่อไป การพิจารณาจิต ก็มาหยุดกันที่ อวิชชาดับ กลายเป็นจิตสุกขึ้นมา เช่นเดียวกับ ข้าวสุก จิตหมดการก่อกำเนิดเกิดในภพต่างๆ อย่างประจักษ์ใจ .......ใจก็เริ่มสว่างจากอวิชชาขึ้นสู่ธรรมอัศจรรย์ถึงวิมุตติหลุดพ้นในเวลาเดียวกันกับพระอาทิตย์อุทัย
หลวงปู่ขาวได้ธุดงค์จาริกไปตามถิ่นต่าง ๆ จนในที่สุดก็มาพำนักจำพรรษาอยู่ที่ วัดถ้ำกลองเพล อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู เมื่อ พ.ศ.2501............ หลวงปู่ขาวเป็นภิกษุ ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ มีข้อวัตรปฏิบัติงดงาม สมควรจดจำเป็นแบบอย่าง ............. ในช่วงบั้นปลายชีวิต หลวงปู่ขาวมีอาการอาพาธอยู่ถึง 9 ปี แต่สุขภาพจิต ยังดี มีนิสัยรื่นเริง ติดตลก ในระยะ 3 ปีสุดท้าย นัยน์ตาของท่านมืดสนิท เพราะต้อแก้วตาหรือต้อกระจก หูก็ตึงมาก เพราะหินปูนจับกระดูก แต่ท่านมิได้เดือดร้อนใจ และสามารถบอกกำหนดอายุขัยของตนเองได้จวบจนมรณภาพ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคมพ.ศ.2526
คำสอนหลวงปู่ขาว
"เราเองเป็นคนทำให้จิตใจตนเองเศร้าหมอง ผู้อื่นช่วยไม่ได้ แม้พระพุทธเจ้าก็ช่วยไม่ได้... ท่านทรงเป็นผู้บอกทางให้เท่านั้น ผู้ปราถนาความเจริญ ความสุขต้องหมั่นฝึกฝนอบรมตนเอง"
"คนเกิดมาไม่เหมือนกัน เพราะมีความประพฤติที่ต่างกัน ผู้ที่เขาประพฤติดี รักษาศีลมีการให้ทาน มีการสดับรับฟังพระธรรม เขาจึงมีปัญญาดี มีการศึกษาเล่าเรียนดี"
"ปล่อยจิตว่าง แล้วจิตสบาย เพราะจิตเป็นหนึ่งไม่ขุ่นมัว ไม่มีอารมณ์มาฉาบทาดวงจิตแล้ว ดวงจิตใส ดวงจิตขาว จิตเย็นมีแต่ความสบาย รู้เท่าสังขาร รู้เท่าความเป็นจริง จิตเราไม่หวั่นไหวต่อสิ่งทั้งปวง ถึงมรณะจะมาถึงก็ตาม ทุกข เวทนา เจ็บปวด มาถึงก็ตาม ไม่มีความหวั่นไหวต่อสิ่งเหล่านั้น"
"การจำแนกสัตว์ให้ดีให้ชั่วต่าง ๆ กัน มันเป็นเพราะกรรม... ถ้ามันยังทำกรรมอยู่ ก็ต้องได้รับผลกรรมทั้งกรรมดีกรรมชั่ว มันต้องได้รับผลตอบแทน.. เหตุนี้ เราจึงควรทำกุศล รักษาศีลให้บริสุทธิ์สมบูรณ์ แล้วทำสมาธิจะมีความสงบสงัด จิตรวมลงได้ง่าย เพราะมันเย็น มันราบรื่นดี ไม่มีลุ่มไม่มีดอน ...... จงพากันทำไปใน อิริยาบถทั้งสี่ นั่ง นอน ยืน เดิน อะไรก็ได้ แล้วแต่ความถนัด แล้วแต่จริต อันใดมันสะดวกสบายใจ หายใจดี ไม่ขัดข้องฝืดเคือง อันนั้นควรเอาเป็นอารมณ์ของใจ"
"พุทโธ พุทโธ หมายความว่า ให้ใจยึดเอาพุทโธเป็นอารมณ์ เพื่อป้องกันไม่ให้จิตออกไปสู่อารมณ์ภายนอก เพราะอารมณ์ภายนอกมันชอบไปจดจ่ออยู่กับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ความถูกต้องทางกาย หากทุกสิ่งทุกอย่างมันไปจดจ่ออยู่ที่นั่น จิตมันจะไม่รวมลง นี่แหละ เรียกว่า มาร คือ ไม่มีสติ อย่าให้จิตไปจดจ่ออย่างนั้น ให้มาอยู่กับผู้รู้ ให้น้อมเอา พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นอารมณ์ จะอยู่ในอิริยาบถใด ก็ให้มีความเพียร"
"ผู้ที่ภาวนาจิตสงบลงชั่วช้างพับหู งูแลบสิ้น ชั่วไก่ดินน้ำ นี่ อานิสงส์อักโข ให้ตั้งใจทำไป การที่จิตรวมลงไปบางครั้ง มี 3 ขั้นสมาธิ คือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ....... หากรวมลง ขณิกสมาธิ เราบริกรรมไป พุทโธ หรืออะไรก็ตาม จิตสงบไปสบายไปสักหน่อย มันก็ถอนขี้นมา ก็คิดไปอารมณ์เก่าของมันนี่........ ส่วนหากรวมลงไปเป็น อุปจารสมาธิ ก็นานหน่อยกว่าจะถอนขึ้นไปสู่อารมณ์อีกให้ภาวนาไป อย่าหยุดอย่าหย่อน ค่อยเป็นค่อยไป ไม่ต้องไปนึกคาดหวังอะไร อย่าให้มีความอยาก เพราะมันเป็นตัณหา ตัวขวางกั้นไม่ให้จิตรวม ไม่ต้องไปกำกับว่า อยากให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ การอยากให้จิตรวมลง เหล่านี้แหละเ ป็นนิวรณ์ตัวร้าย........ให้ปฏิบัติความเพียรไม่หยุดหย่อน เอาเนื้อและเลือด ตลอดจนชีวิตถวายบูชาพระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์ เราจะเอาชีวิตจิตใจ ถวายบูชาพระรัตนตรัย ตลอดจนวันตาย นี่ก็เป็นมัชฌิมาปฏิปทา แล้วจิตจะรวมลงอย่างไร เมื่อไร ก็จะเป็นไปเองเมื่อใจเป็นกลาง ปล่อยวาง สงบถูกส่วน"
ผมเคยได้ยินชื่อ หลวงปู่ขาว ดีจังเลยวันนี้ได้รู้ประวัติท่านด้วย ขอบคุณครับ
ตอบลบคำสอนที่แม่หมอให้มาของหลวงปู่ขาวดีมากครับ
ตอบลบขอบคุณที่ติดตามค่ะ
ตอบลบ