ธรรมะน่ารู้วันนี้ แม่หมอขอพาเพื่อนๆมารู้จัก โพชฌงค์ 7 อันเป็นธรรมะที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้........ หมายความว่าคนที่เข้าถึงการบรรลุมรรคผล หรือว่าเข้าถึงความดีได้ต้องมีโพชฌงค์ 7 ประการ คือ สติ (สติสัมโพชฌงค์) ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง ..... .ธัมมวิจยะ (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์) ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม........ วิริยะ (วิริยสัมโพชฌงค์) ความเพียร........ปีติ (ปีติสัมโพชฌงค์) ความอิ่มใจ ....... ปัสสัทธิ (ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์) ความสงบกายใจ ...... .สมาธิ (สมาธิสัมโพชฌงค์) ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วในอารมณ์ ...... .อุเบกขา (อุเบกขาสัมโพชฌงค์) ความมีใจเป็นกลาง เพราะเห็นตามเป็นจริง
โพชฌงค์ 7 เป็นหลักธรรมส่วนหนึ่งของ โพธิปักขิยธรรม 37 (ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ เกื้อหนุนแก่อริยมรรค อันได้แก่ สติปัฏฐาน4 สัมมัปปธาน4 อิทธิบาท4 อินทรีย์5 พละ5 โพชฌงค์7 และมรรคมีองค์ 8) ซึ่งรายละเอียดของโพชฌงค์7 มีดังต่อไปนี้ค่ะ
1. สติสัมโพชฌงค์ คือการมีสติรู้ตัว ระลึกได้ ใจอยู่กับกิจ จิตอยุ่กับเรื่อง ซึ่งมีพื้นฐานมาจากสติปัฏฐาน4 คือการตั้งสติพิจรณา ประกอบด้วย พิจรณา กาย เวทนา จิต และธรรม เป็นการมีสติขั้นสูงเพื่อการตรัสรู้ พ้นกิเลสพ้นทุกข์
2.ธัมวิจยสัมโพชฌงค์ คือการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย องค์ธรรม เป็นการเฟ้นหาธรรม สอดส่องสืบค้นธรรม มีปัญญาเพื่อการตรัสรู้ เข้าใจและเห็นแจ้งในธรรม
3. วิริยสัมโพชฌงค์ คือ ลักษณะหนึ่งของสัมมัปปทาน4 หรือความเพียรพยายาม 4ประการอันประกอบด้วย 1.เพียรละกิเลส ความโลภ โกรธ หลง 2.เพียรป้องกันไม่ให้กิเลสที่ละไปแล้วเกิดขึ้นอีก 3.เพียรสร้างความดี คือไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง 4.เพียรพยายามรักษากุศลธรรมที่ได้ทำมาให้บริบูรณ์และมั่นคงยิ่งขึ้น ซึ่งวิริยสัมโพชฌงค์หมายรวมถึงการเพียรในส่วนของสติสัมโพชฌงค์ และธัมวิจยสัมโพชฌงค์อย่างต่อเนื่อง
4.ปีติสัมโพชฌงค์ คือ ความอิ่มใจและยินดีในกุศลธรรม จากผลแห่งความเพียรที่ได้ทำมา ซึ่งอาจมีอาการทางกายและจิตขึ้นมาเช่น รู้สึกอิ่มใจยิ่ง อาการขนลุก น้ำตาไหล
5.ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ คือความสงบกาย และสงบใจ จิตใจสงบนิ่ง อันเนื่องจากได้พ้นกิเลส พ้นทุกข์ หลังจากเกิดปีติแล้ว
6.สมาธิสัมโพชฌงค์ คือสมาธิระดับสูง คือมีจิตใจตั้งมั่น เข้มแข็งแน่วแน่ ที่จะหลุดพ้นจากกิเลสและกองทุกข์ หลังจากเกิดความสงบทั้งกายและใจ
7.อุเบกขาสัมโพชฌงค์ คือการมีจิตใจเป็นกลาง วางเฉย ไม่ทุกข์ ไม่สุข ไม่มีปีติ โดยจิตอยู่ในสภาพเรืองปัญญา ไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรม และสามารถแก้ไขปัญหาได้
โพชฌงค์7 เป็นธรรมะหรือแนวทางที่จะทำให้สามารถตรัสรู้ได้ โดยแต่ละองค์ทั้ง7ประการจะต้องมีความสัมพันธ์กันเป็นขั้นตอน และต้องปฏิบัติต่อเนื่อง ขาดองค์ใดองค์หนึ่งไม่ได้ .......... ซึ่งโพชฌงค์7 เป็นธรรมะ1ใน7 บทของโพธิปักขิยธรรม37 ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนและย้ำแก่ภิกษุทั้งหลายในช่วง3เดือนก่อนเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ให้ศึกษาปฏิบัติ และนำไปเผยแพร่แก่มวลมนุษย์
ทักทาย
แม่หมอขอแนะนำตัวเองก่อนเลยนะคะ ก็เป็นผู้หญิงธรรมด๊าธรรมดาคนนึง อาจดูเหมือนเป็นสาวมั่นที่ลุ๊คดู เปรี้ยวไปบ้างเล็กน้อย ..... ส่วนใหญ่วันๆ ก็ทำงาน หาเงิน (แล้วก็อยากรวย) ว่างๆก็ใช้เงิน หาเงิน วนเวียนอยู่กับเงิน อยู่กับงาน อยู่กับครอบครัว ชีวิตหมดไปอย่างงี้แหละค่ะทุกๆวัน ..... แล้วมาวันนึงก็ให้รู้สึก เหนื่อยกับชีวิต บางครั้งก็คิดว่า เอ๊ะทำไมคนนั้นต้องทำกับเราอย่าง นี้ คนนี้ต้องทำกับเราอย่างนั้นด้วย รึทำไมน๊าถึงซวยอย่างนี้ และอื่นๆอีกมากมาย .....คราวนี้ก็มาลองคิดดู คิดไปคิดมาก็ให้รู้สึกเหมือนตัวเองไม่ค่อยมีความสุขเท่าไหร่ แต่คงเป็นโชคดีที่ตัวเองเป็นคนชอบอ่าน วันนึงก็เลยลองหยิบหนังสือแนว ธรรมะขึ้นมาอ่าน(กะอ่านเล่นๆ)... แล้วก็เริ่มเห็นจริงในบางเรื่อง ....แล้วก็เริ่มเอามาปรับใช้ในชีวิตจริง ..... สุดท้ายศรัทธาก็เกิดและชีวิตก็มีความสุขขึ้นตามลำดับ ......... แม่หมอคิดว่า คนเราเลือกที่จะมีความสุขได้นะคะ อยู่ที่เราจะเลือกรึเปล่า และกฎแห่งกรรมก็มีจริงค่ะอาจช้าไปบ้าง เร็วไปบ้าง แต่มีจริงแน่นอนค่ะ ..... ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปรัชญา เป็นศาสนาที่เน้นแนวคิด.... บางครั้งเราอาจคิดว่าห่างไกลกับชีวิตประจำ วันของเรา หรือ บางคนอาจคิดว่าวัยยังไม่ถึงยังไม่แก่ซะหน่อย ....แต่ไม่ลองไม่รู้ค่ะ แม่หมอเลยอยากชวนเพื่อนๆให้มาเริ่มศึกษาธรรมะไปพร้อมๆกับแม่หมอ เราจะเดินไปด้วยกันสู่เส้นทางสายธรรมเพื่อความสุขที่เราเลือกจะมีค่ะ
แม่หมอขอแนะนำตัวเองก่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น