ทักทาย

แม่หมอขอแนะนำตัวเองก่อนเลยนะคะ ก็เป็นผู้หญิงธรรมด๊าธรรมดาคนนึง อาจดูเหมือนเป็นสาวมั่นที่ลุ๊คดู เปรี้ยวไปบ้างเล็กน้อย ..... ส่วนใหญ่วันๆ ก็ทำงาน หาเงิน (แล้วก็อยากรวย) ว่างๆก็ใช้เงิน หาเงิน วนเวียนอยู่กับเงิน อยู่กับงาน อยู่กับครอบครัว ชีวิตหมดไปอย่างงี้แหละค่ะทุกๆวัน ..... แล้วมาวันนึงก็ให้รู้สึก เหนื่อยกับชีวิต บางครั้งก็คิดว่า เอ๊ะทำไมคนนั้นต้องทำกับเราอย่าง นี้ คนนี้ต้องทำกับเราอย่างนั้นด้วย รึทำไมน๊าถึงซวยอย่างนี้ และอื่นๆอีกมากมาย .....คราวนี้ก็มาลองคิดดู คิดไปคิดมาก็ให้รู้สึกเหมือนตัวเองไม่ค่อยมีความสุขเท่าไหร่ แต่คงเป็นโชคดีที่ตัวเองเป็นคนชอบอ่าน วันนึงก็เลยลองหยิบหนังสือแนว ธรรมะขึ้นมาอ่าน(กะอ่านเล่นๆ)... แล้วก็เริ่มเห็นจริงในบางเรื่อง ....แล้วก็เริ่มเอามาปรับใช้ในชีวิตจริง ..... สุดท้ายศรัทธาก็เกิดและชีวิตก็มีความสุขขึ้นตามลำดับ ......... แม่หมอคิดว่า คนเราเลือกที่จะมีความสุขได้นะคะ อยู่ที่เราจะเลือกรึเปล่า และกฎแห่งกรรมก็มีจริงค่ะอาจช้าไปบ้าง เร็วไปบ้าง แต่มีจริงแน่นอนค่ะ ..... ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปรัชญา เป็นศาสนาที่เน้นแนวคิด.... บางครั้งเราอาจคิดว่าห่างไกลกับชีวิตประจำ วันของเรา หรือ บางคนอาจคิดว่าวัยยังไม่ถึงยังไม่แก่ซะหน่อย ....แต่ไม่ลองไม่รู้ค่ะ แม่หมอเลยอยากชวนเพื่อนๆให้มาเริ่มศึกษาธรรมะไปพร้อมๆกับแม่หมอ เราจะเดินไปด้วยกันสู่เส้นทางสายธรรมเพื่อความสุขที่เราเลือกจะมีค่



a

วันพุธ

สังโยชน์10

ธรรมะน่ารู้วันนี้แม่หมอจะพาเพื่อนๆมารู้จักหัวข้อธรรมะที่ชื่อว่าสังโยชน์10ค่ะ ....... สังโยชน์ แปลว่า กิเลส เป็นเครื่องร้อยรัดจิตใจให้ตกอยู่ในวัฎฎะ มี ทั้งหมด10 อย่าง ซึ่งนักปฏิบัติธรรมจะใช้เป็นตัววัดอารมณ์ โดยเทียบจิตกับสังโยชน์ ว่า เราตัดอะไรได้เพียงใด แล้วก็จะได้รู้ผลปฏิบัตินั่นเอง...... สังโยชน์ทั้ง 10 ข้อนี้ ถ้าพิจารณาวิปัสสนาญาณแล้ว จิตจะค่อยปลดอารมณ์ที่ยึดถือได้ครบ 10 อย่าง โดยไม่กำเริบอีกแล้ว หากทำได้ท่านผู้นั้นจะบรรลุอรหัตผล ...... เราลองมาดูกันนะคะว่า สังโยชน์10 หรือกิเลสที่อยู่ในจิตใจมีอะไรกันบ้าง...... ซึ่งหากเป็นพระโสดาบัน ละสังโยชน์ 3 ข้อต้นได้คือ หมดสักกายทิฏฐิ,วิจิกิจฉาและสีลัพพตปรามาส ..... พระสกทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ 4 และ 5 คือ กามราคะและปฏิฆะ ให้เบาบางลงด้วย ..... พระอนาคามี ละสังโยชน์ 5 ข้อต้นได้หมด ..... ส่วนพระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง 10 ข้อค่ะ


โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ได้แก่

1.สักกายทิฏฐิ - ยังเห็นว่า ร่างกายเป็นเรา มีความยึดมั่นถือมั่นในระดับหนึ่ง หากละได้แล้วจะให้รู้สึกในอารมณ์ของเราว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายนี้ไม่มีในเรา หรือตามศัพท์ที่เรียกว่า ขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้มันไม่ใช่ของเรา ..... ถ้าจะปฏิบัติกันตามลำดับแล้ว ต้องใช้อารมณ์ตามลำดับ คือ  อารมณ์ขั้นต้น ใช้อารมณ์แบบเบา ๆ คือมีความรู้สึกตามธรรมดาว่า ชีวิตนี้ต้องตาย ไม่มีใครเลยในโลกนี้ที่จะทรงชีวิตได้ตลอดกาล ในที่สุดก็ต้องตายเหมือนกันหมด ใช้อารมณ์ให้สั้นเข้า คือมีความรู้สึกไว้เสมอว่า เราอาจจะตายวันนี้ไว้เสมอ จะได้ไม่ประมาทในชีวิต...... อารมณ์ขั้นกลาง ท่านให้ทำความรู้สึกเป็นปกติว่า ร่างกายของคนและสัตว์ ตลอดจนวัตถุทุกชนิดเป็นของสกปรกทั้งหมด มีทั้ง อุจจาระ ปัสสวะ น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง เป็นต้น พยายามทำอารมณ์ให้ทรงจนเกิดความเบื่อหน่ายในร่างกายทั้งหมด ....... อารมณ์สูงสุด มีความรู้สึกว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย และร่างกายไม่มีในเรา มีอาการวางเฉยในร่างกายทุกประเภท เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์


2. วิจิกิจฉา - มีความสงสัยในคุณของพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์....... วิจิกิจฉา แปลว่า สงสัย คือสงสัยในความดีของพระพุทธเจ้า สงสัยในความดีของพระธรรมคำสั่งสอน สังสัยในความดีของพระอริยสงฆ์ สงสัยว่า พระพุทธเจ้ามีจริงหรือไม่ เมื่อสงสัยเข้าก็ไม่เชื่อ ถ้ามีอารมณ์อย่างนี้ ต้องลงอบายภูมิ ...... เพราะฉะนั้นจงอย่ามีในใจ ใช้ปัญญาพิจารณานิดเดียว ก็จะเข้าใจว่า พระพุทธเจ้าพูดถูก พูดจริง ยอมรับนับถือคำสั่งสอนของพระองค์


3. สีลัพพตปรามาส - คือการรักษาศีลแบบลูบ ๆ คลำ ๆ ไม่รักษาศีลอย่างจริงจัง หรือความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร ..... หรือนำศีลและพรตไปใช้เพื่อเหตุผลอื่น ไม่ใช่เพื่อเป็นปัจจัยแก่การสิ้นกิเลส เช่นการถือศีลเพื่อเอาไว้ข่มไว้ด่าคนอื่น การถือศีลเพราะอยากได้ลาภสักการะเป็นต้น ซึ่งรวมถึงการหมดความเชื่อถือในพิธีกรรมที่งมงายด้วย

4. กามฉันทะ -มีจิตมั่วสุมหมกมุ่น ใคร่อยู่ในกามารมณ์ ติดใจในกามคุณ  คือมีความพอใจในกามคุณ คือ รูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ เราต้องกำจัดในสิ่งเหล่านี้


5. ปฏิฆะ - มีความกระทบกระทั่งในใจ คือ การกระทบกระทั่งความไม่พอใจ ซึ่งต้องพยายามนำออกจากจิต.ไม่ให้มีมีอารมณ์ผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ   ให้มีความเมตตา กรุณา เข้ามาแทน

อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง 5 ได้แก่


6. รูปราคะ - มีความติดใจในวัตถุหรือรูปฌาน เป็นการหลงในรูปฌาน..... เราต้องไม่หลงติด ไม่มัวเมาใน รูปฌาน แต่จะรักษาไว้เพื่อประโยชน์แก่จิตใจ แล้วใช้่ปัญญาพิจารณาขันธ์ 5

7. อรูปราคะ - มีความติดใจในอรูปฌานหรือความพอใจในนามธรรมทั้งหลาย ยึดมั่นถือมั่นในอรูปฌาน คิดว่าเป็นคุณพิเศษที่ทำให้พ้นจากวัฎฎะได้ เมื่อไม่หลงติดในรูปธรรมได้แล้วก็ต้องตัดความหลงติดในนามธรรมตามมาด้วย

8. มานะ - มีความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนหรือคุณสมบัติของตน มีอารมณ์ถือตัวถือตน ถือชั้นวรรณะเกินพอดี การถือตัวถือตนว่าเราดีกว่าเขา  ..... เพราะฉะนั้นจึงควรวางอารมณ์แห่งการถือตัวถือตนเสีย มีเมตตาบารมีเป็นที่ตั้ง การถือตัวถือตน เป็นปัจจัยของความทุกข์ เราควรวางใจแต่เพียงว่า ชราปิ ทุกขา ความแก่เป็นทุกข์ มรณัมปิ ทุกขัง ความตายเป็นทุกข์ โสกะปริเทวะทุกขะ โทมะสัส อุปยาส ความเศร้าโศกเสียใจเป็นทุกข์ ทุกข์มาจากไหน ทุกข์มาจากการเกิด แล้วเกิดนี่มาจากไหน การเกิดมาจาก กิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรม......  เราควรวางใจเป็นกลาง การถือตัวถือตนเป็นปัจจัยของความทุกข์ จิตใจเราพร้อมในการเมตตาปรานี ไม่ถือตน เขาจะมีฐานะเช่นใดก็ช่าง ถือว่า เป็นเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหมือนกันหมด ถ้ากำหนดอารมณ์อย่างนี้ได้ เราก็สามารถจะกำจัดตัวมานะของตนได้

9. อุทธัจจะ - มีความฟุ้งซ่าน มีอารมณ์ฟุ้งซ่าน ครุ่นคิดอยู่ในอกุศล ตัดอุทธัจจะก็ คือตัดารมณ์ฟุ้งซ่าน ออกไปนั่นเอง

10. อวิชชา - มีความไม่รู้จริงมีความคิดเห็นว่า โลกามิสเป็นสมบัติที่ทรงสภาพ ...... อวิชชา หมายถึง อุปาทาน คือความยึดมั่นถือมั่น ไม่รู้ตามความเป็นจริง อุปาทานนี้มีคำจัดกัดอยู่ 2 คำ คือ ฉันทะ และราคะ  .....  ฉันทะ คือความหลงใหลใฝ่ฝันในโลกามิสทั้งหมด มีความพอใจในสมบัติของโลก โดยไม่ได้คิดว่ามันจะต้องสลายไปในที่สุด ...... ราคะ มีความยินดีในสมบัติของโลกด้วยอารมณ์ใคร่ในกิเลส .....
ฉะนั้นการกำจัด อวิชชา ก็พิจารณาเห็นว่า สมบัติของโลกไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา เราไม่มีในสมบัติของโลก ไม่มีในเรา จนมีอารมณ์ไม่ยึดถืออะไร มีอยู่ก็เป็นเสมือนไม่มี จิตไม่ผูกพันเกินพอดี เมื่อมีอันเป็นไปก็ไม่เดือดร้อน มีจิตชุ่มชื่นต่ออารมณ์พระนิพพาน ...... ฉันทะ กับ ราคะ ทั้งสองนี้เป็นอารมณ์ของ อวิชชา ถือว่าเป็นความโง่ ยังไม่เห็นทุกข์ละเอียด ....... ฉันทะ คือมีความพอใจในการเกิดเป็นมนุษย์ เกิดเป็นเทวดา เกิดเป็นพรหม ราคะ เห็นว่า มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลกก็ดี ยังเป็นกิเลสเบา ๆ คือไม่สามารถจะพ้นทุกข์ ...... ฉะนั้น ถ้าจะตัดอวิชชา ให้ตัดฉันทะ กับราคะ ในอารมณ์ใจ คิดว่า มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก ทั้ง 3 ภพนี้ ไม่เป็นที่หมายของเรา คือยังเป็นแดนของความทุกข์ เทวโลก พรหมโลกเป็นแดนของความสุขชั่วคราว เราไม่ต้องการ ต้องการจิตเดียวคือ พระนิพพาน ซึ่งหากละได้ทั้ง10ข้อนี้ก็จะบรรลุเป็นพระอรหันต์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

-