ทักทาย

แม่หมอขอแนะนำตัวเองก่อนเลยนะคะ ก็เป็นผู้หญิงธรรมด๊าธรรมดาคนนึง อาจดูเหมือนเป็นสาวมั่นที่ลุ๊คดู เปรี้ยวไปบ้างเล็กน้อย ..... ส่วนใหญ่วันๆ ก็ทำงาน หาเงิน (แล้วก็อยากรวย) ว่างๆก็ใช้เงิน หาเงิน วนเวียนอยู่กับเงิน อยู่กับงาน อยู่กับครอบครัว ชีวิตหมดไปอย่างงี้แหละค่ะทุกๆวัน ..... แล้วมาวันนึงก็ให้รู้สึก เหนื่อยกับชีวิต บางครั้งก็คิดว่า เอ๊ะทำไมคนนั้นต้องทำกับเราอย่าง นี้ คนนี้ต้องทำกับเราอย่างนั้นด้วย รึทำไมน๊าถึงซวยอย่างนี้ และอื่นๆอีกมากมาย .....คราวนี้ก็มาลองคิดดู คิดไปคิดมาก็ให้รู้สึกเหมือนตัวเองไม่ค่อยมีความสุขเท่าไหร่ แต่คงเป็นโชคดีที่ตัวเองเป็นคนชอบอ่าน วันนึงก็เลยลองหยิบหนังสือแนว ธรรมะขึ้นมาอ่าน(กะอ่านเล่นๆ)... แล้วก็เริ่มเห็นจริงในบางเรื่อง ....แล้วก็เริ่มเอามาปรับใช้ในชีวิตจริง ..... สุดท้ายศรัทธาก็เกิดและชีวิตก็มีความสุขขึ้นตามลำดับ ......... แม่หมอคิดว่า คนเราเลือกที่จะมีความสุขได้นะคะ อยู่ที่เราจะเลือกรึเปล่า และกฎแห่งกรรมก็มีจริงค่ะอาจช้าไปบ้าง เร็วไปบ้าง แต่มีจริงแน่นอนค่ะ ..... ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปรัชญา เป็นศาสนาที่เน้นแนวคิด.... บางครั้งเราอาจคิดว่าห่างไกลกับชีวิตประจำ วันของเรา หรือ บางคนอาจคิดว่าวัยยังไม่ถึงยังไม่แก่ซะหน่อย ....แต่ไม่ลองไม่รู้ค่ะ แม่หมอเลยอยากชวนเพื่อนๆให้มาเริ่มศึกษาธรรมะไปพร้อมๆกับแม่หมอ เราจะเดินไปด้วยกันสู่เส้นทางสายธรรมเพื่อความสุขที่เราเลือกจะมีค่



a

วันเสาร์

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

วัดท่าซุง อ.เมือง จ.อุทัยธานี


หลวงพ่อฤาษีลิงดำ หรือ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน เกิดเมื่อ วันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๐.....  เดิมชื่อสังเวียน เป็นบุตรคนที่ ๓ ของนายควง นางสมบุญ สังข์สุวรรณ เกิดที่ตำบลสาลี  อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี มีพี่น้อง ๕ คน ....... เข้ารัการศึกษาเบื้องต้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และได้ศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณต่อ เมื่ออายุ ๑๙ ปี เข้าเป็นเภสัชกรทหารเรือ สังกัดกรมการแพทย์ทหารเรือ.......  พออายุครบบวช อุปสมบท เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ณ วัดบางนมโค  อายุ ๒๑ ปี สอบได้นักธรรมตรี อายุ ๒๒ ปี สอบได้นักธรรมโท อายุ ๒๓ ปี สอบได้ นักธรรมเอก

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๐-๒๔๘๑ ได้ศึกษาพระกรรมฐาน จากครูบาอาจารย์หลายท่าน........   อาทิเช่นหลวงพ่อปาน โสนันโท วัดบางนมโค, หลวงพ่อจง พุทธสโร วัดหน้าต่างนอก, พระอาจารย์เล็ก เกสโร วัดบางนมโค, พระครูรัตนาภิรมย์ วัดบ้านแพน, พระครูอุดมสมาจารย์ วัดน้ำเต้า, หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ, หลวงพ่อเนียม วัดน้อย, หลวงพ่อโหน่ง วัดอัมพวัน (วัดคลองมะดัน) และหลวงพ่อเรื่อง วัดใหม่พิณสุวรรณ

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๑ เข้ามาจำพรรษาที่วัดช่างเหล็ก อำเภอตลิ่งชัน ธนบุรี เพื่อเรียนบาลี ..........ต่อมา สอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค ได้ย้ายมาอยู่ที่วัดอนงคาราม หลังจากนั้นได้เป็นรองเจ้าคณะ ๔  วัดประยูรวงศาวาส เป็นเจ้าอาวาสวัดบางนมโค และย้ายไปอยู่อีกหลายวัด........ พ.ศ. ๒๕๑๑ จึงมาอยู่วัดท่าซุง บูรณะซ่อมสร้างและขยายวัดท่าซุง จากเดิมมีพื้นที่ ๖ ไร่เศษ จนกระทั่งเป็นวัดที่มีบริเวณพื้นที่ประมาณ ๒๘๙ ไร่ .......... พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ "พระสุธรรมยานเถร"........ พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่"พระราชพรหมยาน ไพศาลภาวนานุสิฐ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี"

ที่มาฉายาหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ......... เรื่องมีอยู่ว่า ตอนท่านเขียนหนังสือประวัติหลวงพ่อปาน ท่านไม่รู้จะใช้นามปากกาไรดี เพราะถ้าใช้เป็นชื่อพระ คนจะหาว่าท่านอวดอุตริมนุษธรรม กับทั้ง ตอนที่ท่านอยู่กับหลวงปู่ปาน หลวงปู่มักจะเรียกหลวงพ่อกับเพื่อนอีกสองคนว่า ลิงดำ ลิงขาว และลิงเล็กเสมอๆ ท่านก็เลยเอาชื่อที่หลวงพ่อปานเรียกท่านมาเป็นนามปากกา แล้วท่านก็เติมฤาษีเข้าไปข้างหน้า เพื่อให้สื่อถึงการเป็นผู้บำเพ็ญ จึงปรากฎเป้นนามปากกาว่า "ฤาษีลิงดำ" ........ต่อมาคนอ่านหนังสือประติหลวงพ่อปานกันเยอะมาก ก็เลยตามหากันว่า ท่านเป็นใคร เมื่อเจอหลวงพ่อท่าน (จริงๆท่านชื่อว่า พระมหาวีระ) แต่ไม่มีใครเรียกชื่อท่านเลย ต่างกคนก็เรียกแต่ ท่านฤาษีลิงดำ ๆๆ ตอนแรกท่านก็บอกว่าท่านไม่ได้ชื่อนี้ท่านชื่อมหาวีระ แต่ส่วนมากคนก็ชอบเรียกท่านว่าท่านฤาษีลิงดำมากกว่า ท่านก็เลย บอก "เออ.. ฤาษีลิงดำก็ฤาษีลิง" ท่านก็เลยใช้ชื่อนี้เรื่อยมา

หลวงพ่อฤาษีลิงดำตลอดระยะเวลาที่อุปสมบทอยู่ ได้ทำหน้าที่ของพระสงฆ์ ในพระพุทธศาสนาอย่างสมบูรณ์  กล่าวคือ..........  ทางด้านชาติ ได้สร้างโรงพยาบาล , สร้างโรงเรียน , จัดตั้งธนาคารข้าว , ออกเยี่ยมเยียน ทหารหาญของชาติและตำรวจตระเวณชายแดนตามหน่วยต่างๆ เพื่อปลุกปลอบขวัญและกำลังใจ และ แจกอาหาร , ยา , อุปกรณ์อำนวยความสะดวก และวัตถุมงคลทั่วประเทศ ............ ทางด้านพระศาสนา ได้สั่งสอนพุทธบริษัทศิษยานุศิษย์ให้มุ่งพระนิพพานเป็นหลัก โดยให้ ประพฤติปฏิบัติกาย , วาจา , ใจ , ในทาน , ในศีลและในกรรมฐาน ๑๐ ทัศ และมหาสติปัฏฐานสูตร  ได้พิมพ์หนังสือคำสอนกว่า ๑๕ เรื่อง และบันทึกเทปคำสอนกว่า ๑,๐๐๐ เรื่อง นอกจากนี้ยังได้แสดงธรรม-เทศนาทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เป็นครั้งคราว นอกจากนี้ ยังเดินทางไปสงเคราะห์ คณะศิษย์ในต่างจังหวัดและต่างประเทศทุกๆ ปี ...... ทางด้านวัตถุ ท่านได้ช่วยสร้างพระพุทธรูปและถาวรวัตถุไว้ในพระพุทธศาสนามากกว่า ๓๐ วัด รวมทั้งการบูรณะฟื้นฟูวัดท่าซุงด้วยเงินกว่า ๖๐๐ ล้านบาท ได้สร้างพระไตรปิฎก , หนังสือมูลกัจจายน์ และถวายผ้าไตรแก่วัดต่างๆ ปีละไม่ต่ำกว่า ๒๐๐ ไตร ..... ทางด้านพระมหากษัตริย์ท่านได้สนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  โดยการจัดตั้งศูนย์สงเคราะห์ผู้ยากจนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชประสงค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ศูนย์ฯ นี้ได้ดำเนินการสงเคราะห์ราษฎรในถิ่นทุรกันดารทั่วประเทศมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๐  งานของศูนย์ฯ รวมทั้งการแจกเสื้อผ้า , อาหาร และยารักษาโรคแก่ราษฎรผู้ยากจน , การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางธรรมชาติ , การส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกรักษาพยาบาลราษฎรผู้เจ็บป่วย , การให้ทุนนักเรียนที่เรียนดีแต่ยากจน , การบริจาคทุนทรัพย์ให้แก่มูลนิธิและโรงพยาบาลต่างๆ ฯลฯ

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ เมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๓๕ ได้อาพาธด้วยโรคปอดบวมอย่างแรง........... และติดเชื้อในกระแสโลหิต เข้ารักษาที่โรงพยาบาลศิริราช และมรณภาพที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันศุกร์ที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๓๕ เวลา ๑๖.๑๐ น.



คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ


"ความกตัญญู ที่พระพุทธเจ้าสรรเสริญ การสนองความดีของท่านด้วยการนึกถึง หรือกล่าววาจาถึงท่านเป็นการสรรเสริฐความดี ไม่ลืมความดีที่ท่านอุปการะมา เป็นความดีอย่างเลิศ และถ้ายิ่งปฏิบัติตามคำแนะนำของท่านด้วยเช่นกันทั้ง ๒ ประการ พระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่า เป็นยอดของคนดี ตามพระพุทธภาษิตตรัสไว้ว่า นิมิตตัง สาธุรูปานัง กตัญญูกตเวทิตา  แปลว่า ท่านผู้ใดท่านอุปการะมาในกาลก่อน การตอบสนองท่านด้วยความดี พระองค์ตรัสว่า เราเรียกคนนั้นว่าเป็นคนดี "


"กรรมฐานนั้นรวม ๒ อย่าง คือ สมถกรรมฐาน กับ วิปัสสนากรรมฐาน ตัวที่ทำให้เกิดอารมณ์จิตไม่ฟุ้งซ่าน ทำให้สมาธิทรงตัวเขาเรียกว่า "สมถกรรมฐาน" ตัวที่ใช้ปัญญารู้เท่าทันสภาวะตามความเป็นจริง ไม่หลงสภาวะของโลก นี่เป็น วิปัสสนากรรมฐาน สองอย่างนี้เราเรียกว่า กรรมฐาน "
 
"ทำยังไงจึงจะไม่มีทุกข์ ที่จะไม่มีทุกข์ได้ก็คือ ๑. ตัดโลภะ ความโลภ โดยการให้ทาน เจริญจาคานุสสติกรรมฐานเป็นอารมณ์....๒. ตัดโทสะ ความถือโกรธให้ทรงพรหมวิหาร ๔ หรือกสิณ ๔ หรือตัดมานะความถือตัวถือตนว่าเราดีกว่าเขา เราสมอเขา เราเลวกว่าเขา..... ๓. ตัดโมหะ ความหลง โดยการใช้ปัญญาพิจารณาและยอมรับนับถือตามความเป็นจริง คือว่าเกิดมาแล้วก็ต้องมีเกิด มีแก่ มีเจ็บ มีตาย มันเป็นธรรมดา ก็เท่านี้แหละ ยากไหม?"

"๑.สักกายทิฏฐิ  ๒. วิจิกิจฉา  ๓. สีลัพพตปรากมาส   สามข้อนี้อาตมาจะสอนญาติโยมพุทธบริษัทปฏิบัติกัน ถ้าตัด ๓ ข้อนี้ได้ อย่างหยาบก็สามารถหลีกนรกได้แน่นอน ไม่พบหน้ากันอีกแล้ว........ . สักกายทิฏฐิ มีความรู้สึกว่าร่างกายนี่มันจะไม่ตาย ร่างกายสะอาด ร่างกายเป็นเราเป็นของเรา เรามีในร่างกาย ร่างกายมีในเรา .........  วิจิกิจฉา มีความสงสัยในพระพุทธเจ้า ในพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สงสัยในความดีของพระอริยสงฆ์ ไม่ตกลงว่าจะยอมรับนับถือหรือไม่ ....... สีลัพพตปรามาส ไม่ตั้งใจรักษาศีลอย่างจริงจัง รักษาศีลประเภทศีลหัวเฒ่าคือผลุบเข้าผลุบออก ประเดี๋ยวก็ทรงตัวบ้าง ประเดี๋ยวก็ไม่ทรงตัวบ้าง"

"การปฏิบัติตนเพื่อหนีนรก ก็ขอพูดย่อ ๆ ว่า........ ๑. อย่าลืมความตาย อย่าประมาท จงอย่าคิดว่าความตายจะถึงเราในวันพรุ่งนี้ให้คิดว่าเราอาจจะตายวันนี้ไว้เสมอ ๒. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ให้แน่นอน......... ถ้ามีอารมณ์ทั้ง ๒ ประการนี้ อาจจะหนีนรกได้เพียงแค่ชาติเดียว ในชาติต่อไปยังไม่แน่นอนนัก ถ้าหวังความแน่นอนในการหนีนรกก็ขอบรรดาท่านพุทธบริษัทให้ปฏิบัติใน "ธัมมานุสสติกรรมฐาน" ให้ครบถ้วน"

"ขณะใดที่อารมณ์ความเป็นสุขเกิดขึ้น ขณะนั้นถือว่ารับผลของกุศลเก่า คือบุญเก่าที่เราทำไว้แล้วในชาติก่อน ๆ มาสนองเรา เราก็มีความสุข ...... ผลของทานเป็นปัจจัยให้ได้ลาภสักการะ ผลของการรักษาศีลให้เกิดความสุขหลาย ๆ ประการ ผลของการเจริญภาวนาและศึกษาธรรม เป็นเหตุให้เกิดปัญญามีความฉลาด .......... ถ้าผลของความทุกข์ ผลของปาณาติบาต ทำให้คนมีอายุสั้นพลันตาย ผลของอทินนาทาน ทำให้ทรัพย์สินเสียหาย ผลของกาเมสุมิจฉาจาร ทำให้ลูกหรือบุคคลในปกครองว่ายากสอนยาก ไม่อยู่ในโอวาท แนะนำอย่างไรก็ไม่เชื่อฟัง ผลของมุสาวาท เกิดมาชาตินี้ในระหว่างนั้นให้ผล พูดดีเท่าไรก็ไม่มีคนอยากรับฟัง ผลของการดื่มสุราเมรัย ทำให้เป็นโรคปวดศีรษะไม่หาย หรือเป็นโรคเส้นประสาทหรือว่าเป็นโรคบ้า ........ ทั้งหมดตามที่กล่าวมาแล้วนี้เป็นผลจากความดี หรือความชั่วในชาติก่อน ที่ยังตามมาสนองเรา"

"ถ้าอารมณ์ของทุกคนมีความไม่ประมาทในชีวิต คิดว่ามันอาจจะต้องตาย ในเมื่อความตายนี้ก็ไม่แน่นอนนัก จะตายเมื่อไรก็ได้ พร้อมคิดว่าอาจจะตายวันนี้ไว้เสมอ แล้วก็ทรงความดีเคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์ ทรงศีลให้บริสุทธิ์ เป็นปกติ เพียงแค่นี้บรรดาท่านพุทธบริษัท ขึ้นชื่อว่าอบายภูมิทั้ง ๔ ประการ คือการเกิดเป็นสัตว์นรกก็ดี เป็นเปรตก็ดี เป็นอสุรกายก็ดี เป็นสัตว์เดรัจฉานก็ดี จะไม่มีสำหรับเราไปทุกชาติ ทุกสมัย ถ้าจะมีการเกิดอีกเพียงใดก็ตามที ขึ้นชื่อว่าอบายภูมิทั้ง ๔ ไมไปกันแน่ ทางที่จะไปอย่างต่ำก็มนุษย์ อย่างสูงขึ้นไปก็สวรรค์หรือพรหม ถ้าขณะใดเกิดจิตไม่นิยมร่างกายขึ้นมาเมื่อไร ขณะนั้นก็ถึงนิพพานทันที"

"คำว่า "วิญญาณ" นั้นเป็นความรู้สึก และที่เราเรียกกันว่า "ประสาท" ตามที่เขาบอกกันว่า ขันธ์ ๕ มี ๕ อย่าง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้ง ๕ อย่างนี้เวลาตายมันตายพร้อมกัน คือ ไม่เกาะกับร่างกาย วิญญาณไม่ใช่จิต วิญญาณไม่ใช่อทิสสมานกาย....... สำหรับสิ่งที่ออกจากร่างกายไปคือจิตหรืออทิสสมานกาย จิตมีสภาพคิด อทิสสมานกายคือกายอีกกายหนึ่งที่ซ้อนอยู่ในเนื้อกายนั้น ตามธรรมดาที่เขาบอกว่าคนตายแล้วไปสวรรค์บ้าง ไปนรกบ้าง ไปเกิดที่นั้นบ้าง เราจะเห็นว่าร่างกายถูกเผาบ้าง ถูกฝังบ้าง เอาอะไรไปเกิด? ก็คือเอาความจริงของตัวเราข้างในไปเกิด "

" องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนให้เราเจริญ สมาธิ และ วิปัสสนาญาณ ทำอารมณ์ให้ทรงตัว ที่เรียกว่า สมาธิ คือการตั้งใจ ตั้งใจนึกถึงความดี......... มี พุทธานุสสติ นึกถึงพระพุทธเจ้า เป็นต้น ธัมมานุสสติ นึกถึงพระธรรม สังฆานุสสติ นึกถึงพระอริยสงฆ์  สีลานุสสติ จิตคุมอารมณ์ในศีลห้าให้ทรงตัว จาคานุสสติ นึกถึงทานการบริจาค คือ การให้ เทวตานุสสติ นึกถึงความดีของเทวดา เป็นต้น ...... "ฌาน" คืออารมณ์ชิน การนึกถึงความดีทั้ง ๖ ประการนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าเวลาจะตายในยามปกติ เราก็นึกได้บ้างนึกไม่ได้บ้าง ลืมบ้าง นึกถึงบ้าง แต่เวลาก่อนจะหลับหรือตื่นใหม่ๆ ควรจะทรงอารมณ์ให้ทรงตัว คือตั้งใจภาวนา โดยนึกถึงให้ทรงตัวสัก ๒-๓ นาทีก็พอให้ชิน และเวลาใกล้จะตายจริงๆ อารมณ์ความดีจะรวมตัว ถ้านึกถึงอารมณ์ความดี ๖ อย่างนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง อย่างเลวหรืออย่างอ่อนที่สุด ตายจากความเป็นคนจะไปเป็นเทวดาหรือพรหมทันที"


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

-