ทักทาย

แม่หมอขอแนะนำตัวเองก่อนเลยนะคะ ก็เป็นผู้หญิงธรรมด๊าธรรมดาคนนึง อาจดูเหมือนเป็นสาวมั่นที่ลุ๊คดู เปรี้ยวไปบ้างเล็กน้อย ..... ส่วนใหญ่วันๆ ก็ทำงาน หาเงิน (แล้วก็อยากรวย) ว่างๆก็ใช้เงิน หาเงิน วนเวียนอยู่กับเงิน อยู่กับงาน อยู่กับครอบครัว ชีวิตหมดไปอย่างงี้แหละค่ะทุกๆวัน ..... แล้วมาวันนึงก็ให้รู้สึก เหนื่อยกับชีวิต บางครั้งก็คิดว่า เอ๊ะทำไมคนนั้นต้องทำกับเราอย่าง นี้ คนนี้ต้องทำกับเราอย่างนั้นด้วย รึทำไมน๊าถึงซวยอย่างนี้ และอื่นๆอีกมากมาย .....คราวนี้ก็มาลองคิดดู คิดไปคิดมาก็ให้รู้สึกเหมือนตัวเองไม่ค่อยมีความสุขเท่าไหร่ แต่คงเป็นโชคดีที่ตัวเองเป็นคนชอบอ่าน วันนึงก็เลยลองหยิบหนังสือแนว ธรรมะขึ้นมาอ่าน(กะอ่านเล่นๆ)... แล้วก็เริ่มเห็นจริงในบางเรื่อง ....แล้วก็เริ่มเอามาปรับใช้ในชีวิตจริง ..... สุดท้ายศรัทธาก็เกิดและชีวิตก็มีความสุขขึ้นตามลำดับ ......... แม่หมอคิดว่า คนเราเลือกที่จะมีความสุขได้นะคะ อยู่ที่เราจะเลือกรึเปล่า และกฎแห่งกรรมก็มีจริงค่ะอาจช้าไปบ้าง เร็วไปบ้าง แต่มีจริงแน่นอนค่ะ ..... ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปรัชญา เป็นศาสนาที่เน้นแนวคิด.... บางครั้งเราอาจคิดว่าห่างไกลกับชีวิตประจำ วันของเรา หรือ บางคนอาจคิดว่าวัยยังไม่ถึงยังไม่แก่ซะหน่อย ....แต่ไม่ลองไม่รู้ค่ะ แม่หมอเลยอยากชวนเพื่อนๆให้มาเริ่มศึกษาธรรมะไปพร้อมๆกับแม่หมอ เราจะเดินไปด้วยกันสู่เส้นทางสายธรรมเพื่อความสุขที่เราเลือกจะมีค่



a

วันพฤหัสบดี

การฝึกสมาธิแบบธิเบต

ฝึกสมาธิ ในเรียนรู้ธรรมะไปกับแม่หมอ มีแนวทางฝึกสมาธิแบบธิเบตมานำเสนอเพื่อนๆค่ะ ..... จุดเด่นของการฝึกสมาธิตามแบบธิเบต นอกจากความต้องการให้จิตใจบริสุทธิ์แล้ว ยังต้องการผลทางด้านอำนาจจิตด้วย รูปแบบการฝึกจึงมุ่งเพ่งความคิดให้แน่วแน่ลงไปในสิ่งเดียว โดยเชื่อว่าหากสามารถรวมพลังจิตทำนองเดียวกับการรวมแสงอาทิตย์ได้แล้ว จะทำให้ได้พลังจิตที่มีอำนาจตามมาด้วย

การปฏิบัติสมาธิแนวธิเบตจะต้องหลอมรวมร่างกาย ความคิด และประสาทสัมผัสเข้าด้วยกัน......  ด้วยดวงจิตที่มีสติควบคุมจดจ่อ เป็นอารมณ์เดียว และจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนให้ครบถ้วน จึงจะบังเกิดผลขึ้นมาได้ในเวลาอันควร.....  การปฏิบัติทุกขั้นตอนจะต้องไม่รีบร้อน ให้ทำแบบช้า ๆ เพื่อให้ทั้งร่างกาย ความคิด และประสาทสัมผัส สามารถผสมผสานเข้าสู่กระบวนการได้อย่างถูกต้อง และผลที่เกิดขึ้นจะได้ไม่ขาดตกบกพร่อง

ขั้นตอนการฝึกสมาธิ มีดังนี้ ๑. การพักผ่อน  ๒. การกำหนดลมหายใจ  ๓. การฝึกความสงบ  ๔. การภาวนา ๕. การเพ่งกสิณ

การดำเนินการปฏิบัติสมาธิ ควรปฏิบัติเรียงลำดับไป โดยก่อนเริ่มปฏิบัติ จะให้ผู้เรียนอธิษฐานจิตเสียก่อน เพื่อเป็นการแสดงความตั้งใจจริงในการปฏิบัติและต้องการให้เกิดผลดีตามมาด้วย ซึ่งคำอธิษฐานจะมีดังนี้

ขอให้วันนี้และวันต่อ ๆ ไป ข้าพเจ้าจะควบคุมและกำหนดความนึกคิดทั้งหมด

ขอให้วันนี้และวันต่อ ๆ ไป ข้าพเจ้าจะควบคุมจิตปรารถนาและความนึกคิด เพื่อประโยชน์เกิดเป็นความบริสุทธิ์ของดวงวิญญาณ

ขอให้วันนี้และวันต่อ ๆ ไป ข้าพเจ้าจะควบคุมมโนภาพและความนึกคิด เพื่อประโยชน์อันเป็นความสำเร็จในการปฏิบัติจิตของข้าพเจ้า

จากการอธิษฐานจิตตามข้อความข้างต้น ก็จะมาถึงขั้นตอนแรกคือ

๑.การพักผ่อน

การพักผ่อนร่างกายให้เต็มที่ก่อนการภาวนา..... คือการนอนเหยียดแขน ขา ออกไปในท่าที่สบายที่สุด แต่ไม่ควรให้สบายมากถึงขนาดนอนหลับไป การตื่นขึ้นตอนเช้ามืดจะเป็นช่วงที่ดีที่สุดของการปฏิบัติสมาธิเพราะร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ในระหว่างการนอนหลับตลอดคืน

วิธีการนอนพักของชาวธิเบต เป็นการฝึกให้สร้างมโนภาพในขณะนอนว่าในตัวของเราเป็นโรงงานอุตสาหกรรม....... ซึ่งมีคนตัวเล็กอยู่เต็มไปหมด ขณะนี้โรงงานนี้จะปิดกิจการชั่วคราว เครื่องจักรจะหยุดทำงานทั้งหมด และคนงานต้องทยอยกันออกจากโรงงาน เป็นการผ่อนคลายร่างกายที่ละส่วนทั้งหมด โดยเริ่มจากปลายนิ้วเท้าก่อน ตลอดจนไปถึงลำตัว และศีรษะ วิธีนี้จะทำให้ร่างกายได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ และจะต้องฝึกอย่างนี้จนสามารถนอนหลับได้ทันทีเมื่อล้มตัวลงนอน ทั้งนี้เพื่อการพักผ่อนที่แท้จริง แม้แต่ท่านจะมีเวลานอนหลับเพียงระยะสั้น ๆ ก็ตาม

๒.การกำหนดลมหายใจ

การกำหนดลมหายใจเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งในการปฏิบัติสมาธิ เพื่อผ่อนคลายความเครียดทางจิตใจ และเพื่อฝึกการกำหนดรู้ของสติสัมปชัญญะ..... การสูดลมหายใจให้ลึก และเป็นจังหวะสม่ำเสมอ วิธีการคือ ให้สูดลมเข้าไปอย่างช้า ๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ แล้วกลั้นลมไว้ภายในสัก ๒-๓ วินาที แล้วค่อยระบายลมออกอย่างช้า ๆ สิ่งสำคัญก็คือจะต้องมีสติ ตามกำหนดรู้กองลมตลอดสายคือรู้ลมเข้า รู้ลมกลั้นอยู่ภายใน และรู้ว่าลมกำลังระบายออกมาให้ทำซ้ำ ๆ เช่นนี้หลายครั้ง จะรู้สึกว่าทั้งร่างกายและความคิด เมื่อติดตามกองลมอยู่เสมอ จิตใจจะค่อย ๆ สงบลงไปได้

๓.การฝึกความสงบ

การฝึกความสงบ สามารถฝึกได้ทั้งอิริยาบถนั่งหรือนอนก็ได้ แต่ให้เป็นอิริยาบถที่สบาย พยายามให้ความคิดในใจหยุดนิ่งที่สุด...... มีคำพูดที่สอนกันต่อ ๆมาในธิเบตว่า Be still and Kniw I within ซึ่งอาจแปลความว่า ถ้าสงบได้จริง ๆ แล้ว จะทราบได้ว่า ตัวเราอยู่ภายในนี่เอง ในขณะที่ฝึกความสงบนี้ให้ละความกังวลใจออกไป แล้วจะเห็นผลภายในเวลาเพียงเดือนเดียวว่า ความรู้สึกนึกคิดพวกเราเปลี่ยนไปในทางที่เข้มแข็งขึ้น และการจะให้จิตวิญญาณ พัฒนาได้เร็ว จะต้องทำความเข้าใจกับความสงบให้ดี การพูดน้อยลงหรือพูดเท่าที่จำเป็นก็เป็นสิ่งส่งเสริมในการพัฒนาจิตใจ.... ในระหว่างขั้นตอนของการฝึกความสงบ หรือ มีข้อแนะนำให้รวบรวมสมาธิจิต เพื่อแผ่เมตตาตามตัวอย่างดังต่อไปนี้

เริ่มต้นด้วยการคิดถึงความรัก ความรักที่มีต่อตนเอง ต่อคนอื่น ตลอดจนแผ่ความรัก ไปยังสัตว์ทั้งหลายอย่างไม่กำหนดขอบเขต เท่าที่เวลาและกำลังสมาธิของท่านจะทำได้
- หลังจากได้แผ่การะแสจิตระลึกถึงผู้ที่กำลังตกทุกข์ได้ยากทั้งหลาย โดยจะต้องตั้งใจนึกให้เขาเหล่านั้นพ้นจากความทุกข์ เป็นกระแสพลังที่ต้องการปลดไถ่โทษให้แก่สัตว์ทั้งหลาย

เป็นการตั้งความคิดแผ่ความสุขนี้ไปยังสัตว์ทั้งหลาย อนึ่งนอกจากความสุขที่แผ่ออกไปแล้ว อาจนึกยินดีกับความดีงามที่เกิดกับมนุษย์ที่ปฏิบัติดีว่าเป็นเรื่องที่ดี เรื่องที่น่าจะน้อมอนุโมทนา เห็นด้วยกับความสุขความดีงามของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น

เป็นการแผ่เมตตาของผู้ที่สำเร็จสมาธิจิต ขั้นที่เกิดความสงบ ความวิเวกในดวงจิต ใจของผู้ที่ยกสู่ความสงบในขั้นฌาน จะปล่อยวาง ความเกลียดและความรักในระดับโลกีย์ เป็นจิตที่ยอมรับว่าชีวิตจะต้องเป็นไปตามกรรม กระแสเมตตาของสมาธิระดับนี้จะเป็นกระแสที่ร่มเย็น มีความแรงของจิตที่แผ่ออกไปได้กว้างขวาง

๔.การภาวนา

เป็นการสาธยายมนตราซ้ำ ๆ กันหลายครั้ง.....  ซึ่งคำภาวนาที่นิยมมีหลายคำ โดยท่านลามะอาจารย์จะเป็นผู้กำหนดให้เหมาะสมกับจริตของผู้ปฏิบัติ ตัวอย่างคำภาวนาเช่น โอม มณีปัทเม หุม

การภาวนาเพียงสองสามครั้งจะไม่เพียงพอให้เกิดพลังจิตที่จะไปผลักดันให้ดวงจิตภายในตื่นขึ้นมาได้ .... แต่ต้องภาวนาโดยการตั้งใจจริงและทำสม่ำเสมอจะช่วยกระตุ้นให้จิตชั้นในเริ่มตื่นขึ้นมารับรู้ บางครั้งก็ใช้เครื่องช่วยในการภาวนาของชาวธิเบต เป็นกงล้อกลมหมุนได้มีแกนกลางและหมุนลอกรวมร้อยแปดจุด เมื่อภาวนาครบหนึ่งคาบ นักปฏิบัติก็จะหมุนกงล้อไปหนึ่งครั้ง เหมือนกับการชักลูกประคำของชาวฮินดู จิตจะต้องจดจ่ออยู่กับคำภาวนาและจำนวนคาบที่ได้ภาวนาไปแล้ว สติสัมปชัญญะจะต้องตื่นอยู่เสมอเพื่อไม่ให้หลงลืมจำนวนครั้ง

๕.การเพ่งกสิณ

การเพ่งกสินของชาวธิเบตมีหลายแบบ แต่ที่นิยมมากก็คือการเพ่งแสงสว่าง ที่เรียกกันว่า อาโลกกสิน ทั้งนี้ ครูอาจารย์ธิเบตสมัยก่อนวางแนวไว้ให้ลูกศิษย์เดินตามเรียงลำดับขั้นไป

- ขั้นแรก ผู้เขาฝึกจะต้องผ่านการสอบอารมณ์จากท่านลามะอาจารย์มาแล้ว ว่าระดับสมาธิก้าวเข้าสู่ขั้นกลาง (อุปจารสมาธิ) เรียบร้อยแล้ว พร้อมที่จะก้าวมาฝึกให้ได้สมาธิในขั้นสูง (อัปปนาสมาธิ) ดังนี้.... การเพ่งดูภาพตนเองในกระจกต้องทำหลังจากการพักผ่อนสักครู่ เมื่อจิตรวมลงสู่ความสงบด้วยแสงไฟ ท่านั่งในอาการสงบเพ่งดูรอบศีรษะและคอของตนเอง หากจิตสงบพอจะเห็นรังสีเล็ก ๆ ตามขอบศีรษะ ลำคอ และร่างกายโดยทั่วไป สิ่งสำคัญจะต้องใจเย็นรีบร้อนไม่ได้ เพราะเรื่องสมาธิจิตขึ้นอยู่กับความตั้งในและความสม่ำเสมอในการปฏิบัติ

- ขั้นที่สอง หลังจากที่ได้ฝึกเพ่งกสิณในขั้นแรกได้สำเร็จ เกิดผลตามสมควรแล้ว จึงเริ่มตนฝึกขั้นต่อไป....
การเพ่งลูกแก้วโดยที่ถูกต้องจะต้องเพ่งกสิณตลอดเวลา จนเกิดอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต สำหรับการฝึกในขั้นต้น จะฝึกสร้างดวงกสิณของลูกแก้วภายในใจก่อนเมื่อสามารถจดจำลักษณะลูกแก้วได้อย่างชัดเจนแล้ว สามารถสร้างมโนภาพจนจิตเกิดพละกำลังพอเพียงแล้ว จึงมาเริ่มฝึกโดยวิธีลืมตาดูลูกแก้ว เพื่อให้จิตแน่วแน่เข้าสู่อัปปนาสมาธิ

สรุปแล้วการฝึกสมาธิแบบธิเบต เป็นการฝึกโดยเริ่มต้นจากความผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ.....  แล้วค่อยฝึกลมหายใจให้ยาวและลึก พร้อมกับคำภาวนา.....  เมื่อใจสงบดีแล้วก็มาฝึกเพ่งกสิณกันต่อ ซึ่งกสินที่ชาวธิเบตนิยมทำกันมากก็คือ กสินแสงสว่าง และการเพ่งลูกแก้ว โดยมุ่งให้เกิดอำนาจทางจิตมี ตาทิพย์ เป็นต้น นั่นเองค่ะ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

-