ทักทาย

แม่หมอขอแนะนำตัวเองก่อนเลยนะคะ ก็เป็นผู้หญิงธรรมด๊าธรรมดาคนนึง อาจดูเหมือนเป็นสาวมั่นที่ลุ๊คดู เปรี้ยวไปบ้างเล็กน้อย ..... ส่วนใหญ่วันๆ ก็ทำงาน หาเงิน (แล้วก็อยากรวย) ว่างๆก็ใช้เงิน หาเงิน วนเวียนอยู่กับเงิน อยู่กับงาน อยู่กับครอบครัว ชีวิตหมดไปอย่างงี้แหละค่ะทุกๆวัน ..... แล้วมาวันนึงก็ให้รู้สึก เหนื่อยกับชีวิต บางครั้งก็คิดว่า เอ๊ะทำไมคนนั้นต้องทำกับเราอย่าง นี้ คนนี้ต้องทำกับเราอย่างนั้นด้วย รึทำไมน๊าถึงซวยอย่างนี้ และอื่นๆอีกมากมาย .....คราวนี้ก็มาลองคิดดู คิดไปคิดมาก็ให้รู้สึกเหมือนตัวเองไม่ค่อยมีความสุขเท่าไหร่ แต่คงเป็นโชคดีที่ตัวเองเป็นคนชอบอ่าน วันนึงก็เลยลองหยิบหนังสือแนว ธรรมะขึ้นมาอ่าน(กะอ่านเล่นๆ)... แล้วก็เริ่มเห็นจริงในบางเรื่อง ....แล้วก็เริ่มเอามาปรับใช้ในชีวิตจริง ..... สุดท้ายศรัทธาก็เกิดและชีวิตก็มีความสุขขึ้นตามลำดับ ......... แม่หมอคิดว่า คนเราเลือกที่จะมีความสุขได้นะคะ อยู่ที่เราจะเลือกรึเปล่า และกฎแห่งกรรมก็มีจริงค่ะอาจช้าไปบ้าง เร็วไปบ้าง แต่มีจริงแน่นอนค่ะ ..... ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปรัชญา เป็นศาสนาที่เน้นแนวคิด.... บางครั้งเราอาจคิดว่าห่างไกลกับชีวิตประจำ วันของเรา หรือ บางคนอาจคิดว่าวัยยังไม่ถึงยังไม่แก่ซะหน่อย ....แต่ไม่ลองไม่รู้ค่ะ แม่หมอเลยอยากชวนเพื่อนๆให้มาเริ่มศึกษาธรรมะไปพร้อมๆกับแม่หมอ เราจะเดินไปด้วยกันสู่เส้นทางสายธรรมเพื่อความสุขที่เราเลือกจะมีค่



a

วันพฤหัสบดี

การฝึกจิตVS ฝึกสมาธิ

       เพื่อนๆคะ  ลองมาคิดดูกันนะคะ ..... ว่าคนเราเกิดมาชีวิตนึงก็มีอยู่แค่2ส่วนเท่านั้น  ส่วนหนึ่งคือร่างกายและอีกส่วนหนึ่งก็จิตใจ....... พวกเราแบ่งเวลาในแต่ละวันกันเหมาะสมสำหรับ2ส่วนในชีวิตนี้กันบ้างหรือเปล่าคะ .... ตั้งแต่เด็กๆเราต้องเรียนหนังสือ ฝึกความชำนาญด้านโน้นด้านนี้ โตขึ้นมาก็ต้องทำงานเพื่อตอบสนองความต้องการของร่างกาย ความอยากโน้นอยากนี่ไปเรื่อย  .... แล้วจิตใจของเราละคะ เราเคยฝึกฝน ควบตุม พัฒนากันบ้างหรือเปล่า .....

        การฝึกจิตในปัจจุบันเป็นที่แพร่หลายทั้งในสังคมตะวันออกและตะวันตก ... ในขณะที่ซีกโลกตะวันออกการฝึกจิตส่วนใหญ่จะเป็นไปตามความเชื่อ ศาสนา และวัฒนธรรม  .... แต่ทางตะวันตกการฝึกจิตจะมีการทำกันเป็นระบบ มีผลการวิจัยชัดเจนทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับร่างกาย สุขภาพ การพัฒนาระบบความคิด และความเกี่ยวข้องกับระบบสังคมอะค่ะ .....

       พลังแห่งจิตเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่งนะคะ  เหมือนอย่างที่บางคนสามารถใช้พลังจิตเคลื่อนสิ่งของได้ หรือ ล่วงรู้ความคิดคนอื่น หรือรู้อดีต รู้อนาคตของคนอื่นได้  แต่ทั้งนี้ก้ต้องได้รับการฝึกฝนนะคะ และเป็นลักษณะพิเศษเฉพาะตัวของบางคนค่ะ

        การฝึกจิตโดยทั่วไปจะหมายถึงการฝึกฝน ควบคุมจิตใจ หรือกระบวนการทางสมอง ไม่ปล่อยให้ฟุ้ง ให้เกิดความสงบ ให้เกิดพลัง .....ซึ่งมีมากมายหลายประเภท หลากหลายวัตถุประสงค์ค่ะ  .... ฝึกจิตเพื่อสุขภาพก็อย่างเช่น ชี่กง กังฟู พลังจักรวาล....  ฝึกจิตเพื่อพักผ่อน เช่นโยคะ .... ฝึกจิตเพื่อความสัมพันธ์อีนดี เช่น ฝึกเทวปูชา หรือมหาเมตตาแบบธิเบต... ฝึกจิตเพื่ออำนาจ เช่น มนตรยาน ฝึกกสิณ.... หรือฝึกจิตเพื่อความบริสุทธิ์ ก็อย่างเช่น แนวทางพุทธดั้งเดิมค่ะ

        การฝึกสมาธิในแนวทางพุทธก็เป็นการฝึกจิตประเภทหนึ่งนะคะ..... จริงๆแล้วการฝึกสมาธิได้มีมาก่อนพุทธกาลอีกค่ะ ไม่ว่าจะเป็นฤาษี ดาบส ในสมัยโบราณก็ได้มีการฝึกสมาธิ จนได้อภิญญา มีอิทธิฤทธิ์กันก็มากมาย ...... แต่ก่อนจะไปดูความหมายของการฝึกสมาธิในพุทธศาสนา  ..... เราลองมาดูความหมายของคำว่าสมาธิกันก่อนดีมั๊ยคะ ......

        สมาธิแปลว่าความตั้งมั่นของจิต เป็นภาวะจิตที่แน่วแน่ต่อสิ่งที่กำหนด .......

        ความหมายสมาธิในพุทธศาสนาจะมีความลึกซื้งมากขึ้น โดยในอภิธรรมไตรปิฎกเล่มที่35ข้อ433 บัญญัติ  สมาธิ เป็นไฉนไว้ดังนี้ค่ะ  ..... 

        ความตั้งอยู่ ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ส่ายไปส่ายมา ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ  นี้เรียกว่า สมาธิ

        คำบัญญัตินี้แปลความหมายแยกเป็น2ตอน   ......ตอน1 " ความตั้งอยู่ ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ส่าย ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต" หมายถึง จิตตั้งอยู่ ดำรงอยู่ ตั้งมั่นตลอดเวลา ไม่เหม่อลอย ไม่ส่ายไปส่ายมา ไม่กังวล ไม่ตื่นเต้น ไม่ตกใจ ไม่หวาดกลัว ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่หวั่นไหว เมื่อมีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นก็ไม่ต้องกล่อมจิต กล่อมขวัญ หรือเรียกจิต เรียกขวัญ ไม่ต้องหลีกเลี่ยงไปสงบจิต สงบอารมณ์  จิตอยู่ในสภาวะที่มั่นคงแน่วแน่ นิ่ง ไม่ส่ายไปส่ายมา ไม่ฟุ้งซ่าน ....... และ ตอน2  "ภาวะจิตที่ไม่ซัดส่าย  สมถะ  สมาธินทรีย์  สมาธิพละ  สัมมาสมาธิ"  หมายถึง สภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ไม่ซัดส่ายนั้น สงบจากกิเลศและอกุศลธรรม (สมถะ)  มีความเป็นใหญ่แห่งตน (สมาธินทรีย์) อันมีพลัง (สมาธิพละ) ดำเนินเข้าสู่กระแสกุศลธรรม มุ่งมรรคผลอานิสงค์ (สัมมาสมาธิ องค์ที่8 แห่งมรรค8)

        สรุปแล้วการฝึกสมาธิในสายพุทธศาสนานั้น เป็นการฝึกจิตประเภทหนึ่งที่มีลักษณะเฉพาะและลึกซึ้ง มี3ระดับตั้งแต่ ขณิกกสมาธิ(สมาธิชั่วขณะ หรือเบื้องต้น)   อุปจารสมาธิ(สมาธิจวนจะแน่วแน่ก่อนที่จะเข้าสู่ภาวะแห่งฌาน)   และอัปปนาสมาธิ(สมาธิแน่วแน่คือสมาธิระดับสูงสุด เป็นผลสำเร็จที่ต้องการในการเจริญสมาธิ)

        การฝึกสมาธิ คือฝึกให้จิตรวมเป็นหนึ่งเดียว นิ่ง แน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่านและต้องสงบจากกิเลสและอกุศลธรรม เพื่อเข้าสู่สิ่งที่เรียกว่า สัมมาสมาธิที่เป็นหนทางแห่งการดับทุกข์ อันเป็นหัวใจของพุทธศาสนานั่นเองค่ะ...... เรียนรู้ธรรมะไปกับแม่หมอ ก็จะขอเป็นส่วนหนึ่ง ที่จะพาเพื่อนๆให้มารู้จักกับการฝึกสมาธิ โดยจะพยายามรวบรวมความรู้ สาระต่างๆเกี่ยวกับการฝึกสมาธิมาให้เพื่อนๆได้อ่านกัน .... แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือการปฏิบัติ และการฝึกฝนด้วยตนเองนะคะ....  แม่หมอเลยอยากชวนเพื่อนๆให้แบ่งเวลามาเริ่มต้นฝึกสมาธิไปพร้อมๆกันกับแม่หมอ ..... อย่าลืมนะคะ ชีวิตคนเรามีแค่2ส่วน ร่างกายย่อมเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา แต่จิตใจที่ดีงามเท่านั้นที่จะอยู่ได้ตลอดไปค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

-