ทักทาย

แม่หมอขอแนะนำตัวเองก่อนเลยนะคะ ก็เป็นผู้หญิงธรรมด๊าธรรมดาคนนึง อาจดูเหมือนเป็นสาวมั่นที่ลุ๊คดู เปรี้ยวไปบ้างเล็กน้อย ..... ส่วนใหญ่วันๆ ก็ทำงาน หาเงิน (แล้วก็อยากรวย) ว่างๆก็ใช้เงิน หาเงิน วนเวียนอยู่กับเงิน อยู่กับงาน อยู่กับครอบครัว ชีวิตหมดไปอย่างงี้แหละค่ะทุกๆวัน ..... แล้วมาวันนึงก็ให้รู้สึก เหนื่อยกับชีวิต บางครั้งก็คิดว่า เอ๊ะทำไมคนนั้นต้องทำกับเราอย่าง นี้ คนนี้ต้องทำกับเราอย่างนั้นด้วย รึทำไมน๊าถึงซวยอย่างนี้ และอื่นๆอีกมากมาย .....คราวนี้ก็มาลองคิดดู คิดไปคิดมาก็ให้รู้สึกเหมือนตัวเองไม่ค่อยมีความสุขเท่าไหร่ แต่คงเป็นโชคดีที่ตัวเองเป็นคนชอบอ่าน วันนึงก็เลยลองหยิบหนังสือแนว ธรรมะขึ้นมาอ่าน(กะอ่านเล่นๆ)... แล้วก็เริ่มเห็นจริงในบางเรื่อง ....แล้วก็เริ่มเอามาปรับใช้ในชีวิตจริง ..... สุดท้ายศรัทธาก็เกิดและชีวิตก็มีความสุขขึ้นตามลำดับ ......... แม่หมอคิดว่า คนเราเลือกที่จะมีความสุขได้นะคะ อยู่ที่เราจะเลือกรึเปล่า และกฎแห่งกรรมก็มีจริงค่ะอาจช้าไปบ้าง เร็วไปบ้าง แต่มีจริงแน่นอนค่ะ ..... ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปรัชญา เป็นศาสนาที่เน้นแนวคิด.... บางครั้งเราอาจคิดว่าห่างไกลกับชีวิตประจำ วันของเรา หรือ บางคนอาจคิดว่าวัยยังไม่ถึงยังไม่แก่ซะหน่อย ....แต่ไม่ลองไม่รู้ค่ะ แม่หมอเลยอยากชวนเพื่อนๆให้มาเริ่มศึกษาธรรมะไปพร้อมๆกับแม่หมอ เราจะเดินไปด้วยกันสู่เส้นทางสายธรรมเพื่อความสุขที่เราเลือกจะมีค่



a

วันพุธ

เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบวช(มหายาน)

เนื่องจากพุทธประวัติในปัจจุบันในส่วนของนิกายมหายานได้มีการรวบรวม เรียบเรียงและมีฉบับค้นพบใหม่ บางตอนอาจแปลกไปกว่าที่เราเคยรับรู้มาตั้งแต่เด็กๆ .... แม่หมออ่านเจอและเห็นว่าน่าสนใจ เลยขอนำตอนออกบวชมาของพระพุทธเจ้ามาเล่าให้เพื่อนๆฟังประดับเป็นความรู้นะคะ

สืบเนื่องจากเจ้าชายสิทธัตถะโคตมะได้ครองเรือนโดยอภิเสกสมรสกับเจ้าหญิงพิมพา มีชีวิตอยู่ในปราสาท3ฤดู ..... ทางการเมือง พระองค์ได้ทรงเป็นสมาชิคศากยสภาหรือสภาราชวงศ์ศากยะ มาตั้งแต่พระชันษา20ปีบริบูรณ์..... ในพิธีปฏิญานตนเข้าเป็นสมาชิก มีข้อหนึ่งระบุไว้ว่า จะต้องอุทิศชีวิตและทรัพย์สมบัติเพื่อรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ของศากยวงศ์ หากประพฤติผิดหน้าที่ ทำลายผลประโยชน์ของศากยวงศ์ต้องแจ้งให้สภาทราบโดยไม่ปิดบัง และกำหนดโทษไว้3 สถานคือ ประหารชีวิต ริบทรัพย์สมบัติ และเนรเทศ ...... สิทธัตถะโคตมะบำเพ็ญตนเป็นสมาชิคของศากยวงศ์มาโดยความซื่อสัตย์และสามารถรักษาผลประโยชน์ทั้งหลายอันเกิดแก่ศากยวงศ์ ถือเสมือนว่าประโยชน์เหล่านั้นสูงสุดกว่าประโยชน์ส่วนตน และก็ได้เป็นความหวังของศากยะทั้งหลาย เหลือแต่เวลาที่จะได้ราชสมบัติแทนพระชนกเท่านั้น .......

แต่เมื่อพระชันษา28ปี ได้มีเหตุการณ์ใหญ่เกิดขึ้น  ศากยวงศ์และโกลิยวงศ์เกิดเหตุวิวาทกันที่บริเวณแม่น้ำโรหิณี มีผู้คนบาดเจ็บมากมาย ทางฝ่ายศากยสภาพิจรณาให้ประกาศสงครามกับฝ่ายโกลิยะ.... แต่สิทธัตถะโคตมะได้คัดค้าน โดยให้เหตุผลว่า...... สงครามไม่ใช่เครื่องมือระงับข้อพิพาท ผู้ประหารย่อมได้รับการประหารตอบเป็นรางวัล เราชนะเขาได้ เขาย่อมชนะเราได้ ใครเป็นผู้ทำลาย การทำลายจะติดตามมาสู่ผู้นั้น ....  เวรจะไม่ระงับด้วยการจองเวร ศัตรูจะไม่ระงับได้ด้วยการมีศัตรู ตามธรรมนั้น จะเอาขนะศัตรูได้ด้วยเมตตาปราณีอย่างเดียว ..... สุดท้ายสภาราชวงศ์ศากยะลงมติได้เสียงข้างมากให้ทำสงคราม และมีการกำหนดให้ชายฉกรรจ์อายุ20-50ปีต้องเข้าร่วมกองทัพกระทำสงครามกับฝ่ายโกลิยะ .....

สิทธัตถะทรงพิจรณาถึงปฏิญญาที่ทรงรับว่าจะทำเพื่อประโยชน์ของบ้านเมือง ประโยชน์ของศากยวงศ์ การประหาร และชีวิต ....... มีพระดำริรวมมาได้3สถานคือ  1. สละพระวาจา ยอมเข้าร่วมสงครามร่วมประหารไปกับบุคคลที่ใฝ่การประหาร  2. ยอมให้สภาประหารตนหรือเนรเทศตนออกไป 3. ยอมให้ริบทรัพย์สมบัติของพระชนกและพระเจ้าแม่น้า .... สุดท้ายจึงทรงตัดสินใจแจ้งแก่สภาว่าขอเลือกเนรเทศพระองค์เอง  โดยจะขอสละความสุขในเรือนเปลี่ยนเพศเป็นปริพาชกเดินทางออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ ซึ่งไม่ต้องให้ใครเข้ามาเกี่ยวข้อง .......  การประชุมสภาศากยวงศ์ในครั้งนั้นเป็นครั้งใหญ่ว่าด้วยผลแห่งการประชุมเป็นเหตุให้เจ้าชายสิทธัตถโคตมะ รัชทายาทแห่งศากยะจะต้องเสด็จออกจากพระนครไปสู่ราวไพร ในเพศของปริพาชก .......

ราตรีในกรุงกบิลพัสดุ์เงียบสงัดเหมือนชัฏไพร .......สิทธัตถโคตมะทรงหลีกไปสู่ที่ประทับส่วนพระองค์และดำริวาจะเสด็จไปทิศใด จะถือเพศเป็นปริพาชกแล้วจะเสด็จสู่สำนักของดาบสใดอาศรมใด จึงจะสมควรที่สุด ซึ่งทรงนึกถึงท่านดาบสภารัทวาชซึ่งทรงเคยเสด็จไปศึกษาเมื่อทรงพระเยาว์ ....... ครั้งรุ่งอรุโณทัยมีพระดำรัสเรียกนายฉันนะนายม้าต้นให้ผูกกัณฐกะ เตรียมออกเดินทาง การเสด็จนิราศจากนครทรงได้รับอนุญาตจากพระชนก เจ้าแม่น้าและพระชายาแล้วและเสด็จไปต่อหน้าประชาชนไม่ได้หลบหนี ........

กัณฐกะม้าทรงได้พาเจ้าชายและนายฉันนะม้าต้นเสด็จหลีกกลุ่มมหาชน......  มาถึงบริเวรใกล้อาศรมแห่งดาบสภารัทวาช ทรงพบพระชนกและพระแม่น้ามาประทับคอยอยู่หน้าพระอาศรม แม้สิทธัตถโคตมะจะทรงไม่พอพระทัยที่ได้เห็นบุคคลผู้เป็นบ่อเกิดแห่งความวิปโยคอย่างใหญ่หลวงอีกครั้งก่อนสละเพศก็ตาม แต่เมื่อทรงหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงเข้าทูลขอพรเพื่อความสำเร็จ.......  และเปลื้องเครื่องทรง ปลงพระเกษาด้วยพระองค์เองและทรงรับเครื่องทรงนักพรตจากพระญาติ และเข้าไปให้ภารัทวาชดาบสทำพิธีเป็นนักพรตให้.....

มหาชนทั้งหลายที่ตามมาดูการบรรพชาของสิทธัตถโคตมะได้ทูลขอไม่ให้เสด็จไปไกล ขอให้ประทับอยู่ใกล้กับพลเมืองและศากยวงศ์  ขณะที่มหาชนร่ำไห้ตามส่งเสด็จอยู่  ได้ทรงตรัสกับมหาชนว่า "ข้าพเจ้าเป็นผุ้ที่พ่ายแพ้แก่มติสภา ขอท่านทั้งหลายพากันกลับไป พยายามอย่าให้มีการประหารเกิดขึ้น หากเป็นมติของมหาชนแล้วสภาอาจย้อนมาสู่มติใหม่ได้ ความสงบสุขจักมีขึ้นได้ ข้าพเจ้าจักมีความสบายเมื่อได้รับข่าวความสำเร็จนี้"  ..... และได้ทรงตัดสินใจออกเดินทางต่อ ....

นายม้าต้นได้ทูลขอตามเสด็จพร้อมด้วยม้าทรงกัณฐกะ เพื่อรับช่วงใช้ต่อไปไม่ว่าจะเสด็จสู่ที่ใด  .....ถ้าทรงปฏิเสธจะขอตามส่งเสด็จไปให้ถึงฝั่งแม่น้ำอโนมา.... สิทธัตถะทรงปฏิเสธครั้งแล้วครั้งเล่าแต่นายม้าต้นก็ไม่ยอมจนวาระสุดท้ายมีโอกาสพร้อมด้วยม้าทรงไปส่งเสด็จถึงฝั่งแม่น้ำอโนมา ...... ซึ่งตามระยะทางเมื่อออกจากกรุงกบิลพัสดุ์จนถึงฝั่งแม่น้ำอโนมาแม้จะใช้เวลาหยุดที่อาศรมของดาบสภารัทวาชบ้างหยุดให้กัณฐกินหญ้า ดื่มน้ำบ้าง ก็ใช้เวลาเพียง1วันเท่านั้น .... แต่การเดินทางกลับของนายม้าต้นและม้ากัณฐกะใช้เวลาถึง8วันทั้งม้าทั้งคนได้แต่ร่ำไห้เป็นเบื้องหน้า..... กัณฐกะไม่ยอมกินหญ้ากินน้ำ จนเข้าเขตกรุงกบิลพัสด์ ม้ากัณฐกะจึงได้ขาดใจตาย .........   กาลเวลาแห่งพระชันษาที่สิทธัตถะเสด็จออกปฏิบัติตนเป็นปริพาชกเดินไพรคำนวณได้29ปี

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ1.9.53

    ดีค่ะมีสาละดีๆมายมาก







    ขอบคุงค่ะแม่หมาเออผิดแม่หมอ

    ตอบลบ

-