ทักทาย

แม่หมอขอแนะนำตัวเองก่อนเลยนะคะ ก็เป็นผู้หญิงธรรมด๊าธรรมดาคนนึง อาจดูเหมือนเป็นสาวมั่นที่ลุ๊คดู เปรี้ยวไปบ้างเล็กน้อย ..... ส่วนใหญ่วันๆ ก็ทำงาน หาเงิน (แล้วก็อยากรวย) ว่างๆก็ใช้เงิน หาเงิน วนเวียนอยู่กับเงิน อยู่กับงาน อยู่กับครอบครัว ชีวิตหมดไปอย่างงี้แหละค่ะทุกๆวัน ..... แล้วมาวันนึงก็ให้รู้สึก เหนื่อยกับชีวิต บางครั้งก็คิดว่า เอ๊ะทำไมคนนั้นต้องทำกับเราอย่าง นี้ คนนี้ต้องทำกับเราอย่างนั้นด้วย รึทำไมน๊าถึงซวยอย่างนี้ และอื่นๆอีกมากมาย .....คราวนี้ก็มาลองคิดดู คิดไปคิดมาก็ให้รู้สึกเหมือนตัวเองไม่ค่อยมีความสุขเท่าไหร่ แต่คงเป็นโชคดีที่ตัวเองเป็นคนชอบอ่าน วันนึงก็เลยลองหยิบหนังสือแนว ธรรมะขึ้นมาอ่าน(กะอ่านเล่นๆ)... แล้วก็เริ่มเห็นจริงในบางเรื่อง ....แล้วก็เริ่มเอามาปรับใช้ในชีวิตจริง ..... สุดท้ายศรัทธาก็เกิดและชีวิตก็มีความสุขขึ้นตามลำดับ ......... แม่หมอคิดว่า คนเราเลือกที่จะมีความสุขได้นะคะ อยู่ที่เราจะเลือกรึเปล่า และกฎแห่งกรรมก็มีจริงค่ะอาจช้าไปบ้าง เร็วไปบ้าง แต่มีจริงแน่นอนค่ะ ..... ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปรัชญา เป็นศาสนาที่เน้นแนวคิด.... บางครั้งเราอาจคิดว่าห่างไกลกับชีวิตประจำ วันของเรา หรือ บางคนอาจคิดว่าวัยยังไม่ถึงยังไม่แก่ซะหน่อย ....แต่ไม่ลองไม่รู้ค่ะ แม่หมอเลยอยากชวนเพื่อนๆให้มาเริ่มศึกษาธรรมะไปพร้อมๆกับแม่หมอ เราจะเดินไปด้วยกันสู่เส้นทางสายธรรมเพื่อความสุขที่เราเลือกจะมีค่



a

วันอาทิตย์

หลวงปู่ฝั้น

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

วัดป่าอุดมสมพร จังหวัดสกลนคร

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร  เป็นพระภิกษุที่ใจดี ทำหน้าที่อบรมญาติโยมด้วยการให้ข้อคิด คติธรรมที่เรียบง่ายและลึกซี้ง ..... หลวงปู่ฝั้น เป็นกองทัพธรรมของหลวงปู่มั่นรุ่นแรกที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ออกธุดงค์ไปยังหมู่บ้านต่างๆเพื่อเผยแผ่ธรรมและฟื้นฟูพุทธศาสนา ...... จนบางครั้งสร้างกระแสความตื่นตระหนกให้กับพระภิกษุเจ้าถิ่นที่มีความคุ้นเคยกับความเป็นอยู่ในรูปแบบเดิมที่ย่อหย่อนต่อพระธรรมวินัย ติดงานรื่นเริง ไสยศาสตร์ การไหว้ทรงเจ้าแบบไม่มีเหตุผล .... กองทัพธรรมที่เคร่งพระธรรมวินัย ถือธุดงควัตร ฉันมื้อเดียวในบาตร เดินสำรวมไม่มองไกล ไม่พูดจาเฮฮากับชาวบ้าน เป็นสิ่งแปลกใหม่จนเจ้าหน้าที่บ้านเมืองถึงกับแตกตื่น กลัวว่าจะเป็นการสอนให้ต่อต้านจึงมีการสอบสวนจับตาเป้นพิเศษ...... แต่หลวงปู่สายวัดป่าก็ได้อาศัยพระธรรมวินัย ความเมตตาเข้าอบรมสั่งสอนจนให้เข้าใจถึงวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องของพุทธศาสนาว่าคือเส้นทางแห่งการพ้นทุกข์ ....... หลวงปู่ฝั้นได้ธุดงค์ยังสถานที่ต่างๆ เพื่อเผยแผ่พระธรรม คำสอน จนกระทั่งเป็นที่นับถือศรัทธาของญาติโยมจำนวนมาก และได้รับการได้รับการยกย่องเป็น "อริยสงฆ์" องค์หนึ่ง

หลวงปู่ฝั้น เกิดเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2442 ที่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เป็นบุตรคนที่ 5 ของ เจ้าไชยกุมาร (เม้า) ในตระกูล "สุวรรณรงค์" อดีตเจ้าเมือง พรรณานิคม ในวัยเยาว์ ท่านมีความประพฤติเรียบร้อยโอบอ้อมอารี ขยันหมั่นเพียร อดท ต่ออุปสรรค ช่วยเหลือกิจการ งานของบิด มารดา โดยไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก ....... ทีแรก ท่านอยากรับราชการ แต่ต่อมา ได้เห็น ความเป็นอนิจจัง ของผู้มี ยศฐาบรรดาศักดิ์ จึงได้เปลี่ยน ความตั้งใจ และได้เข้า บรรพชา เป็นสามเณร ที่วัดโพนทอง บ้านบะทอง ซึ่งเป็นวัดมหานิกาย ..... ต่อจากนั้นในพ.ศ. 2463 จึงได้ถวายตัวเป็นศิษย์ของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และได้ขอญัตติ เป็นธรรมยุตินิกาย เมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2468 ที่วัดโพธิ์สมภรณ์ จ.อุดรธานี

หลวงปู่ฝั้นมีความเมตตา ซึ่งแสดงออกตั้งแต่การให้ของเล็กๆน้อยๆ หรือการยอมทำตามคำขอร้องง่ายๆ ขึ้นไปจนถึงการให้ของที่สำคัญๆ และการกระทำที่ยากๆ แม้จนกระทั่งสิ่งที่ท่านเองไม่อยากกระทำ แต่ถ้าถึงขีดที่เป็นการผิดพระวินัย ท่านจะไม่ยอมเป็นอันขาด ...... เมื่อครั้งที่หลวงปู่พำนักอยู่ในป่าริมห้วยเสนง จังหวัดสุรินทร์ ผู้คนพากันไปฟังพระธรรมเทศนาและรับการอบรมจากท่านอย่างเนืองแน่นมิได้ขาด เมื่อท่านได้ทราบถึงความเจ็บป่วยของชาวบ้านบางคน ท่านได้ให้ลูกศิษย์หาเครื่องยามาประกอบเป็นยาดองโดยมีผลสมอเป็นตัวยาสำคัญกับเครื่องเทศอีกบางอย่างปรากฏว่า ยาดองที่ท่านประกอบขึ้นคราวนั้น มีสรรพคุณแก้โรคได้สารพัด ...... บางคนที่ป่วยมานานพอไปฟังพระธรรมเทศนา รับพระไตรสรณคมน์ และรับยาดองจากท่านไปกินเพียง ๓ วัน โรคก็หา ดังปลิดทิ้ง ชาวสุรินทร์ ถึงกับขนานนามท่านว่า "เจ้าผู้มีบุญ"

หลวงปู่ฝั้นเป็นที่พึ่งและได้ให้คำแนะนำกับชาวบ้าน ช่วงเข้าพรรษาปี พ.ศ. 2489 ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ จังหวัดสกลนครเกิดฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล บางบ้านกลัวอดข้าวเพราะทำนาไม่ได้ ท่านได้แนะนำให้รักษาศีลให้เคร่งครัดโดยพร้อมเพรียงกันท่านกล่าวว่า หากยึดมั่นในพระรัตนตรัย แล้วจะไม่อดตายอย่างแน่นอนกุศลความดีทั้งหลายจะรักษาผู้ปฏิบัติชอบเสมอบรรดาญาติโยมทั้งหลาย ต่างพากันเข้าวัดปฏิบัติ ถือศีลห้า ศีลแปดกันอย่างมั่นคง......  ต่อมาวันหนึ่ง หลวงปู่ฝั้นได้ให้ลูกศิษย์ปูเสื่อบนลานวัดกลางแจ้ง ท่านพร้อมกับพระภิกษุ ๒ รูป สามเณร ๒ รูป นั่งสวดคาถาท่ามกลางแสงแดดจ้า ไปได้ประมาณครึ่งชั่วโมงท้องฟ้าที่กำลังมีแดดจ้า พลันมีเสียงฟ้าคำราม บังเกิดมีก้อนเมฆ กับมีฝนเทลงมาอย่างหนักท่านให้พระและเณรหลบฝนไปก่อน ส่วนตัวท่านเอง ยังคงนั่งอยู่ที่เดิมอีกนาน จึงได้ลุกไปฝนตกหนักเกือบ ๓ ชั่วโมง เมื่อฝนหยุด แล้วท้องฟ้าก็แจ่มใสดังเดิมปีนั้น ฝนฟ้าก็ตกต้องตามฤดูกาล ชาวบ้านได้ทำนาตามปกติโดยทั่วถึง

หลวงปู่ฝั้นเป็นอาจารย์ที่เข้มงวดกวดขันมาก คอยเคี่ยวเข็ญพระเณร ตลอดจนผ้าขาว ให้ปฏิบัติภาวนาโดยเข้มแข็งเสมอ   ถ้าใครเกียจคร้านหรือเหลาะแหละ ท่านก็จะว่ากล่าวตักเตือนเช่นว่าบวชแล้ว อย่าให้ชาวบ้านเปลืองข้าวเปล่าๆ หรือว่า พระกรรมฐานเป็นพระนั่ง ไม่ใช่พระนอน เป็นต้นถ้าใครปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ท่านก็ชมเชยและเอาใจใส่ อบรมเป็นพิเศษ เพื่อที่จะได้ก้าวหน้าไปไกลยิ่งขึ้นอีก

หลวงปู่ฝั้น เป็นนักปฏิบัติธรรม เป็นนักพัฒนา เป็นนักวิทยาศาสตร์ ที่มีสติปัญญาล้ำเลิศ มีความรู้กว้างขวาง และมีปฏิภานไหวพริบฉลาดเฉลียวจะเห็นได้จาก ในประวัติของท่าน ท่านมักจะได้รับมอบหมาย ให้ไปตัดสินปัญหาพิจารณาความเป็นธรรมอยู่เนืองๆ เช่น กรณีแก้มิจฉาทิฏฐิของไท้สุขกรณีแก้วิปัสนูปกิเลสของแม่ชีตัด กรณีระงับเหตุการณ์ไม่สงบที่วัดเทพนิมิตร จังหวัดฉะเชิงเทราและการได้รับบัญชาจาก สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ให้อยู่ใกล้ชิด และคอยแนะนำ เรื่องภาวนา ที่วัดสุปัฏน์ จังหวัดอุบลราชธานี
หลวงปู่ฝั้นได้ทำการพัฒนา ก่อตั้ง บูรณะวัด และพัฒนาสาธารณประโยชน์  เช่น วัดป่าศรัทธาธรรม วัดป่าโยธาประสิทธิ์ วัดป่าภูธรพิทักษ์ สำนักสงฆ์ถ้ำขาม และวัดป่าอุดมสมพร.....  ส่วนถาวรวัตถุอื่นๆ ที่เป็นสาธารณประโยชน์ก็มีมากมายเช่น ถนนสายบ้านคำข่า-บ้านไร่ ถนนสายบ้านม่วงไข่-บ้านหนองโคก สะพานข้ามห้วยทรายเขื่อนกั้น้ำอูน ตึกพิเศษสงฆ์ ที่โรงพยาบาลสกลนคร และโรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโรที่อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เป็นต้น

หลวงปู่ฝั้นเป็นนักวิทยาศาสตร์และนักพัฒนา  ในระหว่างพรรษา ปี พ.ศ. 2498 ท่านจำพรรษาบนถ้ำขาม ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาบนไหล่เขาช่วงใกล้จะถึงยอดเขาถ้ำขาม มีที่ค่อนข้างราบอยู่ประมาณครึ่งไร่ ซึ่งมีดินขังอยู่ระหว่างก้อนหิน ท่านให้ชาวบ้านถางหญ้า แล้วหาหน่อกล้วยมาปลูกชาวบ้านหลายคนคัดค้านว่า ที่อย่างนั้นปลูกกล้วยไม่ขึ้น เอามาปลูกก็เสียเวลาเสียของเปล่าๆ แต่หลวงปู่บอกว่า ไปหามาปลูกแล้วกัน ขึ้นหรือไม่ขึ้น ก็จะรู้เองพอปลูกแล้ว ก็งอกงามเป็นป่ากล้วย และยั่งยืนมาจนทุกวันนี้ท่านถือป่ากล้วยเป็นบทเรียนสำหรับชาวบ้าน ให้เห็นว่า การลงความเห็นว่าอ้ายโน่นทำไม่ได้ อ้ายนี้ทำไม่ได้ โดยไม่พยายามลองดูนั้น คือความโง่ และความเกียจคร้าน ซึ่งเป็นเหตุแห่งความทุกข์และยากจน ส่วนความสนใจใคร่ทดลองทำอย่างโน้น ทำอย่างนี้ แม้ไม่เคยทำมาก่อน เป็นความฉลาดและขยัน จะนำไปสู่ความสุขและความร่ำรวย


หลวงปู่ฝั้นได้ละสังขารเมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2527 ณ วัดป่าอุดมสมพร ซึ่งถือเป็นอนุสรณ์สถานที่สำคัญของท่าน สิริรวมอายุได้ 78 ปี 58 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ไปทรงสรงน้ำศพ พระราชทานหีบทองประกอบศพ จนถึงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2521 ได้เสด็จพระราชทานเพลิงศพเป็นการส่วนพระองค์ ในบริเวณที่พระราชทานเพลิงศพของพระอาจารย์ฝั้นได้มีการสร้างเจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร สูง 27.9 เมตร ลักษณะเป็นเจดีย์ปลายแหลม ฐานกลม ขึ้นรูปด้วยกลีบบัวหุ้มฐานสามชั้น แต่ละกลีบบัวตกแต่งด้วยกระเบื้องเป็นรูปพระอาจารย์ต่างๆ ภายในเจดีย์มีรูปปั้นพระอาจารย์ฝั้นถือไม้เท้าขนาดเท่าองค์จริง มีตู้กระจกบรรจุเครื่องอัฐบริขารของท่าน


คำสอนหลวงปู่ฝั้น

"บุญและบาปสิ่งใดๆ ใจถึงก่อนใจเป็นรากฐาน ใจเป็นประธาน มันสำเร็จที่ใจ .....  ตัวบุญคือใจสบาย เย็นอกเย็นใจ ตัวบาปคือใจไม่สบาย ใจเดือดใจร้อน "

"เราไม่อยากเป็นกรรมเป็นเวร เราต้องตัด ตัดอารมณ์น่ะหละ ให้อยู่ในที่รู้ อยู่ตรงไหน แล้วเราก็เพ่งอยู่ตรงนั้น "

"ปัญญาคือ ความรอบรู้ในกองทุกข์สังขาร "

" ถ้าคนเราไม่ได้ทำ ไม่ได้หัดไม่ได้ขัด ไม่ได้เกลา ที่ไหนเล่า จะมีพระอรหันต์ในโลก "

" ให้สติกำหนดที่ผู้รู้ อย่าส่งไปข้างหน้า ข้างหลัง ข้างซ้าย ข้างขวา ข้างบน ข้างล่าง อดีต อนาคต กำหนดอยู่ที่ผู้รู้แห่งเดียวเท่านั้นแหละ "

" พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อยู่ที่ใจ ในใจ  ...... จำไว้พุทโธ ธัมโม สังโฆ ทำอะไรๆ ก็พุทโธ .....กลัวก็พุทโธ ใจไม่ดีก็พุทโธ ขี้เกียจก็พุทโธ "


" ศีลห้านี้ คือ ขาสอง แขนสอง ศีรษะอันหนึ่ง เรารักษาห้าอย่างนี้ไม่ให้ไปทำโทษห้า คือ อันใดเล่า ปาณานั้นก็โทษ อทินนานั่นก็โทษ กาเมนั่นก็โทษ มุสานี่นก็โทษ สุรานั่นก็โทษ พระพุทธเจ้าให้เว้น เวรมณี คือ ละเว้น "

" อยากสวยให้ถือศีล อยากรวยให้ทำทาน อยากมีปัญญาชาญให้ภาวนา "


" ธรรมของพระพุทธเจ้าแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์นั้น อยู่ที่ตัวเรา ไม่ใช่ที่ไหนอื่น "

"กรรมดีกรรมชั่ว ผู้นี้เป็นผู้กำเอาเป็นผู้ทำเอา  ไม่เห็นมีกรรมมาจากต้นไม้ภูเขาเหล่ากา ไม่เห็นมีกรรมมาจากฟ้าอากาศ มาจากกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม กรรมเท่านี้แหละ "


" วิธีอื่นไม่มีจะตัดบาปตัดกรรมตัดเวร นอกจากเรานั่งสมาธินี้ มโนกรรม คือ ความน้อมนึกระลึกกรรมอันใดไว้ เป็นบุญหรือเป็นบาป เราจะรับผลของกรรมนั้นสืบไป "


" บุญ คือ ความสุข บุญ คือ ความเจริญ บุญ คือ คุณงามความดี มันตรงไหนล่ะ เงินเขาก็ไม่ได้ว่าเขามีความสุข ถามดูซิ เงินเจ้ามีความสุขไม๊ เขาเฉย ไม่ใช่เรอะ นี่แหละ ถ้าใจเราไม่สงบมันก็ไม่มีความสุขล่ะ ถ้าใจเราไม่มีความดีก็ไม่มีซี้ "


" อยากรู้อะไร ตามที่เป็นจริง ให้น้อมเข้ามาภายในโอปะนะยิโก เพราะอะไรๆ มันเกิดมาจากภายใน  สิ่งทั้งหลายทั้งหมดเกิดจากดวงใจของเรา มโนความน้อมนึก "


" เรานั่งอยู่นี่มันเกิดกี่ภพกี่ชาติแล้ว ภเว ภวา สัมภวันติ มันเที่ยวก่อภพน้อยๆ ใหญ่ๆ อยู่ มันห้ามไม่ได้
เรานั้งสมาธินี้เพื่อห้ามไม่ให้มันเกิด   เราทำอย่างนี้เรียกปฏิบัติบูชา บูชาพระพุทธเจ้าอย่างเลิศ อย่างประเสริฐที่สุด บุญอันใดจะเท่าเรานั่งสมาธิภาวนาไม่มี "


"เพ่งดูนโม อาการสามสิบสองเพ่งให้เห็นแจ่มแจ้งภควา  ผู้จำแนกแจกธรรม แจกเข้าแล้วมันก็ไม่มีคน
อันนั้นเป็นผม เป็นขน เป็นเล็บ เป็นฟัน เป็นผิวหนัง เป็นตับไต ไส้น้อย ไส้ใหญ่ อาหารเก่า อาหารใหม่ มันไม่ใช่ตัวตนนี่ มันไม่ใช้คนนี่ "


"ธรรมะแปดหมื่นสี่พันไม่ใช่อะไร รวมแล้วได้แก่พระสูตร คือ ลมหายใจเข้า พระวินัย คือ ลมหายใจออก พระปรมัตถ์ผู้รู้ที่อยู่ข้างใน "


" ทุกคนจะต้องเข้ามหายุทธสงครามสักวันหนึ่ง คือการ ต่อสู้กับมัจจุราช เมื่อถึงเวลานั้นแต่ละคนจะต้องสู้เพื่อ ตนเอง และต้องสู้โดยลำพัง ผู้ที่สู้ได้ดีก็จะไปดี คือไปสู่ สุคติ ผู้ที่เพลี่ยงพล้ำก็จะไปร้าย คือไปสู่ทุคติ อาวุธที่ใช้ ต่อสู้มีเพียงสิ่งเดียว คือ "สติ" ซึ่งจะสร้างสมได้ด้วยการ เจริญภาวนาเท่านั้น "


" บุญกุศลนั้นก็ไม่ใช่อื่นไกล ก็ได้แก่ทานบารมี ศีลบารมี ภาวนาบารมีนี้แหละทาน ก็รู้อยู่แล้ว คือการสละ หรือ การละการวางผู้ใดละมาก วางได้มาก ก็เป็นผลานิสงส์มากผู้ใดวางได้น้อย ละได้น้อย ก็มีผลานิสงส์น้อย ละได้น้อย ก็มีผลานิสงส์น้อยมัจฉริยะความตระหนี่เหนียวแน่น นี้หละ คือความโลภ ต้องสละเสีย ให้เป็นผู้บริจาค ก็บริจาคทรัพย์สมบัติ วัตถุทั้งหลายเหล่านั้นหละ ไม่ใช่อื่นไกลแปลว่า ทะนุบำรุงตน เหมือน พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ท่านจะสำเร็จมรรคผล ท่านก็ได้สร้างบารมีมา คือทานบารมีอันนี้ นี่ให้เข้าใจไว้ ทานเป็นเครื่องสะเบียงของเรา เมื่อเราได้ทำไว้พอแล้วเราจะเดินทางไกล เราก็ไม่ต้องกลัวอดกลัวอยาก กลัวทุกข์กลัวยากของเก่าเราได้ทำมาไว้ ถ้าอะไรเราไม่ได้ทำไว้ อยากได้ มันก็ไม่ได้ ถ้าได้ทำไว้แล้ว สร้างไว้แล้ว ไม่อยากได้ มันก็ได้ นี่แหละทานบารมี เหตุนี้ ให้พากันเข้าใจ "

" ศีลบารมีล่ะ คนเราเพียงแต่รับศีลไม่ได้รักษาศีล เข้าใจว่า ศีลนั้นเป็นของพระถ้าพระไม่ให้แล้ว ก็ว่าเราไม่ได้ ศีลอย่างนี้ เป็นสีลัพพตปรามาส เพียงแต่ลูบคลำศีลแท้ที่จริงนั้น ศีลของเรา เกิดมาพร้อมกับเรา ศีลห้าบริบูรณ์ตั้งแต่เกิดขาสอง แขนสอง ศีรษะหนึ่ง อันนี้คือตัวศีลห้า เราได้จากมารดาของเรา เกิดมาก็มีพร้อมแล้ว เมื่อเรามีศีลห้าบริสุทธิ์อย่างนี้ ก็ให้เรารักษาอันนี้หละ รักษากายของเรา รักษาวาจา รักษาใจให้เรียบร้อยอย่าไปกระทำโทษน้อยใหญ่ ทางกาย ทางวาจา ทางใจของเรา โทษห้าคืออะไร คือ ปาณาติปาตา ท่านให้งดเว้น อย่าไปทำ นั่นเป็นโทษ ไม่ใช่ศีลอทินนาทานา นั่นก็เป็นโทษ ไม่ใช่ศีลกาเมสุมิจฉาจารา นั่นก็ไม่ใช่ศีล เป็นแต่โทษมุสาวาทา ท่านให้งดเว้น มันเป็นโษ ม่ใช่ศีลสุราเมรยมชฺชฯอันนี้ก็เป็นแต่โทษถ้าเราไม่ได้ทำความผิดห้าอย่างนี้ อยู่ที่ไหนเราก็มีศีล อยู่ในป่าในดง ก็มีศีล อยู่ในรถในรา เราก็มีศีลให้เข้าใจศีลตามนี้ ที่คอยจะรับจากพระ นั่นไม่ใช่ ท่านก็บอกว่า อย่าไปทำ ห้าอย่างนั้นให้ละเว้น เมื่อเราละเว้นแล้ว อยู่ที่ไหนก็มีศีล เราก็เป็นคนบริสุทธิ์ บริบูรณ์ ศีลห้า อย่างนั้น เราไม่อยากได้ ไม่ปรารถนาเหตุฉันใด จึงว่าไม่อยากได้ พิจารณาดูซี่ สมมติว่ามีคนมาฆ่า หรือ มาฆ่าพี่ฆ่าน้อง ญาติพงษ์ ของเรา เราดีใจไหมล่ะ เราไปฆ่าเขาล่ะ เขาดีใจไหม พิจารณาดูซี่ เราไม่ต้องการอย่างนั้นไม่ใช่เหรอถ้าเราไม่ทำอย่างนั้นแล้ว โทษของเรา ก็ไม่มี เกิดมาอายุก็ยืนนาน ไม่ตายแต่น้อย แต่หนุมก็เพราะเราไม่ได้ทำปาณาติบาตไว้ ในหลายภพหลายชาติแม้ในชาตินี้ก็เหมือนกัน เราฟังธรรม ก็ฟังในชาตินี้ แล้วก็ปฏิบัติในปัจจุบันนี้ เราไม่ต้องคำนึงถึงอดีตอนาคต เรากำหนดให้รู้เดี๋ยวนี้ เรานั่งอยู่นี่ ก็เป็นศีลอยู่ นี่ข้อสำคัญ "

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

-