หลวงปู่ชามีนามเดิมว่า ชา ช่วงโชติ......... เกิดเมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๑ ณ บ้านจิกก่อ อำเภอ วารินชำราบ อุบลราชธานี หลวงปู่ชามีจิตฝักใฝ่ธรรมมาแต่เด็กบรรพชาเป็นสามเณร แล้วก็ลาสิกขาอุปสมบทเป็นภิกษุเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒ ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ออกศึกษาปริยัติต่างถิ่นโดยเริ่มที่วัดสวนสวรรค์ อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี การที่ท่านบวชแต่เยาว์วัยยังผลให้ท่านมีโอกาสศึกษาเล่าเรียนทางโลกเพียงแค่ชั้นประถมปีที่ ๑ .............. หลวงปู่ชาความปรารถนาอยากรู้แจ้งเห็นจริงตามคำสอนของพระพุทธองค์ จึงเริ่มศึกษาธรรมจากสำนักต่าง ๆ หลายสำนัก หลังจากสอบนักธรรมเอกได้เกิดเบื่อหน่ายด้านปริยัติ พิจารณาว่าไม่ใช้ทางพ้นทุกข์ ประสงค์จะศึกษาด้านวิปัสสนาธุระบ้าง จึงออกธุดงค์ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๙ โดยหลวงปู่ชาจึงได้ใช้หนังสือบุพพสิกขาวรรณนาวินัยกถา เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์
หลวงปู่ชาได้ทราบข่าวว่าท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ......... เป็นผู้มีคุณธรรมสูงทั้งเชี่ยวชาญด้านวิปัสสนาธุระ มีประชาชนเคารพเลื่อมใสมาก จึงเดินทางมาที่วัดหนองผือนาใน จังหวัดสกลนคร ปี ๒๔๙๐ ........... วันแรกย่างเหยียบเข้าสำนัก เห็นบริเวณร่มรื่น ปฏิปทาของพระภิกษุเคร่งครัดเป็นที่น่าเลื่อมใสศรัทธา หลวงปู่มั่นได้เทศนาสั่งสอนเกี่ยวกับหลักธรรม อาทิศีลนิเทศ ปัญญานิเทศ พละ ๕ อิทธิบาท ๔ ให้แก่หลวงปู่ชาและศิษย์จนเป็นที่พอหายสงสัย.............. สิ่งที่น่าสังเกตคือหลวงปู่มั่นไม่มีความคิดที่จะให้หลวงพ่อชาแปลงนิกายเป็นธรรมยุติกาย ท่านให้ข้อชี้แจ้งเป็นปรัชญาคมคายว่าในความเป็นภิกษุที่แท้จริงไม่ได้มีนิกาย ทั้งหมดคือพระสงฆ์สาวกของพระพุทธองค์ ........... ดังคำกล่าวของหลวงปู่มั่นต่อหลวงพ่อชาว่า “ ไม่ต้องสงสัยนิกายทั้งสอง ” หลังจากฟังเทศน์จากหลวงปู่มั่น หลวงพ่อชามีจิตอิ่มเอิบ เป็นสมาธิ และได้ยึดคำสอนปฏิปทาของท่านไว้เป็นแนวปฏิบัติต่อไป ดังคำที่ว่า“ ทำตนให้ตั้งอยู่ในคุณอันสมควรเสียก่อน แล้วจึงสอนคนอื่นทีหลัง จึงจักไม่เป็นบัณฑิตสกปรก ” ............. ดังนั้นไม่ว่าจะทำกิจวัตรอันใด เช่น กวาดวัด จัดที่ฉันล้างบาตร นั่งสมาธิ ตักน้ำ ทำวัตร สวดมนต์ เดินจงกรม ในระหว่างวันพระถือเนสัชชิไม่นอนตลอดคืน หลวงปู่ชาจะลงมือทำเป็นตัวอย่างของศิษย์โดยถือหลักว่า “ สอนคนด้วยการทำให้ดู ทำเหมือนพูด พูดเหมือนทำ ” ดังนั้นศิษย์และญาติโยมจึงเกิดความเลื่อมใสเคารพยำเกรงในปฏิปทาที่หลวงพ่อดำเนินอยู่
หลวงปู่ชาในระยะแรกของการมาอยู่ป่าพงค่อนข้างลำบาก ........... ชาวบ้าน ญาติโยมผู้ศรัทธาเข้ามาสร้างวัดเป็นกระท่อมเล็ก ๆ ให้ได้อาศัย ไข้ป่าชุกชุม เพราะเป็นป่าทึบ เมื่อเจ็บป่วยยารักษาก็หายาก โยมอุปัฏฐากยังน้อย อาหารการกินฝืดเคือง แต่กระนั้นหลวงปู่ก็ไม่เคยออกปากของญาติโยม ปล่อยให้ผู้พบเห็นพิจารณาด้วยตนเอง เดือนต่อมาเกิดสำนักชีขึ้นที่วัดเพื่อสนองคุณต่อโยมมารดาให้ได้ปฏิบัติธรรม โยมแม่พิมพ์จึงเป็นแม่ชีคนแรกของวัดหนองป่าพง และมีแม่ชีติดต่อกันมาถึงปัจจุบันเป็นจำนวนมากและทางวัดมีการแบ่งเขตสงฆ์เขตชีไว้เรียบร้อยไม่ก้าวกายปะปนกัน
หลวงปู่ชาได้พัฒนาวัดหนองป่าพง จนได้รับอนุญาตให้สร้างในปี ๒๕๑๓ .........ปี ๒๕๑๖ หลวงพ่อได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองป่าพงและได้รับสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ “ พระโพธิญาณเถร ” ปี ๒๕๑๙ สิ้นเงิน ๕ ล้านบาท ปี ๒๕๒๐ ได้เดินทางไปประกาศสัจธรรมในภาคพื้นยุโรปเป็นครั้งแรกปี ๒๕๒๒ ได้เดินทางไปอังกฤษ อเมริกา คานาดา เพื่อประกาศสัจธรรม เป็นครั้งที่ ๒
หลวงปู่ชา นับเป็นนักปฏิบัติธรรมที่ติดดินที่สุด ..........ท่านสอนจากธรรมชาติที่ต่ำ ที่สุดเพื่อให้เกิดสิ่งที่สุดคือมรรคผล โดยมีคนเปรียบเทียบแง่มุมนี้ว่าคล้ายกับแนว คำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุ แต่จุดเด่นอันหนึ่งของแนวคำสอนของหลวงปู่ชาก็คือ "การเปรียบเทียบ" ท่านหาเรื่องมาเปรียบเทียบเพื่ออธิบายคำสอนของท่านได้อย่างเหมาะเจาะและเข้าใจง่าย ดังข้อเปรียบเทียบต่อไปนี้.-
มะม่วง ถ้าพูดให้สั้นเข้ามา........... ศีลก็ดี สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดี มันก็เป็นอันเดียวกัน........... ศีลก็คือ สมาธิ สมาธิ ก็คือศีล.......... สมาธิก็คือ ปัญญา ปัญญาก็คือสมาธิ......... ก็เหมือนมะม่วงใบเดียวกัน ..........เมื่อมันเป็นดอกขึ้นมามันก็ดอกมะม่วง ............. เมื่อเป็นลูกเล็กก็เรียกว่าผลมะม่วง ..........เมื่อมันโตขึ้นมา ก็เรียกมะม่วงลูกโต ..........มันโตขึ้นไปอีกก็เรียกมะม่วงห่าม ..........เมื่อมันสุกก็คือมะม่วงสุก .........มันก็มะม่วงลูกเดียวกันนั่นแหละ
มันเปลี่ยนไป มันจะโตมันก็โตไปหาเล็ก ........... เมื่อมันเล็กมันก็เล็กไปหาโต
มีด สมถกับวิปัสสนา มันแยกกันไม่ได้หรอก ......... มันจะแยกกันได้ก็แต่คำพูด .......... เหมือนกับมีดเล่มหนึ่งนะ ......... คมมันก็อยู่ข้างหนึ่ง สันมันก็อยู่ข้างหนึ่งนั่นแหละ มันแยกกันไม่ได้หรอก........ ถ้าเราจับด้ามมันขึ้นมาอันเดียวเท่านั้น มันก็ติดมาทั้งคมทั้งสันนั่นแหละ
งู มนุษย์เราทั้งหลายไม่ต้องการทุกข์ ต้องการแต่สุข ..........ความจริงสุขนั้นก็คือทุกข์อย่างละเอียด ............ เช่นเดียวกับทุกข์ก็คือ ทุกข์อย่างหยาบ ......... พูดอย่างง่ายๆ สุขและทุกข์ก็เปรียบเสมือนงูตัวหนึ่ง ทางหัวมันเป็นทุกข์ ทางหางมันเป็นสุข ...........เพราะถ้าลูบทางหัวมันมีพิษ มันก็กัดเอา ไปจับหางมันก็เหมือนเป็นสุข .......... แต่ถ้าจับไม่วาง มันก็หันกลับมากัดได้ เหมือนกัน ........... เพราะทั้งหัวงูและหางงู มันก็อยู่ในงูตัวเดียวกัน ........... เช่นเดียวกับสุขและทุกข์ ซึ่งเป็นสิ่งเดียวกัน
หลวงปู่ชาอาพาธ ปี ๒๕๒๕ เป็นโรคเกี่ยวกับสมอง......... มีอาการเวียนศีรษะความจำเสื่อม จนต้องผ่าตัดสมอง และถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๓๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๓๖
คำสอนหลวงปู่ชา
การไม่กระทำบาปนั้นมันเลิศที่สุด บางคนบางคราว โจรมันก็ให้ได้ มันก็แจกได้ แต่ว่าจะพยายามสอนให้มันหยุดเป็นโจรนั้นน่ะ มันยากที่สุด การจะละความชั่วไม่กระทำผิดมันยาก การทำบุญ โจรมันก็ทำได้ มันเป็นปลายเหตุ การไม่กระทำบาปทั้งหลายทั้งปวงนั้นน่ะ เป็นต้นเหตุ"
เธอจงระวังความคิดของเธอ ......... เพราะความคิดของเธอ จะกลายเป็นความประพฤติของเธอ
เธอจงระวังความประพฤติของเธอ......... เพราะความประพฤติของเธอ จะกลายเป็นความเคยชินของเธอ
เธอจงระวังความเคยชินของเธอ .......... เพราะความเคยชินของเธอ จะกลายเป็นอุปนิสัยของเธอ
เธอจงระวังอุปนิสัยของเธอ ........... เพราะอุปนิสัยของเธอ จะกำหนดชะตากรรมของเธอชั่วชีวิต
การรักษาศีล ต้องอาศัยปัญญามาก่อน แต่เราพูดว่ารักษาศีลก่อน ตั้งศีลก่อน ศีลจะสมบูรณ์อย่างไรนั้น ต้องมีปัญญา ต้องค้นคิดกายของเรา วาจาของเรา พิจารณาหาเหตุผล นี่ตัวปัญญาทั้งนั้น ก่อนที่จะตั้งศีลขึ้นได้ต้องอาศัยปัญญา...ถ้าปัญญากล้าขึ้นก็อบรมสมาธิให้มั่นขึ้นไป เมื่อสมาธิมั่นขึ้นไป ศีลก็สมบูรณ์ขึ้น สมาธิก็กล้าขึ้นอีก เมื่อสมาธิกล้าขึ้น ปัญญาก็กล้ายิ่งขึ้น สามอย่างนี้เป็นไวพจน์ซึ่งกันและกัน
ตามความเป็นจริงแล้ว โลกที่เราอยู่นี้ไม่มีอะไรทำไมใครเลย ........... ไม่มีอะไรจะเป็นที่วิตกวิจารย์เลย ........... ไม่มีอะไรที่น่าจะร้องไห้หรือหัวเราะ ......... เพราะมันเป็นเรื่องอย่างนั้นธรรมดาๆ.........
แต่เราพูดธรรมดาได้ แต่มองไม่เห็นธรรมดา ........... แต่ถ้าเรารู้ธรรมะสม่ำเสมอ ไม่มีอะไรเป็นอะไรแล้ว ......... มันเกิดมันดับของมันอยู่อย่างนั้น เราก็สงบ
ถ้าเราเอาชนะตัวเอง มันก็จะชนะทั้งตัวเองชนะทั้งคนอื่น ............ ชนะทั้งอารมณ์ ชนะทั้งรูป ทั้งเสียง ทั้งกลิ่น ทั้งรส ทั้งโผฎัฐพพะ เป็นอันว่าชนะทั้งหมด
คนที่ไม่รู้จักสุข ไม่รู้จักทุกข์นั้น ก็จะเห็นว่า สุขกับทุกข์นั้นมันคนละระดับ มันคนละราคากัน .......... ถ้าผู้รู้ทั้งหลายแล้ว ท่าน จะเห็นว่า สุขเวทนา กับทุกขเวทนา มันมีราคาเท่าๆ กัน
เมื่อเราเกิดมาแล้วโยม ก็คือเราตายแล้วนั่นเอง .......... ความแก่กับความตายมันก็คืออันเดียวกันนั่นแหละ
.......... เหมือนกับต้นไม้ อันหนึ่งต้น อันหนึ่งปลาย เมื่อมีโคนมันก็มีปลาย เมื่อมีปลายมันก็มีโคน
ไม่มีโคนปลายก็ไม่มี มีปลายก็ต้องมีโคน มีแต่ปลายโคนไม่มีก็ไม่ได้...... มันเป็นอย่างนั้น
อารมณ์นี้ก็เหมือนกับงูเห่าที่มีพิษร้ายนั้น ........... อารมณ์ที่พอใจก็มีพิษมาก .......... อารมณ์ที่ไม่พอใจก็มีพิษมาก .......... มันทำให้จิตใจของเราไม่เป็นเสรี ...... ทำให้จิตใจไขว้เขวจากหลักธรรมของพระพุทธเจ้า
ธรรมของจริงของแท้ที่ทำให้บุคคลเป็นอริยะได้ ........... มิใช่เพียงศึกษาตามตำรา และนึกคิดคาดคะเนเอาเท่านั้น ......... แต่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้นจริงๆ ของจริงจึงจะเป็นของจริงขึ้นมาได้
กลัวอะไร? กลัวตายความตายมันอยู่ที่ไหน? ........ อยู่ที่ตัวเราเอง จะหนีพ้นมันได้ไหม? ...... ไม่พ้น ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ......... ในที่ มืด หรือในที่แจ้ง ก็ตายทั้งนั้น หนีไม่พ้นเลย .......... จะกลัวหรือไม่กลัวก็ไม่มีทางพ้น ........ เมื่อรู้อย่างนี้ ความกลัวไม่รู้หายไปไหน เลยหยุดกลัว ........... เหมือนกับที่เราออกจากที่มืดสู่ที่สว่างนั่นแหละ
คนหลงโลกคือคนหลงอารมณ์ .......... คนหลงอารมณ์คือคนหลงโลก
กินน้อย นอนน้อย พูดน้อย คือนักปฏิบัติ ........ กินมาก นอนมาก พูดมาก คือ คนโง่
การหัวเราะเป็นอาการของคนบ้า ........ การร้องไห้เป็นอาการของทารก ....... ฉะนั้นท่านผู้ถึงสงบ จะไม่หัวเราะไม่ร้องไห้
เมื่อนั่งหลับตาให้ยกความรู้สึกขึ้นเฉพาะลมหายใจ ........... เอาลมหายใจเป็นประธาน น้อมความรู้สึกตามลมหายใจ ........ เราจึงจะรู้ว่าสติมันรวมอยู่ตรงนี้ ความรู้มันจะมารวมอยู่ตรงนี้
การคลุกคลีอยู่กับผู้มีปฏิปทาไม่เสมอกัน ทำให้เกิดความลำบาก .......... ความรู้สึกจะมารวมอยู่ตรงนี้
อารมณ์เราเป็นอย่างนี้ .......... เราจึงจะรู้จักที่รวมแห่งสมาธิ ปล่อยลม-ได้สมาธิ-ปัญญา.......... เรากำหนดลมหายใจเข้าออกอย่างเดียว ........... เราปล่อยลมให้เป็นธรรมชาติ อย่าไปบังคับลมให้มันยาว
อย่าไปบังคับลมให้มันสั้น ปล่อยสภาพลมให้พอดี แล้วดูลมหายใจเข้าออก เมื่อปล่อยอารมณ์ได้
เสียอะไรก็ไม่ได้ยิน ............ ถ้าจิตเราวุ่นวายกับสิ่งต่างๆ ไม่ยอมรวมเข้ามา ก็ต้องสูดลมเข้าไปให้มากที่สุด จนกว่าจะไม่มีที่เก็บ แล้วก็ปล่อย ลมออกให้มากที่สุด ............. จนกว่าลมจะหมดในท้องสัก 3 ครั้งถ้าเรามีสติอย่างนี้ อย่างวันนี้ เข้าสมาธิสัก 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง จิตใจของเรา จะมีความเยือกเย็น ไปตั้งหลายวัน .......... แล้วจิตจะสะอาด เห็นอะไรจะรับพิจารณาทั้งนั้น นี้เรียกว่าผลเกิดจากสมาธิ
สมาธิมีหน้าที่ทำให้สงบ ..........เมื่อจิตเราสงบแล้ว จะมีการสังวร สำรวมด้วยปัญญา เมื่อสำรวมเข้า ละเอียดเข้า มันจะเป็นกำลังช่วยศีลให้บริสุทธิ์ขึ้นมาก แล้วสมาธิก็จะเกิดขึ้นมาก เมื่อสมาธิเต็มที่ก็จะเกิดปัญญา
ทุกข์มีเพราะยึด ทุกข์ยึดเพราะอยาก ......... ทุกข์มากเพราะพลอย ทุกข์น้อยเพราะหยุด ........ ทุกข์หลุดเพราะปล่อย
สุดยอดมากค่ะ โดนไปเต็มๆๆๆ ขอบคุณมากค่ะ
ตอบลบ