ทักทาย

แม่หมอขอแนะนำตัวเองก่อนเลยนะคะ ก็เป็นผู้หญิงธรรมด๊าธรรมดาคนนึง อาจดูเหมือนเป็นสาวมั่นที่ลุ๊คดู เปรี้ยวไปบ้างเล็กน้อย ..... ส่วนใหญ่วันๆ ก็ทำงาน หาเงิน (แล้วก็อยากรวย) ว่างๆก็ใช้เงิน หาเงิน วนเวียนอยู่กับเงิน อยู่กับงาน อยู่กับครอบครัว ชีวิตหมดไปอย่างงี้แหละค่ะทุกๆวัน ..... แล้วมาวันนึงก็ให้รู้สึก เหนื่อยกับชีวิต บางครั้งก็คิดว่า เอ๊ะทำไมคนนั้นต้องทำกับเราอย่าง นี้ คนนี้ต้องทำกับเราอย่างนั้นด้วย รึทำไมน๊าถึงซวยอย่างนี้ และอื่นๆอีกมากมาย .....คราวนี้ก็มาลองคิดดู คิดไปคิดมาก็ให้รู้สึกเหมือนตัวเองไม่ค่อยมีความสุขเท่าไหร่ แต่คงเป็นโชคดีที่ตัวเองเป็นคนชอบอ่าน วันนึงก็เลยลองหยิบหนังสือแนว ธรรมะขึ้นมาอ่าน(กะอ่านเล่นๆ)... แล้วก็เริ่มเห็นจริงในบางเรื่อง ....แล้วก็เริ่มเอามาปรับใช้ในชีวิตจริง ..... สุดท้ายศรัทธาก็เกิดและชีวิตก็มีความสุขขึ้นตามลำดับ ......... แม่หมอคิดว่า คนเราเลือกที่จะมีความสุขได้นะคะ อยู่ที่เราจะเลือกรึเปล่า และกฎแห่งกรรมก็มีจริงค่ะอาจช้าไปบ้าง เร็วไปบ้าง แต่มีจริงแน่นอนค่ะ ..... ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปรัชญา เป็นศาสนาที่เน้นแนวคิด.... บางครั้งเราอาจคิดว่าห่างไกลกับชีวิตประจำ วันของเรา หรือ บางคนอาจคิดว่าวัยยังไม่ถึงยังไม่แก่ซะหน่อย ....แต่ไม่ลองไม่รู้ค่ะ แม่หมอเลยอยากชวนเพื่อนๆให้มาเริ่มศึกษาธรรมะไปพร้อมๆกับแม่หมอ เราจะเดินไปด้วยกันสู่เส้นทางสายธรรมเพื่อความสุขที่เราเลือกจะมีค่



a

วันอังคาร

หลวงตามหาบัว

หลวงตามหาบัวญานสัมปันโน
 วัดป่าบ้านตาด อุดรธานี


หลวงตามหาบัว นามเดิม บัว โลหิตดี เกิดเมื่อ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๕๖.......  ในครอบครัวชาวนาผู้มีอันจะกิน ณ บ้านตาด อุดรธานี ..... วัยหนุ่ม เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของครอบครัว ขยันขันแข็ง ทำงานอะไรทำจริงๆ จังๆ เป็นที่ไว้วางใจของพ่อแม่ในการงานทั้งปวง .....เดิมไม่เคยคิดจะบวช เพราะอยากมีครอบครัว แต่มักมีอุปสรรคให้แคล้วคลาดทุกทีไป เหตุที่บวช เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี พ่อแม่ขอร้องให้บวชตามประเพณีอยู่หลายครั้ง ท่านก็ทำเฉย ๆ ตลอดมา ไม่ตอบรับหรือปฏิเสธแต่อย่างใด ในครั้งสุดท้ายนี้ ด้วยความปรารถนาอย่างแรงกล้า หวังพึ่งใบบุญจากการบวชของลูกให้ได้ ถึงกับทำให้พ่อแม่น้ำตาร่วง ครั้งนี้ท่านรู้สึกสะเทือนใจและเห็นใจพ่อแม่มาก จึงตัดสินใจ และยอมบวชตามประเพณี ในวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ ณ วัดโยธานิมิตร อุดรธานี

หลวงตามหาบัวมีความเคารพพระวินัย ด้วยเดิมมีนิสัยจริงจัง......  จึงบวชเพื่อเอาบุญกุศลจริง ๆ และตั้งใจรักษาสิกขาบทวินัยน้อยใหญ่อย่างเคร่งครัด ในพรรษาแรกท่านได้ตั้งสัจอธิษฐานว่า ในการทำวัตรเช้า-เย็นรวมและการบิณฑบาต จะไม่ให้มีวันใดขาดเลย และท่านก็ทำได้ตามที่ตั้งคำสัตย์ไว้ ...... หลวงตามหาบัวเมื่อเรียนปริยัติ ตั้งแต่นวโกวาท พุทธประวัติ ประวัติพระสาวกอรหันต์ท่านก็เกิดความเชื่อเลื่อมใสขึ้นมา อยากจะเป็นพระอรหันต์ พ้นจากทุกข์ทั้งปวงในชาตินี้อย่างพระสาวกท่านบ้าง  ท่านจึงตั้งสัจจะไว้ว่า จะขอเรียนบาลีให้จบแค่เปรียญ ๓ ประโยคเท่านั้น ส่วนนักธรรมแม้จะไม่จบชั้นก็ไม่เป็นไร จากนั้นจะออกปฏิบัติกรรมฐานโดยถ่ายเดียว จะไม่ยอมศึกษาและสอบประโยคต่อไปเป็นอันขาด  เรียนจบ ท่านสอบได้ทั้งนักธรรมเอก และเปรียญ ๓ ประโยคในปีที่ท่านบวชได้ ๗ พรรษา ณ วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ และสถานที่แห่งนี้เอง เป็นที่แรกที่ท่านได้มีโอกาสพบเห็นท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งต่อมา ได้กลายเป็นพระอาจารย์องค์สำคัญที่สุดในชีวิตของท่าน

หลวงตามหาบัว เมื่อเรียนจบมหาเปรียญแล้ว ท่านจึงเข้ากราบลาพระผู้ใหญ่ และออกปฏิบัติกรรมฐาน......  โดยมุ่งหน้าไปทางป่าเขาแถบจังหวัดนครราชสีมา แล้วเข้าจำพรรษาที่อำเภอจักราช นับเป็นพรรษาที่ ๘ ของการบวช  ท่านเร่งความเพียรตลอดทั้งพรรษา ไม่ทำการงานอื่นใดทั้งนั้น มีแต่ทำสมาธิภาวนา-เดินจงกรมอย่างเดียวทั้งวันทั้งคืน จนจิตได้รับความสงบจากสมาธิธรรม ...... หลวงตามหาบัวได้เดินทางไปขออยู่ศึกษากับท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เมื่อ เดือนพฤษภาคม ๒๔๘๕  เหตุการณ์บังเอิญกุฏิที่พักเพิ่งจะว่างลงพอดี ท่านพระอาจารย์มั่นจึงเมตตารับไว้ และเทศน์สอนตรงกับปัญหาที่เก็บความสงสัยฝังใจมานานให้คลี่คลายไปได้ว่า ดินฟ้าอากาศแร่ธาตุต่างๆ เขาเป็นของเขาเอง เขาไม่ได้เป็นมรรคผลนิพพาน เขาไม่ได้เป็นกิเลส กิเลสจริง ๆ มรรคผลนิพพานจริง ๆ อยู่ที่ใจ หากกำหนดจิตจ่อด้วยสติที่ใจแล้ว จะเห็นความเคลื่อนไหวของทั้งธรรม ทั้งกิเลสในใจ ขณะเดียวกันจะเห็นมรรคผลนิพพานไปโดยลำดับ  ......  จากนั้นท่านพระอาจารย์มั่นเมตตาแนะต่อว่า ธรรมที่เรียนมาถึงขั้นมหาเปรียญมากน้อยเพียงใด ยังไม่สามารถอำนวยประโยชน์ให้ได้ แต่กลับจะเป็นอุปสรรคต่อการภาวนา เพราะอดจะเป็นกังวลและนำธรรมที่เรียนมานั้น มาเทียบเคียงไม่ได้ในขณะที่ทำใจให้สงบ และยังจะกลายเป็นสัญญาอารมณ์คาดคะเนไปที่อื่น จนกลายเป็นคนไม่มีหลักได้ ..... ดังนั้น เพื่อให้สะดวกในเวลาทำความสงบหรือจะใช้ปัญญาคิดค้น ให้ยกธรรมที่เรียนมานั้นขึ้นบูชาไว้ก่อน ต่อเมื่อถึงกาลอันสมควร ธรรมที่เรียนมาทั้งหมด จะวิ่งเข้ามาประสานกันกับด้านปฏิบัติ และกลมกลืนกันได้อย่างสนิท

หลวงตามหาบัวถูกจริตกับการอดอาหาร เพราะทำให้ท่านตัวเบา การภาวนาง่ายสะดวก และจิตใจเจริญขึ้นได้ดี....... จึงมักงดฉันอาหารติดต่อกันเป็นเวลานาน คราวหนึ่งท่านออกวิเวกแถบป่าใกล้หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ชาวบ้านไม่เห็นท่านออกบิณฑบาตนานจนผิดสังเกต ถึงขนาดหัวหน้าหมู่บ้านต้องตีเกราะเรียกประชุมกัน ด้วยลือกันว่า ไม่ใช่ท่านตายแล้วหรือก็เคยมี ...... หลวงตามหาบัวเป็นนักรบธรรม ท่านไม่เห็นแก่การกินการนอนมากไปกว่าผลแห่งการปฏิบัติธรรม ดังนั้นในช่วงบำเพ็ญเพียร สภาพร่างกายของท่าน จึงเป็นที่น่าตกอกตกใจแก่ผู้พบเห็นอย่างมาก ด้วยความมุ่งมั่นจริงจังดังกล่าว ทำให้จิตใจของท่าน ได้หลักสมาธิแน่นหนามั่นคง ท่านทรงภาวะนี้นานถึง ๕ ปี ไม่ขยับก้าวหน้าต่อ ท่านพระอาจารย์มั่นจึงให้อุบายอย่างหนักเพื่อให้ออกพิจารณาทางด้านปัญญา ทั้งทางอสุภะ(ซากศพ) กระทั่งถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งส่วนหยาบ ส่วนกลาง และส่วนละเอียด จนสามารถรู้เรื่องรู้ราว ฆ่ากิเลสตัวนั้นได้ ตัดกิเลสตัวนี้ได้โดยลำดับ ๆ ในช่วงนี้ท่านมีความเพลิดเพลินในความเพียรเพื่อฆ่ากิเลส ชนิดเดินจงกรมไม่รู้จักหยุด ตั้งแต่เช้าหลังจังหันจนกระทั่งปัดกวาดในตอนบ่าย ไม่รู้จักเหน็ดจักเหนื่อย ..... เมือ่พระอาจารย์มั่นได้มรณภาพลง เมื่อ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๒ ณ วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร ยังความเศร้าสลดสังเวชใจแก่ท่านอย่างเต็มที่ ด้วยรู้สึกว่าหมดที่พึ่งทางใจแล้ว จากนั้นท่านพยายามปลีกตัวจากหมู่เพื่อน อยู่ป่าเขาตามลำพัง แต่มุ่งอยู่กับความเพียรตลอด สติแนบแน่นกับจิตเป็นอัตโนมัติด้วยภาวนามยปัญญา

หลวงตามหาบัวได้มุ่งสู่วัดดอยธรรมเจดีย์ และได้บรรลุธรรม .....  (ปัจจุบันอยู่ อ.โคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร) เป็นช่วงพรรษาที่ ๑๖ ของท่าน บนเขาลูกนี้นี่เองของคืนเดือนดับแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ (จันทร์ ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓) เวลา ๕ ทุ่มตรง ท่านได้บรรลุธรรมด้วยความอดทนพากเพียร พยายามอย่างสืบเนื่องตลอดมา นับแต่วันออกปฏิบัติกรรมฐานอย่างเต็มเหนี่ยวรวมเวลา ๙ ปี ..... คืนแห่งความสำเร็จระหว่างกิเลสกับธรรมภายในใจของท่านจึงตัดสินกันลงได้ ด้วยความประจักษ์ใจ หายสงสัยทุกสิ่งทุกอย่างเรื่องภพชาติ เรื่องเกิด แก่ เจ็บ ตาย กิเลสตัณหา อาสวะทุกประเภทได้ขาดกระเด็นออกไปจากใจในคืนวันนั้นเอง

หลวงตามหาบัวยืนยันชาตินี้ ชาติหน้า อดีตชาติ มีจริง........ สภาวะธรรมในใจของท่านขณะนั้น ท่านเคยเล่าให้พระภิกษุในวัดป่าบ้านตาดฟังว่า "เกิดความสลดสังเวชภพชาติแห่งความเป็นมาของตน และเกิดความอัศจรรย์ในพระพุทธเจ้า พระสาวกอรหันต์ที่ท่านหลุดพ้นไปแล้ว ท่านก็เคยเป็นมาอย่างนี้ เราก็เป็นมาอย่างนี้ แต่คราวนี้เป็นความอัศจรรย์ในวาระสุดท้าย ได้ทราบชัดเจนประจักษ์ใจ เพราะตัวพยานก็มีอยู่ภายในจิตนั้นแล้ว แต่ก่อนจิตเคยมีความเกี่ยวข้องพัวพันกับสิ่งใด บัดนี้ไม่มีสิ่งใดจะติดจะพัวพันอีกแล้ว..."

หลวงตามหาบัวได้เทศนาพระเณร-ฆราวาส ซึ่งปรากฏออกมาเป็นเทป-หนังสือจำนวนมาก.........โดยแจกเป็นธรรมทานตลอดมา ไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใด เฉพาะหนังสือธรรมะภาษาไทยมีจำนวนกว่า ๑๐๒ เล่ม ภาษาอังกฤษกว่า ๘ เล่ม เทปเฉพาะที่มีการบันทึกการเทศนามีหลายพันกัณฑ์ .... ท่านแนะสอนธรรมะแก่โยมมารดา และให้บวชปฏิบัติธรรม ด้วยหวังอยากให้รู้เห็นและพบความสุขจากธรรมนี้บ้าง จึงจำเป็นต้องตั้งวัดป่าบ้านตาดขึ้นมา ท่านคอยเอาใจใส่ดูแลโยมมารดาทั้งทางด้านร่างกาย พวกปัจจัย ๔ อาหาร หยูกยา ปัจจัยใช้สอยทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งให้คำแนะนำทางด้านจิตใจด้วยจิตภาวนาอย่างจริงจัง ด้วยระลึกพระคุณ แม้โยมมารดาจะสิ้นไปแล้วก็ตาม ... ฝรั่งชาวพุทธในอังกฤษ มีความสนใจต่อการปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก กราบขออาราธนานิมนต์ให้ท่านเมตตาเดินทางไปโปรด เพื่อบรรยายสอนธรรม ท่านก็เมตตาไปในช่วง ๗-๒๒ มิถุนายน ๒๕๑๗ โดยมีพระชาวอังกฤษและแคนาดา ที่จำพรรษาอยู่ ณ วัดป่าบ้านตาด ติดตามไปด้วย  แต่ด้วยปัญหาเรื่องสุขภาพและวัยชรา ท่านจึงงดเดินทางไปเทศนาตามสถานที่ต่าง ๆ ในต่างประเทศในเวลาต่อมา

หลวงตามหาบัวได้สงเคราะห์โรงพยาบาล หน่วยราชการ โรงเรียน และผู้ด้อยโอกาส ตลอดจนอนุเคราะห์สัตว์ยากไร้ .......ท่านให้ความเอาใจใส่ต่อสถานพยาบาลต่าง ๆ ตลอดมาแบบเงียบๆ จนถึงขณะนี้ท่านได้สงเคราะห์ช่วยเหลือโรงพยาบาลในจังหวัดต่าง ๆ กว่า ๑๐๐ โรง โดยทั้งก่อสร้างตึกอาคารผู้ป่วย สงฆ์อาพาธ ห้องผู้ป่วย ห้องผ่าตัด ตั้งกองทุนศูนย์พิทักษ์ดวงตา กองทุนสงเคราะห์คนพิการ ซื้อที่ดิน บริจาครถยนต์พยาบาล เป็นต้น......  การช่วยเหลือหน่วยราชการ ท่านก็เมตตาให้ตามเหตุผลความจำเป็น ตัวอย่างหน่วยงานที่ท่านช่วยเหลือ เช่น กองกำกับการตำรวจตระเวณชายแดน ๒๔ ค่ายเสณีรณยุทธ์, ตำรวจทางหลวงจังหวัด, สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง, สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท,  สถานีรถไฟจังหวัดอุดรธานี .......  ท่านเมตตาช่วยด้านอาคารเรียน วัสดุอุปกรณ์ต่าง สื่อการเรียนการสอน และอื่น ๆ ตัวอย่างโรงเรียน ได้แก่ ร.ร.สตรีราชินูทิศ ร.ร.บ้านตาด ร.ร.อุดรธรรมานุสรณ์ ร.ร.หนองแสงวิทยาเป็นต้น ........ท่านยังได้สงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส ตัวอย่างเช่น สถานสงเคราะห์เด็กพิการทางสมองและปัญญา ปากเกร็ด ๆ เช่น บุคคลปัญญาอ่อนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, เด็กหญิงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ..... ท่านยังได้ช่วยทัณฑสถานหญิง กรมราชทัณฑ์ บางเขน ท่านอนุเคราะห์ช่วยก่อสร้างเรือนนอน ๑ หลังมูลค่า ๓ ล้านกว่าบาท ตั้งกองทุนยารักษาโรค ๑ ล้านบาท และเคยช่วยเหลือจ่ายค่าจ้างเลี้ยงดูเด็กรายเดือนอยู่หลายปี ...... ท่านอนุเคราะห์สัตว์ป่าในวัดอย่างทั่วถึงตลอดมา โดยเข้มงวดกับพระเณรให้ดูแลเรื่องอาหาร(กล้วย ข้าวสาร) น้ำ ไม่ให้ขาดตกบกพร่องแก่สัตว์ เช่น ไก่ป่า กระรอก กระจ้อน กระแต กระต่าย ท่านว่าเรามีปากมีท้องมีหิว เขาก็เช่นกันกับเรา เราต้องเมตตาสงสารเขา เขาเกิดมาตามวิบากวาระแห่งกรรม เขาก็มีโอกาสเกิดเป็นมนุษย์เหมือนกับเรา เราเองก็มีโอกาสกระทำผิดพลาดกลายเป็นสัตว์แบบเขาได้ จึงไม่ควรประมาทกัน แต่ให้เห็นใจสงสารกัน ช่วยเหลือสงเคราะห์กันไป ......ท่านยังได้ช่วย ค่าอาหารค่าน้ำ ค่าไฟ บ้านสัตว์พิการ ซอยพระการุณย์ ปากเกร็ด เป็นสถานที่อาศัยของสัตว์พิการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สุนัข มีจำนวนมากหลายร้อยตัวเป็นรายเดือน ๆ ละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท ตั้งแต่ปี ๒๕๓๗ เป็นต้นมา และสถานที่อีกแห่งหนึ่งคือ บ้านสงเคราะห์สุนัข ถ.พุทธมณฑลสาย ๓ มีสุนัขกว่าสองร้อยตัว ท่านช่วยเหลือขยายที่ดินเพิ่มให้ ๒ แปลง และช่วยเหลือค่าอาหาร ยา และอื่น ๆ เป็นรายเดือน ๆ ละ ๓๐,๐๐๐ บาท

หลวงตาบัวช่วยชาติ ........ นับแต่ท่านบำเพ็ญกิจของสมณเพศ อันเป็นกิจสำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนาเรียบร้อยลงแล้ว ท่านก็หันมาให้การสงเคราะห์ด้านธรรมะแก่พระเณร-ฆราวาสมาโดยตลอด ควบคู่ไปกับการบริจาคช่วยเหลือด้านวัตถุสิ่งของ........  ในยามปกติ ท่านก็ให้ความเมตตาสงเคราะห์สังคมชาติบ้านเมือง อยู่อย่างเต็มที่จริงจัง  ท่านกล่าวว่าการช่วยชาติที่แท้จริง ให้ต่างหันมาแก้ไขที่ต้นเหตุ คือ การทรงมรดกธรรมของพระพุทธศาสนา เอาศีลเอาธรรม ความประพฤติดีงาม ด้วยเหตุผลหลักเกณฑ์เข้ามาอุดหนุนจิตใจ จนมีหลักประกันภายในใจ เรียกว่า มีหลักใจ โดยหันกลับมาปรับปรุงตัวเราแต่ละคน ๆ ให้มีความประหยัด ไม่ลืมเนื้อลืมตัว ไม่ฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม ด้วยการอยู่การกินการใช้การสอยการไปการมา โดยให้ดูแบบของพระผู้มีหลักเกณฑ์ภายในใจ เป็นแบบอย่างของความประหยัด ของผู้มีหลักเกณฑ์เหตุผล ให้มีธรรมคอยเหนี่ยวรั้งไว้ในใจไม่ให้ถูกลากจูงด้วยกิเลสตัณหาราคะ ด้วยความโลภโมโทสัน จนเลยเขตเลยแดน เหมือนรถที่มีแต่เหยียบคันเร่ง ไม่เหยียบเบรก ย่อมเป็นภัยอันตรายร้ายแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ในที่สุด หากต่างมีการหันมาอุดหนุนทั้งทางด้านหลักทรัพย์ และหลักใจควบคู่กันไป ปัญหาต่าง ๆ ของชาติย่อมทุเลาเบาบางลงเป็นลำดับ ๆ ไป

หลวงตามหาบัวได้ละสังขารอย่างสงบ ที่กุฏิวัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่๓o มกราคม พศ ๒๕๕๔ เวลาo๓.๕๓ น...... ซึ่งตลอดทั้งวันบริเวณวัดป่าเนืองแน่นไปด้วยประชาชนจากทั่วสารทิศหลั่งไหลเข้ามาเพื่อร่วมรดน้ำศพหลวงตามหาบัว เกจิอาจารย์สายวัดป่าที่ทำคุณประโยชน์ให้แก่บ้านเมืองมากมาย  ท่านมีความเป็นห่วงประเทศชาติ จนวาระสุดท้าย ซึ่งในพินัยกรรมได้ระบุว่า ท่านขอมอบทองคำ12ตันให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อใช้เป็นทุนสำรองเงินตราของฝ่ายบำบัดธนาคารแห่งประเทศไทย

คำสอนของหลวงตามหาบัว


พระผู้มีพระภาคเจ้าท่านแนะนำสั่งสอนไว้ว่า ดูก่อนอานนท์ พระธรรมและพระวินัยนั้นแลจะเป็นศาสดาของเธอทั้งหลายแทนเราตถาคต เมื่อเราล่วงไปแล้ว นี่สำคัญมาก เป็นพระวาจาของพระองค์



ศีล “เป็นรั้วกั้นสองฟากทางไม่ให้ข้ามออกไปตกเหวตกบ่อเป็นอันตราย” ให้อยู่ในกรอบของศีล เรียกว่า “อยู่ในเขตแห่งความปลอดภัย” จากนั้นก็ก้าวเดินทางธรรมคือจิตภาวนา มีสติเป็นสำคัญมาก ทุกๆ ท่านจำให้ดีคำว่าสตินี้เป็นพื้นฐานแห่งการบำเพ็ญธรรมทุกขั้นทุกภูมิ ตั้งแต่พื้นๆที่ฝึกหัดดัดแปลงล้มลุกคลุกคลานนี้จนกระทั่งถึงวิมุติหลุดพ้น จะนอกเหนือไปจากสตินี้ไปไม่ได้เลย เวลาล้มลุกคลุกคลานก็มีสติควบคุมไว้ตลอด จนได้หลักได้เกณฑ์ จิตเข้าสู่ความสงบร่มเย็นด้วยจิตภาวนา โดยมีสติเป็นเครื่องควบคุมเสมอ แล้วจิตก็จะเย็นเข้าไปๆ

การเคลื่อนไหวไปมาแม้นที่สุดการเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา เรื่องสติเป็นเรื่องสำคัญเป็นเรื่องใหญ่โต ในการบำเพ็ญจิตภาวนาของพวกเรา ขอให้มีสติดีๆ เถอะ สมมติว่าเราเริ่มฝึกหัดเบื้องต้น จำต้องอาศัยคำบริกรรมจะเป็นคำใดก็ตามตามแต่จริตนิสัยที่ชอบ เช่นพุทโธ ธัมโม สังโฆ เป็นต้นนะ แล้วให้ยึดคำบริกรรมนั้นเอาไว้กับจิต มีสติควบคุมอยู่กับคำบริกรรมนั้นตลอดไปอย่าให้เผลอไผลไปไหน


อย่าเสียดายความคิดปรุงที่เคยคิดปรุงมาแต่อ้อนแต่ออก ความคิดเหล่านี้ส่วนมากเป็นความคิดของกิเลสตัณหา สร้างขึ้นจากความเผลอสติของเรา ต้องไม่เผลอสติตัดความคิดทั้งหลายนั้นออก เพราะไม่เป็นประโยชน์สาระอันใด นอกจากจะมากวนใจให้หาความสงบร่มเย็นไม่ได้เท่านั้น จึงต้องมีสติให้ดีอย่าเสียดายอารมณ์ใด นอกจากคำบริกรรมของเรา

สำหรับผู้เริ่มต้นที่ยังไม่มีหลัก ให้ถือคำบริกรรม (เช่นพุทโธ ฯลฯ) เป็นหลักใจ แล้วมีเครื่องกำกับอยู่กับคำบริกรรมนั้นอย่าให้เผลอ อย่าเสียดายเวล่ำเวลาไปไหนที่กิเลสมันฉุดลากออกไปด้วยความอยากคิดเรื่องนั้นอยากปรุงเรื่องนี้ นี่เป็นจิตที่มีแต่กิเลสฉุดลากออกนอกลู่นอกทางแห่งคำบริกรรมของเรา อย่าให้มันคิดออกไปได้ เราจะตั้งภาวนาเพื่อให้ได้หลักของจิตใจเกี่ยวกับจิตภาวนา

ตั้งสติกำกับบริกรรมนี้ให้ดี อย่าให้เผลอ หากว่าเราจะมีการเคลื่อนไหวไปมาทางใด เคลื่อนออกจากจากนี้ไป ก็ให้มีสัมปชัญญะติดแนบอยู่ด้วย รู้ตัวด้วยความเคลื่อนไหวของตน เพื่อสมบัติของจิตจะได้ปรากฏเด่นชัดขึ้นมา ตั้งแต่สมาธิสมบัติหรือสมถะสมบัติจากนั้นก้าวออกทางด้านปัญญา เมื่อจิตของเรามีความสงบร่มเย็นแล้วย่อมอิ่มอารมณ์ อารมณ์ที่อยากคิดสิ่งนั้นอยากคิดสิ่งนี้จะจางไป เพราะนั่นเป็นอารมณ์ของกิเลส กิเลสทำงานสร้างแต่ความมัวหมองมืดตื้อเข้ามาสู่ใจ

ธรรมทำงานคือคำบริกรรม มีสติกำกับรักษานี่เรียกว่างานของธรรมนี้แลจะทำจิตใจของเราให้มีความสงบเป็นลำดับ เมื่อมีสติรักษาอยู่ตลอดแล้วจะไม่มีภัยใดๆ เกิดขึ้นภายในใจเลย จิตของเราจะมีความสงบแน่วแน่ขึ้น

สำหรับผู้ที่เริ่มใหม่ๆ ตั้งรากฐานใหม่ๆ เราตั้งฐานความมีสติไม่ปราศจากคำบริกรรม สำหรับผู้ที่มีรากฐานแล้วเช่นจิตเป็นสมาธิ ความรู้ก็ให้ติดอยู่กับสมาธิ ความสงบแน่นหนามั่นคงของใจ ไม่เสียดายอารมณ์ที่คิดปรุงแต่งต่างๆ เมื่อสมาธิแน่นหนาแล้วความคิดปรุงแต่งจะไม่เข้ามารบกวนจิตใจ มิหนำซ้ำผู้มีสมาธิจิตมั่นคงจริงๆ ความคิดปรุงแต่งเป็นเรื่องรำคาญ

อยู่เอกจิต เอกธรรม เรียกว่า “เอกคตารมณ์”แน่วอยู่ด้วยสมาธิอย่างนี้เรียกว่าจิตอิ่มตัว เช่นนี้แล้วให้แยกออกจากจิตคือแยกออกจากสมาธิ พิจารณาทางด้านปัญญา ด้านปัญญานี้ “เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ” (ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง) นี้เป็นได้ทั้งอารมณ์สมถะที่เราบริกรรมเพื่อความสงบใจ เป็นได้ทั้งอารมณ์วิปัสสนาคือเราคลี่คลาย ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อเหล่านี้จนกระทั่งเห็นกระดูก ตับ ไต ไส้ พุง ไปหมด คลี่คลายออกตามสัดส่วนที่มีอยู่ในร่างกายของเรา


จงใช้ปัญญาพิจารณาเช่นเกศาเอาแยกเข้าไปหาโลมา นขา ทันตา ตโจ เรียงลำดับหรือไม่เรียงลำดับก็ไม่สำคัญ ขอให้มีสติติดแนบกับอารมณ์ที่เราชอบใจ เช่นหนังหรือเนื้อ เอ้า ! พิจารณาเข้าไปแล้วมันจะเหมือนไฟดับเชื้อ จะค่อยๆ ลุกลามเข้าไปหาเอ็น กระดูก ตับไตไส้พุง อาหารเก่า อาหารใหม่ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นส้วมซึ่งเป็นฐานของสัตว์ บุคคล ของเขาของเราแต่ละคน มันยึดส้วม (ร่างกาย) ยึดเป็นฐานเป็นสาระ เมื่อมันไม่รู้มันก็ยึด

ทีนี้ให้แยกออกดูสภาพแห่งส้วม (ร่างกาย) แห่งฐานนี้ มันมีสาระอะไรบ้างให้พิจารณา จะพิจารณาผมก็ได้ ขน เล็บ ฟัน หนัง ตามแต่จริตนิสัยชอบ แยกเข้าไปแยกเข้าไป จนถึงเนื้อ เอ็นกระดูก ตับไตไส้พุง จากนั้นให้แยกออกกระจัดกระจายให้เป็นสัดส่วน ให้เป็นของปฏิกูล โสโครกเน่าเฟะไปหมดทั้งร่าง เอาประกอบกันเข้ามาตั้งเป็นหญิงเป็นชาย เอาสวยงามตั้งขึ้นเมื่อไหร่ให้ อสุภะอสุภัง ตีมันแหลกลงไป เมื่อตั้งสวยงามเมื่อไหร่ ตีให้แหลกกระจัดกระจายไปเรื่อยๆ นี่เรียกว่า ปัญญาชำนาญ ให้ใช้ปัญญาเมื่อจิตอิ่มอารมณ์ คือ มีสมาธิแล้วอย่าอยู่กับสมาธิ

สมาธินั้นไม่ใช่ธรรมแก้กิเลส เป็นเพียงว่าธรรมเพื่อทำกิเลสให้สงบด้วยสมาธิ จิตที่ปรุงต่างๆ จึงไม่ค่อยมีสำหรับผู้มีสมาธิ นั้นแหละจิตอิ่มตัว ให้เอาจิตอิ่มตัวนี้ออกพิจารณาเรื่องธาตุ เรื่องขันธ์ เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ เข้าไปถึงอาการสามสิบสอง ทุกสัดทุกส่วน เดินกรรมฐานอยู่ในร่างกายของเรานี้ขึ้นๆ ลงๆ หลายครั้งหลายหน จนมีความชำนาญ เมื่อพิจารณาร่างกายนี้จนมีความชำนาญแล้ว มันจะรู้อย่างรวดเร็ว มองดูอะไรนี่ทะลุไปหมด


สมมุติว่าเราอยู่ในขั้นพิจารณาจิตเราถึงเนื้อนี่ มองไปที่คนอื่นจะเห็นเนื้อเขาแดงโล่ พิจารณาเข้าไปก็ยิ่งเห็นชัดเจน หรือพิจารณากระดูกแล้วเมื่อดูคนอื่นๆ ก็จะเห็นแต่กระดูกเต็มตัว มองไปเห็นเด่นชัดภายในปัญญาของเรา (มีเรื่องเล่าว่า มีพระภิกษุรูปหนึ่งท่านพิจารณาเรื่องกระดูกได้ชัดเจนมาก อยู่มาวันหนึ่งมีผู้ชายคนหนึ่งเดินมาถามหาคนรักของตนกับพระภิกษุรูปนี้ซึ่งยืนอยู่ทางเดินว่า “ท่านเห็นผู้หญิงคนหนึ่งผ่านมาทางนี้หรือไม่” พระภิกษุว่า “ไม่เห็น...เห็นแต่กระดูกเดินผ่านไป”)

สัตว์ บุคคลที่กิเลสมันรวบรัดเอาไว้ ประดับประดาตกแต่งเอาผิวบางๆมาหลอกลวงว่าเป็นของสวยของงาม นอกจากนั้นก็เอาสิ่งภายนอกมาตกแต่งประดับประดาด้วยเสื้อผ้าอาภรณ์ เครื่องประดับ ให้ลืมส้วมภายใน ให้ลืมของสกปรกอยู่ในตัวของเราภายใน เพราะสิ่งภายนอกมาอำพราง กิเลสมาพรางตาให้คนตาฝ้าตาฟางอย่างเราหลงเห็นว่าสวยเห็นว่างาม

ในร่างกายของเขาของเราน่ะต้องทำความสะอาดสะอ้าน เสื้อผ้าใส่แล้วต้องเอาไปซัก เพราะตัวศพดิบ(ร่างกาย)นี้เป็นตัวสกปรกมาแปดเปื้อน ไม่อย่างนั้นเหม็นคุ้งไปหมด กิเลสมาพอกพูนหลอกลวงสัตว์โลกว่าเป็นของสวยของงามคือศพดิบเรานี่แหละ แยกออกให้ดีนี่คือปัญญา


เมื่อพิจารณาจิตใจของเรา พิจารณาทางด้านปัญญามันมักจะเพลิน เพลิดเพลินไปมันจะพิจารณาไม่หยุด ไม่ถอย ให้ยับยั้งเข้าสู่สมาธิ เวลาจิตใจอ่อนเพลียมันเร่งความเพียรของมันโดยทางปัญญา คือมันจะหมุนของมันไปเรื่อยๆๆๆ พอได้เหตุได้ผลในการถอดถอนกิเลส จากสิ่งเหล่านี้แล้วมันจะเพลินตัวของมัน ถ้ามันเพลินตัวมันจะรู้สึกมีความเหนื่อยภายในร่างกายของเรา เฉพาะอย่างยิ่งในหัวอกจะเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าภายในท่ามกลางหัวใจเรานั่นแล ให้ย้อนจิตที่มันกำลังเพลินในการพิจารณานั้นเข้าสู่สมาธิเสีย

เข้าสู่สมาธินี่คือการพักนะ” งานของเราคืองานพินิจพิจารณา อสุภะ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตาอยู่ในร่างกายนี้ เมื่อมันเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าแล้วให้ย้อนเข้ามาพักในสมาธิ แต่จิตจะเพลินไม่อยากจะเข้าพักในสมาธิ แต่ก่อนถือสมาธิเป็นสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ให้ความสุข ความสบาย แต่เวลาก้าวออกทางปัญญาแล้วสมาธินี่เหมือนหนึ่งว่าจะหมดคุณค่าไป ความจริงมีคุณค่าอยู่ในนั้นเมื่อเวลาเราพิจารณาเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ามากๆ แล้ว จิตจะไม่อยากอยู่ในสมาธิ มันเพลินทางด้านปัญญามันจะพุ่งออกทางด้านปัญญา เวลาเราจะให้พักจะต้องหักจิตเข้ามา ถึงแม้มันจะเพลินในการพิจารณาในด้านปัญญาขนาดไหน เวลานั้นมันเหนื่อยเมื่อยล้า ควรพักให้ย้อนเข้ามาสู่สมาธิ ทำสมาธิให้สงบตามเดิม

เมื่อจิตมันเพลินทางด้านปัญญาแล้วส่วนมากจิตมันยังไม่อยากเข้าสมาธิ เมื่อมันไม่เข้าสมาธิจริงๆ เอาคำบริกรรมติดเข้าไปคือให้มันอยู่ในอารมณ์เดียว ถ้าออกจากนี้ปั๊บมันจะพุ่งออกด้านปัญญา เพราะฉะนั้นจึงให้ยับยั้งเข้ามาสู่สมาธิด้วยคำบริกรรม เช่นพุทโธ หรือคำบริกรรมใด ที่เราเคยสนิทติดกับจริตนิสัยของเรา ให้สติจ่ออยู่กับคำบริกรรมอย่างเดียว แล้วจิตก็จะค่อยสงบแน่วลงสู่สมาธิ เมื่อเข้าสู่สมาธิแล้วหยุด การพินิจพิจารณาสิ่งใดทั้งหมดให้พักทั้งหมด เรื่องทางปัญญาที่แยกขันธ์ แยกเขาแยกเราแยกทุกส่วนนั้นเป็นเรื่องของปัญญาจะพักหมด จิตเข้าสู่สมาธิเพื่อพักเอากำลัง

ตอนที่จิตอยู่ในสมาธิและยังไม่ได้ก้าวออกทางด้านปัญญา สมาธินี่แน่นหนา มั่นคงเหมือนหิน แต่พอจิตได้ก้าวออกทางด้านปัญญาแล้ว ปัญญาจะทำให้เพลินในการพิจารณาแก้ไขถอดถอนกิเลส ดีไม่ดีมันจะตำหนิสมาธิว่านอนตายเฉยๆ ไม่ได้แก้กิเลส ปัญญาต่างหากที่แก้กิเลสโดยที่มันจะเพลินทางแก้กิเลสโดยไม่คำนึงถึงการพักผ่อนหย่อนตัวในทางสมาธิเลย เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องหักเข้ามาสู่สมาธิ พอเข้าสู่สมาธิแล้วจิตจะแน่ว นั่นหละตอนนี้เหมือนถอนเสี้ยนถอนหนาม สบาย “เบาหมดเลย” นี่จึงเรียกว่าพักจิตพักแบบมีสติกำกับ

กำลังทางด้านปัญญามันรุนแรง พอพักสมาธิได้กำลังวังชาแล้ว ถ้าเราเบามือทางสติกับสมาธิหน่อยนึงมันจะพุ่งเข้าทางปัญญาเลย เวลาพิจารณาทางด้านปัญญาไม่ให้มาสนใจกับสมาธิให้ทำงานทางด้านปัญญาโดยถ่ายเดียว พิาจรณาให้เต็มเม็ดเต็มหน่วย เมื่อเหน็ดเหนื่อยทางด้านปัญญาแล้วให้ถอนจิตเข้ามาสู่สมาธิเพื่อพักเครื่องพักจิต อย่าไปสนใจกับทางปัญญา เวลาเข้าสู่สมาธิให้ทำหน้าที่พักโดยตรง บังคับเอาไว้ให้เข้าพักนี่เรียกว่า อปัณณกปฏิทา


เวลาจิตทำงาน (ออกสู่ปัญญา) ให้ทำจริงๆ แต่เวลาจิตเมื่อยล้าคือปัญญาพิจารณาเต็มสัดเต็มส่วนแล้ว ให้ย้อนเข้ามาพักผ่อนจะเป็นสมาธิก็ได้ จะพักโดยนอนหลับก็ได้ ในเวลาเมื่อจิตสงบแล้วนอนหลับสบาย แต่เวลาได้เพลินทางปัญญามันไม่หลับนะตลอดรุ่งมันก็ไม่หลับ มันจะติดเพลินทางปัญญาจึงต้องหักจิตมาสู่สมาธิ เมื่อจิตเข้าสู่สมาธิหักลงไปเข้าพักใจนอนหลับก็ได้

ปัญญานี้เป็นตัวฟาดฟันกามราคะที่มันมีหนาแน่นในใจ ซึ่งไม่มีอะไรไปแตะต้องมันได้ จึงต้องเอาปัญญาฟาดเข้าไปสู่ ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ตับ ไต ไส้ พุง ให้แตกกระจัดกระจายออกไปเป็นชิ้นนั้นชิ้นนี้ มีแต่ความสกปรกโสมมเต็มเนื้อเต็มตัว ความรักความชอบว่าสวยว่างามมันก็จางไป สุดท้ายความสวยงามไม่มีในกายของคนเรา

ป่าช้าผีดิบ (ร่างกาย) อยู่ที่นี่หมด นี่ปัญญาก็สอดเข้าไปรู้ ตัณหาราคะจะเบาลง ทีนี้เวลาพิจารณาอสุภะมากเท่าไหร่ราคะตัณหาเบาแทบไม่ปรากฏ บางทีไม่ปรากฏเลย ต้องได้ทดลองดูหลายแบบหลายฉบับ เช่นเราเดินเข้าไปในกลุ่มหญิงสาวๆ สวยๆ นะ ทางด้านสติปัญญาของเรามันจะพิจารณาผ่านอสุภะ หญิงสวยๆ งามๆ จะไม่มีคำว่าสวยว่างาม อสุภะนี่จะตีแตกกระจัดกระจายผ่านเข้าไปในคนๆ นั้น จะไม่มีกำหนัด นี่คือสติปัญญาพิจารณาทางอสุภะซึ่งแก่กล้าสามารถแล้ว อสุภะมันเตะทีเดียวขาดสะบั้นเลย มันเลยหาความสวยความงามจากผู้หญิงสาวสวยไม่ได้ ราคะตัณหาเกิดไม่ได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

-