หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ
วัดดอยธรรมเจดีย์ ต.ตองโขบ อ.ศรีสุพรรณ จ.สกลนคร
" เราจะกลัวเสือหรือกลัวกิเลส กิเลสมันทำให้เราตาย นับภพนับชาติไม่ถ้วน เสือตัวนี้ มันทำให้เราตายได้หนเดียว" ธรรมบรรยายจาก "หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ" แห่งวัดดอยธรรมเจดีย์ ต.ตองโขบ อ.ศรีสุพรรณ จ.สกลนคร พระป่าสายกัมมัฏฐานชื่อดัง......... หลวงปู่กงมา ในอดีตท่านเคยเป็นนายฮ้อย ขายควาย แล้วเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา เป็นพระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่ ในศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านเป็นพระสุปฏิปันโน ได้เที่ยวธุดงค์เกือบทั่วทุกภาคของประเทศไทย และสร้างวัดปฏิบัติไว้เป็นจำนวนมาก
หลวงปู่กงมา มีนามเดิมว่า กงมา วงศ์เครือสอน เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2443 ........ ณ บ้านโคก ต.ตองโขบ อ.ศรีสุพรรณ จ.สกลนคร โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายบู่ และนางนวล วงศ์เครือสอน........ ในช่วงวัยหนุ่ม ได้ทำหน้าที่เป็นนายฮ้อย ต้อนวัวควายไปขายตามจังหวัดใกล้เคียง เมื่อถึงกาลอันควร ได้แต่งงานเมื่ออายุได้ 25 ปี ต่อมาภรรยาและบุตรในครรภ์ได้เสียชีวิตลง ทำให้ท่านรู้สึกสลดใจ ก่อนตัดสินใจออกบวช โดยมีพระอาจารย์โท เป็นพระอุปัชฌาย์
หลวงปู่กงมาภายหลังบวชได้ไปจำพรรษาที่วัดบึงทวย กับพระมี ซึ่งเป็นเพื่อนกัน แต่อยู่วัดนี้ได้ไม่นาน ด้วยความเบื่อหน่ายไม่ได้ตามที่ประสงค์ ........... ขณะเดียวกัน พระมีได้เล่าถึงเกียรติคุณของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมีผู้ปฏิบัติตามมากมาย ....... ทำให้หลวงปู่กงมา เกิดความสนใจ จึงได้ชักชวนกันไปตามหาหลวงปู่มั่น ครั้นได้พบหลวงปู่มั่น ณ บ้านสามผง ดงพะเนาว์ ทั้งสองได้เข้าไปนมัสการแล้วนั่งฟังธรรม เมื่อท่านแสดงธรรมจบ ได้เข้าไปฝากตัวเป็นศิษย์ และหลวงปู่มั่นก็ได้รับตัวไว้เป็นศิษย์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
หลวงปู่กงมาได้ญัตติเป็นพระธรรมยุติกนิกาย เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2470 .......... ณ วัดบูรพา อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ภายหลังญัตติ ท่านได้ธุดงค์ไปจำพรรษาตามที่ต่างๆ อาทิ พ.ศ. 2472 บ้านหัววัว จ.ยโสธร พ.ศ.2473 บ้านเหล่างา จ.ขอนแก่น พ.ศ. 2474 บ้านทุ่ม อ.เมือง จ.ขอนแก่น ......... หลวงปู่กงมา เป็นผู้หนึ่งที่ได้สร้างวัดไว้ไม่น้อย เป็นต้นว่า พ.ศ. 2476 ท่านได้สร้างวัดสว่างอารมณ์ บ้านใหม่สำโรง อ.สีคิ้ว จ.นคร ราชสีมา และในปี พ.ศ.2480 ชาวบ้านหนองบัว อ.เมือง จ.จันทบุรี ได้สร้างวัดขึ้นใหม่ และนิมนต์ท่านไปจำพรรษา ซึ่งท่านก็รับนิมนต์ .......... ต่อมาชาวบ้านได้พร้อมใจกันสร้างเสนาสนะถวายให้ชื่อว่า วัดทรายงาม และในปี พ.ศ.2482 ท่านได้สร้างวัดเขาน้อย ท่าแฉลบ ตามข้อชี้แนะของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหมื่นวชิรญาณวงศ์ ในปี พ.ศ.2485 ท่านได้อยู่จำพรรษากับหลวงปู่มั่น ได้รับอุบายธรรมและได้รับความเมตตาเป็นพิเศษ สถานที่ปฏิบัติธรรมนั้น เดิมเป็นเพียงสำนักชั่วคราว หลวงปู่กงมาได้สร้างขึ้นใหม่จนเป็นวัดสมบูรณ์ตั้งชื่อว่า "วัดสุทธิธรรมาราม"
หลวงปู่กงมาในช่วงออกพรรษาแล้ว ท่านได้ที่จำพรรษาใหม่ .......... เมื่อหลวงปู่มั่นได้ออกธุดงค์ หลวงปู่กงมา เห็นว่าวัดสุทธิธรรมาราม มีความวิเวกน้อย ไม่เหมาะแก่การอยู่ปฏิบัติธรรมท่านจึงไปแสวงหาที่เหมาะสมกว่า ท่านได้พบถ้ำเสือบนเทือกเขาภูพานเห็นว่า มีความสงบวิเวกดี.......... ดังนั้น ในปี พ.ศ.2489 ท่านได้ขึ้นไปปักกลดที่ปากถ้ำเสือ บนเทือกเขาภูพาน ปฏิบัติธรรมเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ต่อมาจนเสือที่เคยอาศัยอยู่ ณ ถ้ำแห่งนี้ ต้องหลีกทางให้ท่าน อยู่ปฏิบัติเพราะสู้เมตตาธรรมท่านไม่ได้ ........... สถานที่แห่งนี้ต่อมาหลวงปู่กงมาได้สร้างเป็นวัดชื่อ "วัดดอยธรรมเจดีย์" หลวงปู่กงมา เป็นนักต่อสู้ชีวิต ต่อสู้กับกิเลส เมื่อยังเป็นฆราวาส ก็เป็นฆราวาสที่มีคุณภาพ มีประสบการณ์ มีคุณธรรม เมื่อพบเคราะห์กรรม ก็รู้จักเลือกสรรสาระให้กับชีวิต ถือเป็นเพศบรรพชิตที่น่าเคารพนับถือ ทั้งในคราบของพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกายและธรรมยุต ได้ทุ่มเทชีวิตให้กับการประพฤติปฏิบัติจนมีความประพฤติดี ปฏิบัติชอบ .......... ซึ่งมีพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ศรัทธาเลื่อมใสในปฏิปทา ทำให้เกิดวัดอันเป็นสถานปฏิบัติธรรมขึ้น ในวงของพุทธศาสนามากมาย เกิดมีผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบตามหลักโอวาท ของท่านสืบมาจนถึงทุกวันนี้โดยไม่ขาดสาย
หลวงปู่กงมา ได้มรณภาพลงด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2505 สิริอายุ 61 ปี 11 เดือน 11 วัน...... ท่าม กลางความเศร้าสลดอาลัยของบรรดาคณะสงฆ์ คณะศิษยานุศิษย์ และพุทธศาสนิก ชนทั่วไปเป็นอันมาก ทั้งนี้ ได้มีการถวายเพลิงศพท่านในวันที่ 3 มีนาคม 2506 ณ วัดดอยธรรมเจดีย์ เทือกเขาภูพาน จ.สกลนคร
หลวงปู่กงมาก่อนจะมรณภาพได้พยากรณ์เรื่องการมรณภาพของตัวท่านเองให้ศิษย์ฟังล่วงหน้านานแล้ว ว่า ........... ท่านจะมรณภาพด้วยรถ และก็เป็นเช่นนั้นจริง คือ ท่านประสบอุบัติเหตุรถคว่ำ ขณะเดินทางไปงานนิมนต์แห่งหนึ่ง ที่จังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2505 ภายหลังจากถวายเพลิงศพแล้ว ได้ยินว่าอัฐิธาตุของท่านเป็นพระธาตุมากมาย หลากสี หลากวรรณะ เป็นที่น่าอัศจรรย์
คำสอนหลวงปู่กงมา
หลวงปุ่กงมาได้ถือเป็นแนวทางปฏิบัติและสอนธรรม เป็นหลักธรรมที่หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโตได้วางเอาไว้ ซึ่งหลวงปู่กงมาก็จดจำได้อย่างขึ้นใจคือธรรม ๑๑ ประการ อันได้แก่
๑.การปฏิบัติทางใจ ต้องถือการถ่ายถอนอุปาทานเป็นหลัก
๒.การถ่ายถอนนั้น ไม่ใช่การถ่ายถอนโดยไม่มีเหตุ ไม่ใช่ทำเฉย ๆ ให้มันถ่ายถอนเอง
๓. เหตุแห่งการถ่ายถอนนั้น ต้องสมเหตุสมผล เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตํ ตถาคโต เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํ วาที มหาสมโณ ธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุ ธรรมทั้งหลายดับไปเพราะเหตุ พระมหาสมณะมีปกติตรัสอย่างนี้
๔. เพื่อให้เข้าใจว่า การถ่ายถอนอุปาทานนั้น มิใช่มีเหตุและไม่สมควรแก่เหตุ ต้องสมเหตุสมผล
๕.เหตุได้แก่ สมมติบัญญัติขึ้น แล้วหลงตามอาการนั้น เริ่มต้นด้วยการสมมติตัวของตนก่อน พอหลงตัวของเราแล้ว ก็ไปหลงคนอื่น หลงว่าเราสวยแล้ว จึงไปหลงผู้อื่นว่าสวย เมื่อหลงตัวของตัวและผู้อื่นแล้ว ก็หลงวัตถุข้างนอกจากตัว กลับกลายเป็นราคะ โทสะ โมหะ
๖.แก้เหตุ ต้องพิจารณากรรมฐาน ๕ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ด้วยสามารถแห่งกำลังของสมาธิ เมื่อสมาธิชั้นต่ำ การพิจารณาก็เป็นญาณชั้นต่ำ เมื่อเป็นสมาธิชั้นสูง การพิจารณาก็เป็นญาณชั้นสูง แต่อยู่ในกรรมฐาน ๕
๗.การสมเหตุสมผล คือคันที่ไหนก็ต้องเกาที่นั่นจึงจะหายคัน คนติดกรรมฐาน ๕ หมายถึงหลงหนังเป็นที่สุด เรียกว่าหลงกันตรงนี้ ถ้าไม่มีหนังคงจะวิ่งกันแทบตาย เมื่อหลงกันที่นี่ ก็ต้องแก้กันที่นี่ คือเมื่อกำลังสมาธิพอแล้ว พิจารณาก็เห็นความจริง เกิดความเบื่อหน่าย เป็นวิปัสสนาญาณ
๘. เป็นการเดินตามอริยสัจ เพราะเป็นการพิจารณาตัวทุกข์ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า ชาติปิทุกข์ ชราปิทุกข์ พยาธิปิทุกข์ มรณัมปิทุกข์ ใครเกิด ใครแก่ ใครเจ็บ ใครตาย กรรมฐาน ๕ เป็นต้น ปฏิสนธิเกิดมาแล้ว แก่แล้วตายแล้วจึงได้ชื่อว่า พิจารณากรรมฐาน ๕ อันเป็นทางพ้นทุกข์ เพราะพิจารณาตัวทุกข์จริง ๆ
๙. ทุกขสมุทัย เหตุเกิดทุกข์ เพราะมาหลงกรรมฐาน ๕ ยึดมั่นจึงเป็นทุกข์ เมื่อพิจารณาละได้ เพราะเห็นตามความเป็นจริง สมคำว่า รูปสฺสมึปิ นิพฺพินฺทติ เวทนายปิ นิพฺพินฺทติ สญฺญายปิ นิพฺพินฺทติ สงฺขาเรปิ นิพฺพินฺทติ วิญฺญาณสฺสมึปิ นิพฺพินฺทติ เมื่อเบื่อหน่ายในรูป (กรรมฐาน ๕) เป็นต้น แล้วก็คลายความกำหนัด เมื่อเราพ้น เราก็ต้องมีญาณทราบชัด ว่าเราพ้น
๑๐. ทุกขนิโรธ ดับทุกข์ เมื่อเห็นกรรมฐาน ๕ เบื่อหน่ายได้จริง ชื่อว่า ดับอุปาทานความยึดมั่นถือมั่น
เช่นเดียวกับ ท่านสามเณรสุมนะ ศิษย์ของท่านอนุราช พอปลงผมหมดศีรษะ ก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์
๑๑.ทุกขคามินีปฏิปทา ทางไปสู่ที่ดับ คือการเป็นปัญญาสัมมาทิฐิ ปัญญาเห็นชอบ เห็นอะไร เห็นอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค การเห็นจริง แจ้ง ประจักษ์ ด้วยสามารถแห่งสัมมาทิฐิ ไม่หลงคติสุข
มีสมาธิเป็นกำลัง พิจารณากรรมฐาน ๕ ก็เป็นองค์มรรค
รูปนี้ไม่ใช่หลวงปู่กงมาครับ ภาพที่นำมาเผยแผ่คือ รูปหลวงปู่อ่อนญาณสิริ
ตอบลบ