ทักทาย

แม่หมอขอแนะนำตัวเองก่อนเลยนะคะ ก็เป็นผู้หญิงธรรมด๊าธรรมดาคนนึง อาจดูเหมือนเป็นสาวมั่นที่ลุ๊คดู เปรี้ยวไปบ้างเล็กน้อย ..... ส่วนใหญ่วันๆ ก็ทำงาน หาเงิน (แล้วก็อยากรวย) ว่างๆก็ใช้เงิน หาเงิน วนเวียนอยู่กับเงิน อยู่กับงาน อยู่กับครอบครัว ชีวิตหมดไปอย่างงี้แหละค่ะทุกๆวัน ..... แล้วมาวันนึงก็ให้รู้สึก เหนื่อยกับชีวิต บางครั้งก็คิดว่า เอ๊ะทำไมคนนั้นต้องทำกับเราอย่าง นี้ คนนี้ต้องทำกับเราอย่างนั้นด้วย รึทำไมน๊าถึงซวยอย่างนี้ และอื่นๆอีกมากมาย .....คราวนี้ก็มาลองคิดดู คิดไปคิดมาก็ให้รู้สึกเหมือนตัวเองไม่ค่อยมีความสุขเท่าไหร่ แต่คงเป็นโชคดีที่ตัวเองเป็นคนชอบอ่าน วันนึงก็เลยลองหยิบหนังสือแนว ธรรมะขึ้นมาอ่าน(กะอ่านเล่นๆ)... แล้วก็เริ่มเห็นจริงในบางเรื่อง ....แล้วก็เริ่มเอามาปรับใช้ในชีวิตจริง ..... สุดท้ายศรัทธาก็เกิดและชีวิตก็มีความสุขขึ้นตามลำดับ ......... แม่หมอคิดว่า คนเราเลือกที่จะมีความสุขได้นะคะ อยู่ที่เราจะเลือกรึเปล่า และกฎแห่งกรรมก็มีจริงค่ะอาจช้าไปบ้าง เร็วไปบ้าง แต่มีจริงแน่นอนค่ะ ..... ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปรัชญา เป็นศาสนาที่เน้นแนวคิด.... บางครั้งเราอาจคิดว่าห่างไกลกับชีวิตประจำ วันของเรา หรือ บางคนอาจคิดว่าวัยยังไม่ถึงยังไม่แก่ซะหน่อย ....แต่ไม่ลองไม่รู้ค่ะ แม่หมอเลยอยากชวนเพื่อนๆให้มาเริ่มศึกษาธรรมะไปพร้อมๆกับแม่หมอ เราจะเดินไปด้วยกันสู่เส้นทางสายธรรมเพื่อความสุขที่เราเลือกจะมีค่



a

วันพุธ

หลวงปู่ดุลย์

 หลวงปู่ดุลย์ อตุโล

 วัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์

หลวงปู่ดุลย์ ถือกำเนิด ณ บ้านปราสาท อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2430......  บิดาของท่านชื่อ นายแดง มารดาชื่อ นางเงิน นามสกุล "ดีมาก ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา 5 คนด้วยกัน พี่น้องของท่านตางพากันดำรงชีวิตไปตามอัตภาพตราบเท่าวัยชรา และได้ถึงแก่กรรมไปก่อนที่จะมีอายุถึง 70 ปีทั้งหมด หลวงปู่ดุลย์ ผู้เดียวที่ครองอัตภาพมาได้ยาวนานถึง 96 ปี .......... ชีวิตของหลวงปู่ดุลย์ เมื่อแรกรุ่นเจริญวัยนั้น ก็ถูกำหนดให้อยู่ในเกฏเกณฑ์ของสังคมสมัยนั้นแม้ท่านจะเป็นลูกคนที่สอง แต่ก็เป็นบุตรชายคนโต ดังนั้นท่านจึงต้องมีภารกิจมากกว่าเป็นธรรมดา โดยต้องทำงานทั้งในบ้านและนอกบ้าน งานในบ้าน เช่น ตักน้ำ ตำข้าว หุงหาอาหาร และเลี้ยงดูน้องๆ ซึ่งมีหลายคน งานนอกบ้าน เช่น เช่วยแบ่งเบาภระของบิดาในการดูแลบำรุงเรือกสวนไร่นาแล้วเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย เป็นต้น

หลวงปู่ดุลย์มีชีวิตสมณะ มุ่งแสวงหาธรรม และปฏิปทา ......... ก่อนออกบวชหลวงปู่เป็นนักแสดงที่มีผู้นิยมชมชอบมากอีกด้วย ถึงกระนั้นหลวงปู่ดุลย์ ก็มิได้หลงไหลในสิ่งเหล่านั้นเลย ตรงกันข้ามท่านกลับมีอุปนิสัยโน้มเอียงไปทางเนกขัมมะ คือ อยากออกบวชจึงพยายามขออนุญาตจากบิดามารดา และท่านผู้มีพระคุณที่มีเมตตาชุบเลี้ยงแต่ก็ถูกท่านเหล่านั้นคัดค้านเรื่อยมา เพราะไม่มีใครช่วยเป็นกำลังสำคัญในครอบครัว........ แต่ในที่สุด บิดามารดาก็ไม่อาจขัดขวางความตั้งใจจริงของท่านได้ ต้องอนุญาตให้บวชได้ตามความปรารถนาที่แน่วแน่ไม่คลอนแคลนของท่าน พร้อมกับมีเสียงสำทับจากบิดาว่าเมื่อบวชแล้วต้องไม่สึกหรืออยางน้อยต้องอยู่จนได้เป็นเจ้าอาวาส  .......  ท่านจึงได้ละฆราวาสวิสัยอย่างเข้าสู่ความเป็นสมณะตั้งแต่ปี พ.ศ. 2452 เมื่อท่านมีอายุได้ 22 ปี โดยมีพวกตระกูลเจ้าของเมืองที่เคยชุบเลี้ยงท่าน เป็นผู้จัดแจงในเรื่องการบวชให้ครบถ้วนทุกอย่าง ท่านได้บรรพชาอุปสมบท ณ  วัดชุมพลสุทธาวาส ในเมืองสุรินทร์
หลวงปู่ดุลย์เมื่อแรกบวช ก็ได้ปฏิบัติกัมมัฏฐานกับหลวงปู่แอกวัดคอโค ......... วิชาที่หลวงปู่แอกสอนให้สมัยนั้น คือ จุดเทียนขึ้นมา 5 เล่ม แล้วนั่งบริกรรมว่า "ขออัญเชิญปีติทั้ง 5 จงมาหาเรา" ดังนี้เท่านั้นแต่หลวงปู่ดุลย์ก็พากเพียรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ด้วยความวิริยะอุตสาหะอย่างแรงกล้า พยายามบริกรรมเรื่อยมาจนครบไตรมาสโดยไม่ลดละ แต่ก็ไม่ปรากฏเห็นผลอันใดแม้เล็กน้อย........ นอกจากนี้ยังได้ฝึกฝนทรมานร่างกายเพื่อเผาผลาญกิเลส ด้วยความเข้มงวดกวดขันการขบฉันอาหาร วันก่อนเคยฉัน 7 คำ ก็ลดเหลือ 6 คำ แล้วลดลงไปอีกตามลำดับจนกระทั่งรางกายซูบผอมโซเซ สู้ไม่ไหว จึงหันมาฉันอาหารตามเดิม ระยะนั้นก็ไม่ปรากฏเห็นผลอันใดแม้เล็กน้อย........... นอกจากนี้ก็ใช้เวลาที่เหลือท่องบ่นเจ็ดตำนานบ้าง สิบสองตำนานบ้าง แต่ไม่ได้ศึกษาพระวินัยเลย เรื่องวินัยที่จะนำมาประพฤติปฏิบัติขัดเกลากาย วาจา เพื่อเป็นรากฐานของสมาธิภาวนานั้น ท่านไม่ทราบ มิหนำซ้ำ ระหว่างที่อยู่วัดดังกล่าว พระในวัดนั้นยังใช้ให้ท่านสร้างเกวียนและเลี้ยงโคอีกด้วย ท่านจึงเกิดความสลดสังเวช และเบื่อหน่ายเป็นกำลัง แต่ก็อยู่มาจนกระทั่งได้ 6 พรรษา

หลวงปู่ดุลย์เมื่อทราบข่าวว่า ที่อุบลราชธานีมีการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม  ท่านพยายามมุมานะศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมอย่างเต็มสติกำลัง..........  จนกระทั่งประสบผลสำเร็จ คือ สามารถสอบไล่ได้ประกาศนียบัตรนักธรรมชั้นตรี นวกภูมิ เป็นรุ่นแรกของจังหวัดอุบลราชธานี และยังได้เรียนบาลีไวยกรณ์ (มูลกัจจายน์) จนสามารถแปลพระธรรมบทได้ ........ต่อมาท่านได้พยายามอย่างยิ่งที่จะญัตติจากนิกายเดิมมา เป็นธรรมยุตติกนิกาย ในกาลต่อมา นับว่าเป็นโชคของท่านก็ว่าได้ ท่านมีโอกาสได้คุ้นเคยกับ ท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ท่านรับราชการครู ทั้งที่ยังเป็นพระสงฆ์อยู่ในขณะนั้นที่วัดสุทัศน์ จังหวัดอุบลฯ ท่านอาจารย์สิงห์ได้ชอบอัธยาศัยไมตรีของหลวงปู่ดุลย์ และเห็นปฏิปทาในการศึกษาเล่าเรียน พร้อมทั้งการประพฤติปฏิบัติกิจในพระศาสนาของท่าน ว่าเป็นไปด้วยความตั้งใจจริง ท่านอาจารย์สิงห์จึงได้ช่วยเหลือท่านในการขอญัตติ จนกระทั่งประสบผลสำเร็จ

หลวงปุ่ดุลย์ได้เล่าเรียนพระปริยัติธรรมและพิจารณาข้อธรรมะเหล่านั้นจนแตกฉาน........  ก็เห็นว่าการเรียนปริยัติธรรมอย่างเดียวนั้นเป็นแต่เพียงการจำหัวข้อธรรมะได้เท่านั้น ส่วนการปฏิบัติให้ได้ผลและได้รู้รสพระธรรมอย่างซาบซึ้งนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก จึงบังเกิดความเบื่อหน่ายและท้อถอยในการเรียนพระปริยัติธรรมและมีความสนใจโน้มเอียงไปในทางปฏิบัติธรรม ทางธุดงค์กัมมัฏฐานอย่างแน่วแน่......... นับว่าเป็นบุญลาภของหลวงปู่ดุลย์อย่างประเสริฐ ที่ในพรรษานั้นเองท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ พระปรมาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ฝ่ายอารัญญวาสี ได้เดินทางกลับจากธุดงค์กัมมัฏฐาน มาพำนักจำพรรษาอยู่ที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลราชธานี ข่าวที่พระอาจารย์มั่นมาจำพรรษา ที่วัดบูรพานั้นเลื่องลือไปทุกทิศทาง ทำให้ภิกษุสามเณร บรรดาศิษย์ และประชาชนแตกตื่นฟื้นตัวพากันไปฟังพระธรรมเทศนาของพระอาจารย์มั่น ......... หลวงปู่ดุลย์กับอาจารย์สิงห์ 2 สหายก็ไม่เคยล้าหลังเพื่อในเรื่องเช่นนี้ พากันไปฟังธรรมเทศนาของพระอาจารย์มั่นกันเป็นประจำ ไม่ขาดแม้สักครั้งเดียว นอกจากได้ฟังธรรมะแปลกๆ ที่สมบูรณ์ด้วยอรรถพยัญชนะ มีความหมายลึกซึ้งและรัดกุมกว้างขวาง ยังได้มีโอกาสเฝ้าสังเกตปฏิปทาของท่านพระอาจารย์มั่น ที่งดงามน่าเลื่อมใสทุดอิริยาบถอีกด้วย ทำให้เกิดความซาบซึ้งถึงใจคำพูดแต่ละคำมีวินัยแปลกดี ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน จึงเพิ่มความสนใจใคร่ประพฤติปฏิบัติทางธุดงค์กัมมัฏฐานมากยิ่งขึ้นทุกทีฯ  ครั้นออกพรรษาแล้วท่านอาจารย์มั่นได้ออกธุดงค์อีก ภิกษุ 2 รูป คือ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโมกับหลวงปู่ดุลย์ จึงตัดสินใจสละทิ้งการสอนการเรียน ออกธุดงค์ติดตามพระอาจารย์มั่นไปทุกแห่ง จนตลอดฤดูกาลนอกพรรษานั้น

หลวงปู่ดุลย์เมื่อจวนจะถึงกาลเข้าปุริมพรรษา คือ พรรษาแรกแห่งการธุดงค์ของท่านและ คณะ จึงพากันแยกจากท่านพระอาจารย์มั่น  ......... เดินธุดงค์ผ่านไปทางอำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ ครั้นถึงป่าท่าคันโท ก็สมมติทำเป็นสำนักวัดป่า เข้าพรรษาด้วยกัน 5 รูป คือ พระอาจารย์สิงห์  พระอาจารย์บุญ  พระอาจารย์สีทา  พระอาจารย์หนู  พระอาจารย์ดุลย์ อตุโล (คือ ตัวหลวงปู่เอง)  ทุกท่านปฏิบัติตามปรารภความเพียรอย่างอุกฤษฎ์แรงกล้า ปฏิบัติตามคำอบรมสั่งสอนของท่านปรมาจารย์อย่างสุดขีด ครั้งนั้น บริเวณแห่งนั้นเป็นสถานที่ทุรกันดาร เกลื่อนกล่นไปด้วยสัตว์ป่าที่ดุร้าย ไข้ป่าก็ชุกชุมมาก ยากที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้ ...... ดังนั้นยังไม่ทันถึงครึ่งพรรษาก็ปรากฏว่า อาพาธเป็นไข้ป่ากันหมด ยกเว้นท่านอาจารย์หนูองค์เดียว ต่างก็ได้ช่วยรับใช้พยาบาลกันตามมีตามเกิด หยูกยาที่จะนำมาเยียวยารักษากันก็ไม่มีความป่วยไข้เล่าก็ไม่ยอมลดละ จนกระทั่งองค์หนึ่งถึงแก่มรณภาพลงในกลางพรรษานั้น ต่อหน้าต่อตาเพื่อนสหธรรมิกอย่างน่าเวทนา ......... สำหรับหลวงปู่ดุลย์ ครั้นได้สำเหนียกรู้ว่า มฤตยูกำลังคุกคามอย่างแรงทั้งหยูกยาที่จะนำมารักษาพยาบาลก็ไม่มี จึงตัดเตือนตนว่า "ถึงอย่างไร ตัวเราจักไม่พ้นเงื้อมมือของความตายในพรรษานี้เป็นแน่แล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้นเราจักตาย ก็จงตายในสมาธิภาวนาเถิด" จึงปรารภความเพียรอย่างเอาเป็นเอาตาย ตั้งสติให้สมบูรณ์พยายามดำรงจิตให้อยู่ในสมาธิอย่างมั่นคงทุกอริยาบถ พร้อมทั้งพิจารณาความตาย คือ มีมรณัสสติกัมมัฏฐานเป็นอารมณ์ไปด้วยโดยไม่ย่อท้อพรั่นพรึงต่อมรณภัยที่กำลังคุกคามจะมาถึงตัวในไม่ช้านี้เลย

หลวงปู่ดุลย์ ณ ป่าท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์นี้เองการปฏิบัติทางจิตที่หลวงปู่ดุลย์พากเพียรบำเพ็ญอยู่อย่างไม่ลดละ ก็ได้บังเกิดผลอย่างเต็มภาคภูมิ...........  กล่าวคือ ขณะที่นั่งภาวนาอยู่ตั้งแต่หัวค่ำจนดึกมากนั้น จิตก็ค่อยๆ หยั่งลงสู่ความสงบและให้บังเกิดนิมิตขึ้นมา คือ เป็นพระพุทธรูปปรากฏขึ้นที่ตัวของท่าน ประหนึ่งว่าตัวของท่านเป็นพระพุทธรูปองค์หนึ่ง ท่านพยายามพิจารณารูปนิมิตต่อไปอีก แม้ขณะที่ออกจากที่บำเพ็ญสมาธิภาวนาแล้วและขณะออกเดินไปสู่ละแวกบ้านป่า เพื่อบิณฑบาต ก็เป็นปรากฏอยู่เช่นนั้น........ วันต่อมาอีกก่อนที่รูปนิมิตจะหายไป ขณะที่เดินกลับจากบิณฑบาต ท่านได้พิจารณาดูตนเองก็ได้ปรากฏเห็นชัดว่า เป็นโครงกระดุกทุกส่วนสัด วันนั้นจึงเกิดความรู้สึกไม่อยากฉันอาหารจึงอาศัยความเอิบอิ่มใจของสมาธิจิตกระทำความเพียรต่อไป เช่น เดินจงกรมบ้าง นั่งสมาธิบ้างตลอดวันตลอดคืน และแล้วในขณะนั้นเองแสงแห่งพระธรรมก็บังเกิดขึ้น ปรากฏแก่จิตของท่าน

หลวงปู่ดุลย์รู้ชัดว่าอะไรคือจิต อะไรคือกิเลส จิตปรุงกิเลสหรือกิเลสปรุงจิต และเข้าใจสภาพเดิมของจิตที่แท้จริงได้จนรู้กิเลสส่วนไหนละได้แล้ว ส่วนไหนยังละไม่ได้ ดังนี้........ 1. บำเพ็ยเพียรภาวนาเป็นปกติไม่ขาดสาย ไม่เคยขาดตกบกพร่อง กลางคืนจะพักผ่อนเพียง 2 ชั่วโมงเท่านั้น........ 2. ฉันมื้อเดียวตลอดมา เว้นแต่เมื่อมีกิจนิมนต์จึงฉัน 2 มื้อ........ 3. มีความเป็นอยู่ง่าย เมื่อขาดไม่ดิ้นรนแสวงหา เมื่อมีไม่สั่งสม เป็นอยู่ตามมีตามเกิดเจริญด้วยยถาลาภสันโดษ (คือสันโดษ ได้อย่างไร บริโภคอย่างนั้น)........ 4. มีสัจจะ พูดอย่างไรต้องทำอย่างนั้น มีความตั้งใจจริง จะทำอะไรแล้วต้องทำจนสำเร็จ........ 5. สัลลหุกวุตติ เป็นผู้มีความประพฤติเบากาย เบาใจ คือ เป็นผู้คล่องแคล่วว่องไว เดินตัวตรงและเร็ว แม้เวลาตื่นนอนพอรู้สึกตัวท่านจะลุกขึ้นทันที เหมือนคนที่พร้อมอยู่ตลอดเวลา........ 6. นิยมการทำตัวง่ายๆ สบายๆ ไม่มีพิธีรีตอง มักตำหนิผู้ที่เจ้าบทบาท มากเกินควร...... 7. การปฏิสันถาร ท่านปฏิบัติเป็นเยี่ยมตลอดมา


หลวงปู่ดุลย์ เป็นผู้มีอุปนิสัยเยือกเย็น พูดน้อย สงบ อยู่เป็นนิตย์...........  มีวรรณผ่องใส ท่านรักความสงบจิตใจใฝ่ในความวิเวกมาก จะเห็นได้ว่าท่านชอบสวดมนต์บท "อรญฺเญ รุกขมูเลวา สุญฺญาคาเรวา ภิกฺขโว ... " มาก........ หลวงปู่ดุลย์ได้ดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องดีงามอยู่ภายใต้ผ้ากาสาวพัสตร์เป็นเวลานานถึง 64 พรรษา ท่านประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีงามของชาวพุทธตลอดเวลา เป็นเนื้อนาบุญของโลก ท่าทนเป็นพุทธสาวกอย่างแท้จริง ได้บำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่นอย่างสมบูรณ์บริบูรณ์ บัดนี้สังขารขันธ์นั้นได้ดับลงแล้ว ตาม สภาวธรรม เมื่อ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2526




คำสอนหลวงปู่ดุลย์

หลวงปู่ดุลย์ นั้น ท่านเล่าว่าได้ตริตรองพิจารณาตามหัวข้อกัมมัฏฐานว่า "สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สพฺเพ สญฺญา อนตฺตา" ที่ท่านพระอาจารย์มั่นให้มา ในเวลาต่อมาก็เดิความสว่างไสวในใจชัดว่า เมื่อสังขารขันธ์ดับได้แล้ว ความเป็นตัวตนจักมีไม่ได้ เพราะไม่ได้เข้าไปเพื่อปรุงแต่ง ครั้นความปรุงแต่งขาดไป ความทุกข์จะเกิดขึ้นอย่างไร และจับใจความอริยสัจจแห่งจิตได้ว่า ..... 1. จิตที่ส่งออกนอก เพื่อรับสนองอารมณ์ทั้งสิ้น เป็นสมุทัย....... 2. ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอกแล้วหวั่นไหว เป็นทุกข์.......3. จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค........ 4. ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ ..... แล้วท่านเล่าว่า เมื่อทำความเข้าใจในอริยสัจทั้ง 4 ได้ดังนี้แล้ว ก็ได้พิจารณาทำความเข้าใจใน ปฏิจฺจสมุปบาท ได้ตลอดทั้งสาย คติธรรม ที่ท่านสอนอยู่เสมอ คือ

อย่าส่งจิตออกนอกไปเสวยอารมณ์


 เป็นคําสอนและคติธรรมของหลวงปู่ที่กล่าวกันอยู่เนืองๆ และเป็นแก่นหลักสําคัญในการปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ แต่ควรมีความเข้าใจทึ่ถูกต้องจึงจักสําเร็จผลสมดั่งคําสอนของหลวงปู่, อันท่านหมายถึง ไม่ส่งจิตออกนอกไปเสวยอารมณ์(หมายถึง เกิดเวทนา) หรือก็คือไม่ส่งจิตออกนอกไปคิดนึกปรุงแต่ง เพราะทุกๆความคิดนึกปรุงแต่งอันคือความคิดที่ฟุ่มเฟือยเกินจําเป็น, อันเป็นขันธ์ ๕ อย่างหนึ่งซึ่งย่อมต้องเกิดเวทนาหรือการเสวยอารมณ์ร่วมด้วยทุกๆความคิดที่ปรุงแต่ง อันล้วนอาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา อันเป็นไปตามหลักธรรมปฏิจจสมุปบาท, จึงทําให้เกิดเป็นทุกข์ขึ้นมาโดยไม่รู้ตัวจากความคิดนึกปรุงแต่งหรือฟุ้งซ่านนั้นๆ, จิตไม่ส่งออกนอกในความหมายของท่านจึงหมายถึง ไม่ส่งจิตออกนอกเพื่อไม่ไปกระทบในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมมารมณ์หรือความคิด อันล้วนแต่ให้เกิดคิดนึกปรุงแต่ง หรือก็คือหยุดคิดนึกปรุงแต่ง

อย่าส่งจิตออกนอก อีกอย่างหนึ่งซึ่งมีความหมายเหมือนกันคือ อย่าส่งจิตออกไปนอก กาย เวทนา จิต ธรรม ตามหลักสติปัฏฐาน๔ นั่นเอง, จิตหรือสติอยู่กับกายไม่ส่งออกไปปรุงแต่ง ดังเช่น กายานุปัสสนา(การพิจารณากายเพื่อให้เกิดนิพพิทา, แต่ไม่ใช่หมายถึงจิตส่งใน หรือ จิตส่องจดจ่อจดจ้องไปเสพผลอันสุขสบายอันเกิดแต่กายหรือจิตที่เกิดจากอำนาจของฌานหรือสมาธิ)จึงจักถูกต้อง อันจะครอบคลุมถึงการให้จิตอยู่กับเวทนานุปัสสนา(เห็นเวทนา),จิตตานุปัสสนา(จิตเห็นจิตหรือความคิด) หรือธรรมานุปัสสนาหรือธรรมะวิจยะ(การพิจารณาธรรม)ก็ได้ อันล้วนเป็นการปฏิบัติแบบสติปัฏฐาน๔ในชีวิตประจําวันนั่นเอง, การพิจารณาธรรม - ไม่ใช่ความคิดที่ส่งออกนอกไปคิดนึกปรุงแต่ง, เป็นความคิดที่มีคุณประโยชน์จําเป็นต้องมีเพื่อให้เกิดสัมมาญาณ อันยังให้เกิดสัมมาวิมุติ-สุขจากการหลุดพ้น, ต้องไม่ใช่ไปอยู่กับผลของสมาธิคือจิตไม่ส่งออกนอกแต่ไปคอยจดจ้องหรือยึดความเบากาย เบาใจ ภายในกายหรือจิตของตนเองอันเกิดจากผลของสมาธิ อันเป็นการเข้าใจผิด, แยกแยะให้ดีด้วย เพราะมีความฉิวเฉียดต่างกันเพียงน้อยนิด แต่ผลออกมาต่างกันราวฟ้ากับดิน อันแรกก่อให้เกิดสัมมาญาณอันจักยังให้เกิดสัมมาวิมุตติ, แต่อันหลังก่อให้เกิดวิปัสสนูปกิเลสอันให้โทษอย่างรุนแรงในภายหลัง  หรืออาจกล่าวได้ว่า อย่าส่งจิตออกนอกไปคิดนึกปรุงแต่ง เพราะคิดนึกปรุงแต่งคือเกิดขันธ์๕ อันเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา อันเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา อันเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทานอันเป็นทุกข์ เป็นไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง

"คิดเท่าไรๆก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดได้จึงรู้ แต่ต้องอาศัยความคิดนั่นแหละจึงรู้"


หลวงปู่หมายถึง คิด(นึกปรุงแต่ง)เท่าไรๆก็ไม่รู้จักนิโรธ ต่อเมื่อหยุดคิด(นึกปรุงแต่ง)ได้จึงรู้จักสภาวะนิโรธ แต่ก็ต้องอาศัยคิด(พิจารณาในธรรม - ธรรมวิจยะในสัมโพชฌงค์๗, หรือ ธรรมานุปัสสนาในสติปัฏฐาน๔) นั่นแหละจึงจะรู้จึงจะเข้าใจ (เพื่อความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง พิจารณาเปรียบเทียบกับวงจรปฏิจจสมุปบาท )

"ที่จริงพระอรหันต์ทั้งหลายท่านไม่ได้รู้อะไรมากมายเลย เพียงแต่เจริญจิตให้รู้แจ้งใน ขันธ์๕, แทงตลอดในปฏิจจสมุปบาท, หยุดการปรุงแต่ง, หยุดการแสวงหา, หยุดกริยาจิต มันก็จบแค่นี้ เหลือแต่ บริสุทธิ์ สะอาด สว่าง ว่าง มหาสุญตา ว่างมหาศาล"
หยุดการปรุงแต่ง คือหยุดคิดนึกปรุงแต่งอันทําให้เกิดเวทนาอันเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา  หยุดการแสวงหา หยุดการแสวงหาด้วยความปรารถนาทั้งทางโลกและธรรม  หยุดกริยาจิต คือ หยุดกริยาอาการฟุ้งซ่านของจิต คือ อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน (สังโยชน์ ข้อ๙)  อันล้วนเป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาทและขันธ์ ๕นั่นเอง

"เวทนากับร่างกายนั้นมีอยู่ตามธรรมชาติของมัน แต่ไม่ได้เสวยเวทนานั้นเลย"
 เวทนาทางกาย เจ็บปวดเป็นไปตามธรรมชาติ ไม่มีผู้ใดไปห้ามได้ แต่ไม่เสวย(ผลอันเนื่องจาก)เวทนาทางใจ คือไม่เอาเวทนาทางใจที่ย่อมเกิดทุกขเวทนาร่วมด้วยเป็นธรรมดานั้น ไปปรุงแต่งให้เกิดตัณหา อุปาทาน จึงเสวยเพียงทุกขเวทนาตามธรรมหรือธรรมชาติ แต่ไม่แปรไปเป็นเวทนูปาทานขันธ์ คือเวทนาที่ประกอบด้วยอุปาทานที่แสนเร่าร้อนเผาลน จึงไม่เป็นอุปาทานทุกข์ หรือก็คือการไม่ไปยึด,ไม่ไปอยาก หรือไม่อยาก ในเวทนาที่เกิดขึ้นนั่นเอง

"ทุกข์ ต้องกําหนดรู้ เมื่อรู้แล้วให้ละเสีย ไปไว้มันทําไม"


หลวงปู่อธิบายกิจญาณหรือกิจอันควรกระทําต่ออริยสัจ๔ คือ ทุกข์ให้รู้ สมุทัยให้ละ นิโรธทําให้แจ้ง มรรคให้ปฏิบัติ, คือเมื่อรู้ทุกข์แล้ว ก็ให้ละเหตุแห่งทุกข์นั้นเสีย มีผู้อวดอ้างของวิเศษจากสัตว์ต่างๆนาๆ แล้วเรียนถามหลวงปู่ว่าอันไหนวิเศษกว่ากัน หลวงปู่ตอบว่า


"ไม่มีดี ไม่มีวิเศษอะไรหรอก เป็นของสัตว์เดียรัจฉานเหมือนกัน"
 หลวงปู่กล่าวตามความเป็นจริงแห่งธรรม ไม่สนับสนุนเพราะเป็นทั้งทิฏฐุปาทานและสีลัพพตปาทาน คือยึดมั่นในศีลและข้อวัตรปฏิบัติอย่างผิดๆ งมงาย  "เมื่อตาเห็นรูปแล้ว รู้ว่าสวยงาม หรือน่ารังเกียจอย่างไรแล้ว ก็หยุดเพียงเท่านี้   เมื่อหูได้ยินเสียง รู้ว่าไพเราะ หรือน่ารําคาญอย่างไรแล้ว ก็หยุดเพียงเท่านี้  เมื่อลิ้นได้ลิ้มรส รู้ว่าอร่อย หรือไม่อร่อย เปรี้ยวหวานมันเค็มอย่างไรแล้ว ก็หยุดเพียงเท่านี้  เมื่อจมูกได้กลิ่น หอมหรือเหม็นอย่างไรแล้ว ก็หยุดเพียงเท่านี้ 

"เมื่อกายสัมผัสโผฎฐัพพะ รู้ว่าอ่อนแข็งเป็นอย่างไรแล้ว ก็หยุดเพียงเท่านี้"


หลวงปู่ท่านพูดเกี่ยวกับขันธ์ ๕ เช่นเมื่อตากระทบรูปย่อมเกิดเวทนา เป็นสุขเวทนาหรือทุกข์เวทนาคือชอบหรือไม่ชอบหรือเฉยๆอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นเป็นธรรมดา แล้วเกิดกระบวนการสรุปในที่สุดเป็นสังขารทางใจหรือมโนสังขารคือความคิดว่ารูปนั้น สวยงามหรือน่ารังเกียจ เป็นผลของกระบวนธรรมของขันธ์ทั้ง ๕ ออกมา แล้วหลวงปู่กล่าวสอนต่อว่า"แล้วก็หยุดเพียงเท่านี้" หมายถึง หยุดคิดนึกปรุงแต่งหรือฟุ้งซ่านเสียนั่นเอง(คิดปรุงแต่งนั่นแหละที่จะก่อให้เกิดตัณหา)มันก็จะไม่เป็นทุกข์ เป็นแค่ขันธ์ ๕ ไว้ใช้งานธรรมดาๆ หรือเป็นการปฏิบัติตามคําที่กล่าวว่า "เห็นสักแต่ว่าเห็น หรือ ได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน" ไม่ใช่เห็นหรือได้ยินแล้วต้องเฉยๆไม่มีความรู้สึกรู้สา ซึ่งเป็นการกดข่ม เห็น,ได้ยินแล้วรับรู้ตามความเป็นจริงแล้วไม่คิดนึกปรุงแต่งอันอาจยังให้เกิดตัณหาขึ้น หรืออุเบกขาเสียนั่นเอง จึงเป็นการถูกต้อง(หมายเลข22ในวงจรคือ คิดนึกปรุงแต่งนี้หรือตัวที่จะทําให้เกิดตัณหา)......... กล่าวคือ ตัณหาที่เกิดนั้นไม่ได้เกิดจากความคิดหรือสังขารขันธ์แรกๆ แต่เกิดจากเวทนาของความคิด(นึกปรุงแต่ง)ที่วนเวียนปรุงแต่งขึ้นมาเรื่อยๆ หลวงปู่จึงมักกล่าวอยู่เสมอๆว่า อย่าส่งจิตออกนอก(ไปคิดนึกปรุงแต่ง) หรือก็คือวางใจเป็นอุเบกขาเป็นกลางวางเฉย, วางเฉยโดยการไม่คิดนึกปรุงแต่งทั้งฝ่ายดีหรือชั่ว(ไม่ดี) เพราะล้วนเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา อันอาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา จึงยังให้เกิดอุปาทานทุกข์ขึ้น ......... ตา + รูป วิญญาณตา ผัสสะ สัญญาจํา เวทนา(ชอบ,ไม่ชอบ) สัญญาหมายรู้ วิญญาณ-ใจรับรู้ สังขารทางใจ ออกมาว่า "สวย"หรือ "น่ารังเกียจ" และ + หยุดการคิด(นึกปรุงแต่ง)ที่จักเกิดขึ้นต่อจากนั้น เพราะถ้ามีการคิด(นึกปรุงแต่ง)ดําเนินต่อไปอีก ก็คือความคิดที่เป็นขันธ์๕ ที่เกิดขึ้นใหม่อีก อันย่อมบังเกิดเวทนาควบคู่มาด้วยเป็นธรรมชาติ และบางเวทนาจากความคิดนึกปรุงแต่งนี้แหละที่อาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา นี่คือสิ่งที่ท่านหลวงปู่ดูลย์แนะนําให้ปฏิบัติ ซึ่งเป็นไปตามหลักธรรมปฏิจจสมุปบาทและความเข้าใจขันธ์ ๕, ตรงนี้สําคัญมากเพราะมักมองไม่ออกว่าเพราะเวทนาเป็นเหตุปัจจัยจึงเกิดตัณหาขึ้น ไม่ใช่จากสังขารขันธ์เช่นความสวยหรือความคิดโดยตรงๆ แต่จากเวทนาความรับรู้ความรู้สึกและความจําได้อันร่วมกันเป็นเวทนา ลองสังเกตุกระบวนธรรมแบบไม่ขยายรายละเอียด จะเห็นตัณหาที่เกิดจากเวทนาหรือเข้ากระทําต่อเวทนาที่เกิดจากความคิด(นึกปรุงแต่ง)ชัดแจ้งขึ้น ......... ใจ+คิดนึกปรุงแต่ง วิญญาณ ผัสสะ เวทนา + ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติอันคืออุปาทานสัญญา อุปาทานสังขารเช่นคิดที่เป็นทุกข์ และแม้แต่เป็นทุกข์แล้ว ก็ต้องหยุดคิด(นึกปรุงแต่ง)เช่นกัน

"เมื่อจิตกระทบเข้ากับอารมณ์ภายนอกอย่างไร ก็ให้หยุดอยู่แค่นั้น, อย่าไปทะเลาะวิวาทโต้แย้ง, อย่าไปเอออวยเห็นดีเห็นงามให้จิตได้โอกาสก่อรูปก่อร่างเป็นตุเป็นตะเป็นเรื่องเป็นราวยืดยาวออกไป อย่าไปวิพากษ์วิจารณ์ต่อไป อย่าไปใส่ใจอีกต่อไป พอกันเพียงรู้อารมณ์เท่านี้เอง หยุดกันเพียงเท่านี้"
คือเกิดขันธ์ ๕ เป็นปกติ คือจิตเกิดเวทนา(เมื่อกระทบกับอารมณ์ภายนอก)อย่างไรก็ตาม ให้หยุดเพียงเท่านั้น คืออย่าให้เกิดตัณหาขึ้นนั่นเอง เป็นไปตามปฏิจจสมุปบาทธรรม ตัณหาย่อมมักไหลเลื่อนมากับนึกคิดปรุงแต่งต่างๆนาๆ ยิ่งคิดปรุงแต่งยืดยาวถี่บ่อยเท่าใด ตัณหาก็ยิ่งมีโอกาสมากขึ้นเท่านั้น (หมายเลข22 และ14ในวงจร ซึ่งยิ่งคิดปรุงแต่งมากเท่าใดอันล้วนเป็นขันธ์๕ทั้งสิ้น โดยเฉพาะใน14 เป็นอุปาทานขันธ์๕แล้ว คิดวนเวียนเกิดๆดับๆในทุกข์นั้น ให้ยิ่งมากขึ้นไปอืก) เพราะย่อมต้องเกิดเวทนาร่วมด้วยทุกครั้งทุกที อันหมายถึงเป็นการเปิดโอกาสให้อาจจะมีตัณหาเกิดขึ้นได้ทุกครั้งเช่นกัน เป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาทในข้อธรรมที่ว่า "เวทนา เป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา" .......... วิธีการนี้ก็คือ การอุเบกขาในสัมโพชฌงค์ ๗ องค์แห่งการตรัสรู้นั่นเอง ........ จิตปรุงกิเลส คือ การที่จิตบังคับให้กาย วาจา ใจ กระทําสิ่งภายนอก ให้มี ให้เป็น ให้เลว ให้เกิดวิบากได้ แล้วยึดติดอยู่ว่า นั่นเป็นตัว นั่นเป็นตน ของเรา ของเขา,


"กิเลสปรุงจิต คือการที่สิ่งภายนอกเข้ามาทําให้จิตเป็นไปตามอํานาจของมัน แล้วยึดว่ามีตัว มีตนอยู่ สําคัญผิดจากความเป็นจริงอยู่รํ่าไป"
จิตปรุงกิเลส หลวงปู่หมายถึงการที่กิเลสตัณหาเกิดขึ้นเพราะจิตเกิด "สังขารคิด"(ที่สั่งสมไว้ตามหลักปฏิจจสมุปบาท.)อันยังให้เกิดทุกข์หรือจิตนึกคิดขึ้นมาเป็นมูลเหตุเบื้องต้น, และกิเลสปรุงจิตคือกิเลสทุกข์ที่มีเหตุเกิดทาง "สฬายตนะ"เป็นมูลเหตุ อันคือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจอันไปกระทบผัสสะกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์โดยตรง อันเป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาทเช่นกัน

"แท้จริงแล้วความทุกข์ร้อนวุ่นวายใจ มักเกิดจากสิ่งภายในใจเราทั้งสิ้น คือ กิเลส ตัณหา อุปาทาน มันก่อขึ้นภายในใจ จนต้องดิ้นรนอย่างน่าเวทนายิ่ง"
"
นี่แหละคืออาการ"จิตปรุงกิเลส"วุ่นวายใจก็คือสังขารคิดในปฏิจจสมุปบาท แล้วเกิดตัณหาอุปาทานไปตามธรรม

ในทางปฏิบัติที่ว่า ปฏิบัติจิต ปฏิบัติใจ โดยให้ใจอยู่กับใจนี้ ก็คือให้มีสติกํากับใจให้เป็นสติถาวร ไม่ใช่เป็นสติคล้ายๆ หลอดไฟที่จวนจะขาด เดี๋ยวก็สว่างวาบ เดี๋ยวก็ดับ เดี๋ยวก็สว่าง แต่ให้มันสว่างติดต่อกันไปตลอดเวลา เมื่อสติมันติดต่อกันไปอย่างนี้แล้ว ใจมันก็มีสติควบคุมอยู่ตลอดเวลา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "อยู่กับตัวรู้ตลอดเวลา" ตัวรู้ก็คือ "สติ" นั่นเอง หรือจะเรียกว่า "พุทโธ" ก็ได้ พุทโธที่ว่า รู้ ตื่น เบิกบาน ก็คือตัวสตินั่นแหละ สติ ตัวรู้ คือสิ่งเดียวกัน และให้มันต่อเนื่อง อันคือสัมมาสมาธินั่นเอง ดังนั้นตัวรู้นั้นท่านหมายถึงสติ และให้เป็นสัมมาสมาธิคือให้มันมีความต่อเนื่องกันไปตลอด, และผู้เขียนขอให้ระวัง "ผู้รู้ ตัวรู้ หรือ ธาตุรู้ " ที่จักเกิดเป็นตัวตน อันเกิดจากการอุปโลกของจิต คือเกิดจากการไปยึดไปหลงสติหรือตัวรู้ ธาตุรู้หรือการเห็นคิดซ้อนคิด หรือสติเห็นคิด นั้น ทําให้เกิดภาวะเป็นตัวเป็นตนขึ้นมา อันเป็นการยึดมั่นถือมั่นในตัวในตนหนักเข้าไปอีก อันผิดหลักในการปฏิบัติที่ให้ "นําออก และ ละ เสียซึ่งความเป็นตัวเป็นตน" กลับไปสร้างตัวตนให้ยึดมั่น ถือมั่น เชื่อมั่น ขึ้นมาอีกตัวตนหนึ่งซึ่งมีอํานาจมากในอันที่จะชักจูงจิตให้ออกนอกลู่ผิดทาง อันยังให้ง่ายต่อการเกิดสีลัพพตุปาทาน และวิปัสสนูปกิเลส

"คําสอนทั้ง ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั่น เป็นเพียงอุบายให้คนทั้งหลายหันมาดูจิตนั่นเอง คําสอนของพระพุทธองค์มีมากมายก็เพราะกิเลสมีมากมาย แต่ทางที่ดับทุกข์ได้มีทางเดียว พระนิพพาน การที่เรามีโอกาสปฏิบัติธรรมที่ถูกทางเช่นนี้มีน้อยนัก หากปล่อยโอกาสให้ผ่านไปเราจักหมดโอกาสพ้นทุกข์ได้ทันในชาตินี้ แล้วเราจะหลงอยู่ในความเห็นผิดอีกนานแสนนาน เพื่อที่จะพบธรรมอันเดียวกันนี้ ดังนั้น เมื่อเราเกิดมาพบพระพุทธศาสสนาแล้ว รีบปฏิบัติให้พ้นทุกข์เสีย มิฉนั้นจะเสียโอกาสอันดีนี้ไป เพราะว่าเมื่อสัจจธรรมถูกลืม ความมืดมนย่อมครอบงําปวงสัตว์ให้อยู่ในกองทุกข์สิ้นกาลนาน"
เพราะธรรมะของพระพุทธเจ้าพระองค์ไหนก็ตาม ล้วนเป็นธรรมเดียวกันทั้งสิ้น เพราะตั้งอยู่ตามความเป็นจริงของกฎธรรมชาติขั้นปรมัตถ์คือสูงสุดแล้วนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

-