ทักทาย

แม่หมอขอแนะนำตัวเองก่อนเลยนะคะ ก็เป็นผู้หญิงธรรมด๊าธรรมดาคนนึง อาจดูเหมือนเป็นสาวมั่นที่ลุ๊คดู เปรี้ยวไปบ้างเล็กน้อย ..... ส่วนใหญ่วันๆ ก็ทำงาน หาเงิน (แล้วก็อยากรวย) ว่างๆก็ใช้เงิน หาเงิน วนเวียนอยู่กับเงิน อยู่กับงาน อยู่กับครอบครัว ชีวิตหมดไปอย่างงี้แหละค่ะทุกๆวัน ..... แล้วมาวันนึงก็ให้รู้สึก เหนื่อยกับชีวิต บางครั้งก็คิดว่า เอ๊ะทำไมคนนั้นต้องทำกับเราอย่าง นี้ คนนี้ต้องทำกับเราอย่างนั้นด้วย รึทำไมน๊าถึงซวยอย่างนี้ และอื่นๆอีกมากมาย .....คราวนี้ก็มาลองคิดดู คิดไปคิดมาก็ให้รู้สึกเหมือนตัวเองไม่ค่อยมีความสุขเท่าไหร่ แต่คงเป็นโชคดีที่ตัวเองเป็นคนชอบอ่าน วันนึงก็เลยลองหยิบหนังสือแนว ธรรมะขึ้นมาอ่าน(กะอ่านเล่นๆ)... แล้วก็เริ่มเห็นจริงในบางเรื่อง ....แล้วก็เริ่มเอามาปรับใช้ในชีวิตจริง ..... สุดท้ายศรัทธาก็เกิดและชีวิตก็มีความสุขขึ้นตามลำดับ ......... แม่หมอคิดว่า คนเราเลือกที่จะมีความสุขได้นะคะ อยู่ที่เราจะเลือกรึเปล่า และกฎแห่งกรรมก็มีจริงค่ะอาจช้าไปบ้าง เร็วไปบ้าง แต่มีจริงแน่นอนค่ะ ..... ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปรัชญา เป็นศาสนาที่เน้นแนวคิด.... บางครั้งเราอาจคิดว่าห่างไกลกับชีวิตประจำ วันของเรา หรือ บางคนอาจคิดว่าวัยยังไม่ถึงยังไม่แก่ซะหน่อย ....แต่ไม่ลองไม่รู้ค่ะ แม่หมอเลยอยากชวนเพื่อนๆให้มาเริ่มศึกษาธรรมะไปพร้อมๆกับแม่หมอ เราจะเดินไปด้วยกันสู่เส้นทางสายธรรมเพื่อความสุขที่เราเลือกจะมีค่



a

วันอาทิตย์

คาถาบูชาพระแก้วมรกต

บทสวดมนต์ง่ายๆ วันนี้แม่หมอขอพาเพื่อนๆมาท่องคาถาบูชาพระแก้วมรกตกันค่ะ .......... เชื่อกันว่า พระแก้วมรกต ไปประดิษฐานอยู่ ณ ที่ใด ที่นั้นก็จะมีแต่ความสุขเจริญรุ่งเรือง เมื่อมีสิ่งศักดิ์อยู่คู่บ้านคู่เมืองซึ่งพวกเราคนไทยนิยมไปกราบไหว้เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัวท่านเอง ..... ซึ่งหากเราไม่สะดวกไปกราบท่านที่วัดพระแก้ว จะระลึกถึงและท่องคาถาบทสวดก็ได้เช่นกันนะคะ ..... แต่ก่อนที่จะไปท่องคาถาเรามาดูประวัติพระแก้วมรกตกันซักนิดดีมั๊ยคะ


 พระแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เลื่อมใสของผู้คนในภูมิภาคแหลมทองมาเป็นเวลานานแล้วนะคะ ........ เริ่มตั้งแต่ดินแดนถิ่นนี้ยังเป็นอาณาจักรต่างๆ มิได้รวมกันเป็นประเทศอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พอรวบรวมได้ว่าองค์พระแก้วมรกตสร้างขึ้นในประมาณ ปี พ.ศ. 500 โดยพระนาคเสนเถระ เมืองปาฏลีบุตร อินเดีย เข้ามาสู่ดินแดนของไทยครั้งแรกในอาณาจักรอโยธยา จากนั้นอัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดพระแก้วเมืองชากังราวหรือกำแพงเพชร จากกำแพงเพชรได้อัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดพระแก้วเชียงรายเป็นเวลา 45 ปี จากนั้นก็อัญเชิญลงมาประดิษฐานที่ลำปางอีก 32 ปี จากลำปางอัญเชิญขึ้นเหนือไปประดิษฐานที่วัดเจดีย์หลวง จ. เชียงใหม่ เป็นเวลา 85 ปี จากเชียงใหม่ไปประดิษฐานที่เมืองเวียงจันทร์ 225 ปี แต่เก่าก่อนตอนปลายสมัยอยุธยา เมืองเวียงจันทน์ตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา ครั้งเมื่อกรุงศรีอยุธยามีศึกหนักกับพม่าจนตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า ทางเวียงจันทน์ถือโอกาศแข็งเมืองแยกตัวเป็นอิสระ จนกระทั่งพระเจ้าตากกอบกู้เอกราชได้และตั้งราชธานีใหม่จึงได้ส่งเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกไปตีเมืองเวียงจันทน์ให้กลับมาเป็นเมืองขึ้นเหมือนเดิม ศึกครั้งนั้นทัพของเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้รับชัยชนะโดยเด็ดขาดจึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกตกลับคืนสู่แผ่นดินไทยค่ะ


ครั้งแรกเมื่ออัญเชิญพระแก้วมรกตกลับมายังประเทศไทย........ ในสมัยกรุงธนบุรีได้อัญเชิญประดิษฐานไว้ที่วิหารน้อยวัดอรุณราชวราราม ประดิษฐานอยู่ที่วัดอรุณฯ เป็นเวลา 5 ปี..........เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเมื่อชนะศึกเมืองเวียงจันทน์และได้อัญเชิญพระแก้วมรกตกลับมาก็เกิดความยินดี ดั่งว่าพระแก้วมรกตเป็นพระคู่บารมีคู่บ้านคู่เมือง ครั้นเมื่อสิ้นกรุงธนบุรีเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกปราบดาภิเษกขึ้นเป็นมหากษัตริย์ได้สำเร็จ และได้ตั้งเมืองขึ้นใหม่มีชื่อว่า กรุงรัตนโกสินทร์ นัยว่าเป็นชื่อที่มีที่มาจากพระแก้วมรกต กรุง แปลว่า เมือง รัตน แปลว่าแก้ว โกสินทร์ แปลว่าพระอินทร์ ซึ่งพระอินทร์จะมีองค์สีเขียว รวมระยะเวลาที่องค์พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2321 จนถึงปัจจุบันนี้เป็นเวลา 227 ปี  และปัจจุบันได้ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม


คาถาบูชาพระแก้วมรกต


คาถาบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (ประวัติพระแก้วมรกต เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง ของไทย) ซึ่งจะใช้ คาถาบูชาพระแก้วมรกต เวลาสวดมนต์ กราบไหว้บูชาพระ ให้ระลึกถึงองค์พระแก้วมรกต ตั้งใจอธิษฐานจิต ปรารถนาสิ่งใดจะได้ตามใจสมประสงค์



นะโม 3 จบ ก่อนแล้วกล่าวว่าคาถาบูชาพระแก้วมรกต


พุทธะ มะหามะณีระตะนะ ปะฏิมากะรัง ปูเชมิ

ทุติยัมปิ พุทธะมะหามะณีระตะนะ ปะฏิมากะรัง ปูเชมิ

ตะติยัมปิ พุทธะมะหามะณีระตะนะ ปะฏิมากะรัง ปูเชมิ

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ มะหาเตโช เจวะ มะหาปัญโญ

จะ มะหาโภโค จะ มะหายะโส จะ ภะวันตุ เม

นิพพานัสสะ ปัจจะโย โหตุ (หรือเป็น วาละลุกัง สังวาตังวา)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

-