ทักทาย

แม่หมอขอแนะนำตัวเองก่อนเลยนะคะ ก็เป็นผู้หญิงธรรมด๊าธรรมดาคนนึง อาจดูเหมือนเป็นสาวมั่นที่ลุ๊คดู เปรี้ยวไปบ้างเล็กน้อย ..... ส่วนใหญ่วันๆ ก็ทำงาน หาเงิน (แล้วก็อยากรวย) ว่างๆก็ใช้เงิน หาเงิน วนเวียนอยู่กับเงิน อยู่กับงาน อยู่กับครอบครัว ชีวิตหมดไปอย่างงี้แหละค่ะทุกๆวัน ..... แล้วมาวันนึงก็ให้รู้สึก เหนื่อยกับชีวิต บางครั้งก็คิดว่า เอ๊ะทำไมคนนั้นต้องทำกับเราอย่าง นี้ คนนี้ต้องทำกับเราอย่างนั้นด้วย รึทำไมน๊าถึงซวยอย่างนี้ และอื่นๆอีกมากมาย .....คราวนี้ก็มาลองคิดดู คิดไปคิดมาก็ให้รู้สึกเหมือนตัวเองไม่ค่อยมีความสุขเท่าไหร่ แต่คงเป็นโชคดีที่ตัวเองเป็นคนชอบอ่าน วันนึงก็เลยลองหยิบหนังสือแนว ธรรมะขึ้นมาอ่าน(กะอ่านเล่นๆ)... แล้วก็เริ่มเห็นจริงในบางเรื่อง ....แล้วก็เริ่มเอามาปรับใช้ในชีวิตจริง ..... สุดท้ายศรัทธาก็เกิดและชีวิตก็มีความสุขขึ้นตามลำดับ ......... แม่หมอคิดว่า คนเราเลือกที่จะมีความสุขได้นะคะ อยู่ที่เราจะเลือกรึเปล่า และกฎแห่งกรรมก็มีจริงค่ะอาจช้าไปบ้าง เร็วไปบ้าง แต่มีจริงแน่นอนค่ะ ..... ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปรัชญา เป็นศาสนาที่เน้นแนวคิด.... บางครั้งเราอาจคิดว่าห่างไกลกับชีวิตประจำ วันของเรา หรือ บางคนอาจคิดว่าวัยยังไม่ถึงยังไม่แก่ซะหน่อย ....แต่ไม่ลองไม่รู้ค่ะ แม่หมอเลยอยากชวนเพื่อนๆให้มาเริ่มศึกษาธรรมะไปพร้อมๆกับแม่หมอ เราจะเดินไปด้วยกันสู่เส้นทางสายธรรมเพื่อความสุขที่เราเลือกจะมีค่



a

วันอาทิตย์

ขันติ - โสรัจจะ

เรียนรู้ธรรมะไปกับแม่หมอ วันนี้จะพาเพื่อนๆมารู้จักธรรมะในหัวข้อ ขันติโสรัจจะ กันค่ะ ........ซึ่งขันติ โสรัจจะ เป็นหลักธรรมอันทำให้บุคคลเป็นผู้งาม คือมีน้ำใจงาม รู้จักอดทน อดกลั้น  สงบเงี่ยม กริยาวาจาสุภาพ ไม่ก่อการทะเลาะวิวาทกับใคร

ขันติ แปลว่าความอดทน อดกลั้น หมายถึง การรักษาปกติภาพของตนไว้ เมื่อถูกกระทบด้วยสิ่งอันไม่พึงปรารถนา .........  อดใจทนได้ต่อกำลังแห่งความโกรธแค้นไม่แสดงอาการ กาย วาจา ที่ไม่ดีออกมา ขันติมี 2 ประเภท คือ อดทนต่อการดำเนินชีวิตทั่วๆไป และ อดทนต่อการล่วงเกินของคนอื่น


1. ขันติ ความอดทนต่อการดำเนินชีวิตทั่วๆไป เช่น อดทนต่อความหิว ความกระหาย ความเหนื่อย ความหนาว ความร้อน ความเจ็บป่วย ความโกรธ ฯลฯ สรุปได้เป็น 3 ประเด็น คือ

1.1 อดทนต่อความลำบากตรากตรำ ในการทำงานทำการโดยสุจริต  ผู้มีสัมมาชีพจึงต้องมีความอดทน ไม่แสดงอาการของความขลาดไม่สู้งาน ไม่สู้ความลำบากตรากตรำ
1.2 อดทนต่อทุกขเวทนา คือเมื่อเจ็บป่วยก็ไม่แสดงอาการทุรนทุรายจนเกินเหตุ
1.3 อดทนต่ออำนาจกิเลส คือเมื่อเกิดกิเลสใดๆ ได้แก่ ความโลภ คือ อยากได้ไม่มีสิ้นสุด ความโกรธ หรือ ความหลงในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ก็ต้องมีขันติ อดทนและเพียรพยายามกำจัดกิเลสนั้นออกไปเสียจากตน

2. อธิวาสนขันติ ความอดทนต่อการล่วงเกินของคนอื่น เฉพาะอย่างยิ่งคนที่ต่ำกว่าเรา กล่าวคือ อดทนต่อความเจ็บใจ คือ ทนต่อความกระทบกระแทกแดกดันของคนอื่น ........ ความอดทนเป็นลักษณะความเข้มแข็งของจิตใจ การพยายามทำความดีและถอนตัวออกจากความชั่ว อดทน (ขันติ) เป็นหลักธรรมที่จำเป็นสำหรับคราวที่ต้องเผชิญกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะทำให้จิตใจเราหันเหไปจากทางที่ดี ดังนั้เรา จึงควรบำเพ็ญขันติใน 4 สถาน คือ

1.อดทนต่อความลำบาก หมายความว่า คนทำงานมากๆ แล้วได้รับความเหน็ดคนที่ไม่มีขันติเมื่อเผชิญกับความลำบากตรากตรำ มักจะทอดทิ้งการงานเสีย แต่ผู้มีขันติ ย่อมอดทนต่อสิ่งเหล่านี้ กัดฟันทนทำงานของตนให้สำเร็จ

2. อดทนต่อทุกขเวทนา คือ การรับรู้อารมณ์ว่าเป็นทุกข์ ซึ่งเกิดมาจากการเจ็บไข้ได้ป่วย ไม่สบายด้วยโรคภัยนานัปการที่เกิดขึ้นกับร่างกายตน สำหรับผู้มีขันติ ย่อมรู้จักอดทน อดกลั้น ไม่ปล่อยตัว ปล่อยใจให้เสียหรือตกไปในทางชั่วต่างๆให้คนอื่นหลงเชื่อหรือเข้าใจผิด

3. อดทนต่อความเจ็บใจ เป็นขันติประเภทอธิวาสนขันติ คืออดทนต่อการล่วงเกินของคนอื่น เฉพาะอย่างยิ่งคนที่ต่ำกว่าเรา เมื่อถูกผู้อื่นกระทำการล่วงเกินให้เป็นที่ขัดใจ เช่น ถูกด่าว่า หรือ สบประมาท หมิ่นประมาท บุคคลผู้ขาดอธิวาสนขันติ ย่อมขาดสติเดือดดาลแล้วทำร้ายตอบด้วยการกระทำอันแรงเกินเหตุที่ควรจะเป็น

4.อดทนต่ออำนาจกิเลส หมายความว่าอดทนต่ออารมณ์ข้างฝ่ายเพลิดเพลินอันเป็นไปตามอำนาจกิเลสพาไป เช่น ความสนุก การเที่ยวเตร่ ความโกรธ การได้ผลประโยชน์ในทางที่ไม่ควรเป็นต้น


โสรัจจะ หมายถึง ความสงบเสงี่ยมทำจิตใจให้แช่มชื่นไม่ขุนหมอง  คือเมื่อมีความอดทนแล้วก็ต้องพยายามสงบใจ.............  ทำใจให้เย็นลงด้วยอุบายอันชอบ เมื่อใจสงบแล้ว กิริยาวาจาที่แสดงออกมาก็จะสงบเสงี่ยมเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ความงามทุกส่วนของตนที่เคยมีอยู่ก็จะไม่เสื่อม จะคงงามอยู่และคงชนะใจของคนอื่นได้เป็นอย่างดี ความสงบเสงี่ยม ความมีอัธยาศัยงดงาม ความประณีตความเรียบร้อยนี้รวมไปถึงความไม่หรูหราด้วย



ขันติ -โสรัจจะ นี้นับว่าเป็นหลักธรรมสำคัญที่จะเป็นแนวทางในการดำรงชีวิตประจำวันของทุกคน ........ ความอดทนและความสงบเสงี่ยมเพราะธรรมะ 2 ประการนี้จะทำให้ผู้ปฏิบัติเป็นคนงดงามทั้งกาย วาจา และ จิตใจ จะประกอบกิจการสิ่งใด ย่อมสามารถประสบผลสำเร็จได้สมความมุ่งมาดปรารถนา และสามารถเอาชนะอุปสรรคต่างๆไปได้ด้วยจิตใจที่มั่นคง ย่อมชนะความร้ายได้ด้วยดี  ........ ขันติ- โสรัจจะมักใช้คู่กัน ใช้กรณีเกิดความขุ่นเคืองใจมีความโกรธหรือเกิดโทสะขึ้น.........  ท่านให้ใช้ขันติกดไว้ก่อน แล้วใช้ปัญญาพิจารณาสิ่งที่ทำให้เกิดความขุ่นเคือง ความโกรธและโทสะนั้นว่า ถ้าจริงเราก็จะได้ปรับปรุงตนเอง หากไม่จริง ก็เป็นความเข้าใจผิดของเขาเอง ..... การมีโสรัจจะ คือความสงบเสงี่ยม ไม่แสดงอาการไม่พอใจ รวมไปถึงอาการ เห่อเหิ่มจนเป็นที่บาดตาบาดใจคนอื่นเมื่อเวลาได้ดี   ไม่พลุ่งพล่านหรือ ซบเซาในยามมีทุกข์ ไม่เห่อเหิมหรือเหลิงในยามมีความสุข 

ขันติ- โสรัจจะ  ธรรมะ 2 ประการนี้ เป็นเครื่องส่งเสริมบุคลิกลักษณะทำให้เป็นคนมีเหตุผล หนักแน่น มั่นคง สุภาพเรียบร้อย น่านับถือ..........  ผู้มีคุณธรรม คือ ขันติและโสรัจจะ ประจำใจย่อมเป็นคนที่มีน้ำใจงาม น้ำใจดี มีกิริยาวาจาสุภาพ สงบเสงี่ยม ไม่ก่อการทะเลาะวิวาทกับใครๆ ย่อมเป็นคนที่น่ารักน่านับถือ หรือที่เรียกว่าธระะมะที่ทำให้คนงามนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

-