ทักทาย

แม่หมอขอแนะนำตัวเองก่อนเลยนะคะ ก็เป็นผู้หญิงธรรมด๊าธรรมดาคนนึง อาจดูเหมือนเป็นสาวมั่นที่ลุ๊คดู เปรี้ยวไปบ้างเล็กน้อย ..... ส่วนใหญ่วันๆ ก็ทำงาน หาเงิน (แล้วก็อยากรวย) ว่างๆก็ใช้เงิน หาเงิน วนเวียนอยู่กับเงิน อยู่กับงาน อยู่กับครอบครัว ชีวิตหมดไปอย่างงี้แหละค่ะทุกๆวัน ..... แล้วมาวันนึงก็ให้รู้สึก เหนื่อยกับชีวิต บางครั้งก็คิดว่า เอ๊ะทำไมคนนั้นต้องทำกับเราอย่าง นี้ คนนี้ต้องทำกับเราอย่างนั้นด้วย รึทำไมน๊าถึงซวยอย่างนี้ และอื่นๆอีกมากมาย .....คราวนี้ก็มาลองคิดดู คิดไปคิดมาก็ให้รู้สึกเหมือนตัวเองไม่ค่อยมีความสุขเท่าไหร่ แต่คงเป็นโชคดีที่ตัวเองเป็นคนชอบอ่าน วันนึงก็เลยลองหยิบหนังสือแนว ธรรมะขึ้นมาอ่าน(กะอ่านเล่นๆ)... แล้วก็เริ่มเห็นจริงในบางเรื่อง ....แล้วก็เริ่มเอามาปรับใช้ในชีวิตจริง ..... สุดท้ายศรัทธาก็เกิดและชีวิตก็มีความสุขขึ้นตามลำดับ ......... แม่หมอคิดว่า คนเราเลือกที่จะมีความสุขได้นะคะ อยู่ที่เราจะเลือกรึเปล่า และกฎแห่งกรรมก็มีจริงค่ะอาจช้าไปบ้าง เร็วไปบ้าง แต่มีจริงแน่นอนค่ะ ..... ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปรัชญา เป็นศาสนาที่เน้นแนวคิด.... บางครั้งเราอาจคิดว่าห่างไกลกับชีวิตประจำ วันของเรา หรือ บางคนอาจคิดว่าวัยยังไม่ถึงยังไม่แก่ซะหน่อย ....แต่ไม่ลองไม่รู้ค่ะ แม่หมอเลยอยากชวนเพื่อนๆให้มาเริ่มศึกษาธรรมะไปพร้อมๆกับแม่หมอ เราจะเดินไปด้วยกันสู่เส้นทางสายธรรมเพื่อความสุขที่เราเลือกจะมีค่



a

วันพุธ

อกุศลมูล 3

รียนรู้ธรรมะไปกับแม่หมอ ในหัวข้อ ธรรมะน่ารู้ วันนี้แม่หมอจะพาเพื่อนๆมารู้จักกับคำว่า อกุศลมูล ........ อกุศลมูล คือ รากเหง้าของความชั่ว รางเหง้าหรือต้นตอของความชั่วทั้งปวง เมื่อความชั่วเกิดขึ้นในตัวเรา และเมื่อกำเริบขึ้นมาก็จะแสดง ออกมาเป็นสิ่งที่ทุจริตทางกาย วาจา ใจ รวมเป็นเหตุให้เกิดกิเลส มี 3 ประการ คือ  ......  1. โลภะหรือความอยากได้  ...... 2. โทสะ หรือ ความคิดประทุษร้ายคนอื่น ........ 3. โมหะหรือ ความหลงไม่รู้จริง  ซึ่งสามารถขยายความได้ดังนี้ค่ะ
1. โลภะ ความอยากได้.......  โลภะ คือ ความอยากได้ของคนอื่นมาเป็นของตน อยากให้ตนมีเหมือนคนอื่น หรือมีมากกว่าผู้อื่น ความอยากมีหลายรูป แบบซึ่งจะก่อให้เกิดรากเหง้าของความชั่วทั้งปวง เช่น อิจฉา ความอยาก  ปาปิจฉา- ความอยากอย่างชั่วช้า  มหิจฉา- ความอยากรุนแรง อภิชฌาวิสมโลภะ -
ความอยากได้ถึงขั้นเพ่งเล็ง ความอยากที่เกิดมากขึ้น จะก่อให้เกิดความชั่วในตัวเองตามมา.......   วิธีแก้ไขความอยากคือการใช้สติ ระลึกรู้ในตน

2. โทสะ ความคิดประทุษร้าย ...... โทสะ คือ ความคิดประทุษร้าย ได้แก่ การอยากฆ่า การอยากทำลายผู้อื่นๆ ความคิดประทุษร้ายเป็นรากเหง้าให้เกิดกิเลสได้หลายอย่าง เช่น ปฏิฆะ -ความหงุดหงิด โกธะ- ความโกรธ อุปนาหะ - ความผูกโกรธ พยาบาท ความคิดปองร้าย ถ้าปล่อยให้มีโทสะมาก ผู้นั้นจะเป็นคนชั่ว คนพาล และเป็นภัยต่อสังคม ....... วิธีแก้ไขโทสะ คือการใช้สติระงับตน และฝึกตนให้เป็นผู้มีอโทสะ

3. โมหะ ความหลงไม่รู้จริง.........  โมหะ คือ ความหลงไม่รู้จริง ได้แก่ ความไม่รู้ไม่เข้าใจ ความมัวเมา ความประมาท เป้นรากเหว้าให้เกิดกิเลสได้ต่างๆมากมาย เช่น มักขะ- การลบหลู่คุณท่าน ปลาสะ - ตีเสมอ มานะ ถือตัว มทะ- มัวเมา ปมาทะ- เลินเล่อ โมหะทำให้ขาดสติ ไม่รู้ผิดชอบร้ายแรงกว่าโลภะ และโทสะ รวมทั้งส่งเสริมให้โลภะและโทสะมีกำลังมากขึ้นยิ่งด้วย .......วิธีที่จะทำให้โมหะลดลงนั้นจะต้องปฏิบัติตนเป็นผู้ที่มี อโมหะ ความไม่หลงงมงาย

เมื่อเรารู้ว่าอกุศลมูล3 หรือต้อนตอของความชั่วทั้งปวงมีอะไรบ้างแล้ว เราลองมาดู กุศลมูล3 กันบ้างนะคะ ........ กุศลมูล 3 หมายถึง รากเหง้าหรือต้นตอของความดีทั้งปวง ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ตรงกันข้ามกับ อกุศลมูล มี 3 ประการดังนี้


1. อโลภะ ความไม่อยากได้ ......อโลภะ คือ ความเป็นผู้ไม่มีความทะยานอยาก เป็นผู้ที่มีสติระลึกรู้ตัวอยู่เสมอไม่ว่าจะกระทำสิ่งใดๆ มีแต่ความยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่เท่านั้น .......การปฏิบัติตนเป็นผู้มีอโลภะนั้น จะต้องปฏิบัติธรรมที่ตรงกันข้ามกับโลภะ เช่น สันโดษ - ความพอใจ ทาน- การบริจาค จาคะ-  การเสียสละ อนภิชฌา -ความไม่โลภไม่อยากได้ของผู้อื่น เป็นต้น

2. อโทสะ ความไม่คิดประทุษร้าย....... อโทสะ คือ การไม่คิดประทุษร้าย ไม่โกรธ ไม่ผูกพยาบาท จะทำอะไรก็มีสติรู้สึกตัวอยู่เสมอใช้ปัญญาในการประกอบการตัดสินใจต่างๆ ...... การปฏิบัติตนเป็นผู้มีอโทสะนั้น จะต้องปฏิบัติธรรมที่ตรงกันข้ามกับโทสะ เช่น เมตตา - ความปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข กรุณา- ความ
สงสาร อโกธะ- ความไม่โกรธ อพยาบาท -ความไม่ปองร้ายผู้อื่น อวิหิงสา -ความไม่เบียดเบียน ตีติกขาขันติ- ความอดทนต่อความเจ็บใจ เป็นต้น

3. อโมหะ ความไม่หลง ..... อโมหะ คือ ความไม่หลงงมงาย ไม่ประมาทอันเป็นสาเหตุให้เกิดความชั่วทั้งปวง ให้เป็นผู้มีสติปัญญามั่นคงใช้ปัญญา พิจารณาไตร่ตรองโดยยึดหลักเหตุผล เมื่อมีอโมหะเกิดขึ้นกับตัวแล้ว โลภะ โทสะ และโมหะ ก็มิอาจเกิดขึ้นได้ ..... การปฏิบัติตนเป็นผู้มีอโมหะนั้น จะต้องปฏิบัติ ธรรมที่ตรงกันข้ามกับโทสะ เช่น พาหุสัจจะ- ความเป็นผู้ศึกษารับฟังมาก วิมังสา- หมั่นตรึกตรองพิจารณา สัทธา เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ โยนิโสมนสิการ- การรู้จักตรึกตรองให้รู้จักดีชั่ว ปัญญา รอบรู้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ เป็นต้น

เพื่อนๆก็รู้จักทั้ง อกุศลมูล3 และกุศลมูล3 แล้วนะคะ .... ชีวิตเราแม้จะเลือกเกิดไม่ได้ แต่เราก็เลือกทำความดีได้ ในเมื่อเรารู้ต้นตอของทั้งความชั่ว และต้นตอของความดี  ถ้าเพียงแต่เราเลี่ยงที่จะทำสิ่งที่เป็นอกุศลซะ และพยายามทำสิ่งที่เป็นกุศล ชีวิตเราก็จะพบแต่ความสุขและความสบายใจ เชือ้หรือไม่เชื่อก็ต้องลองดูหละค่ะ


1 ความคิดเห็น:

-