ทักทาย

แม่หมอขอแนะนำตัวเองก่อนเลยนะคะ ก็เป็นผู้หญิงธรรมด๊าธรรมดาคนนึง อาจดูเหมือนเป็นสาวมั่นที่ลุ๊คดู เปรี้ยวไปบ้างเล็กน้อย ..... ส่วนใหญ่วันๆ ก็ทำงาน หาเงิน (แล้วก็อยากรวย) ว่างๆก็ใช้เงิน หาเงิน วนเวียนอยู่กับเงิน อยู่กับงาน อยู่กับครอบครัว ชีวิตหมดไปอย่างงี้แหละค่ะทุกๆวัน ..... แล้วมาวันนึงก็ให้รู้สึก เหนื่อยกับชีวิต บางครั้งก็คิดว่า เอ๊ะทำไมคนนั้นต้องทำกับเราอย่าง นี้ คนนี้ต้องทำกับเราอย่างนั้นด้วย รึทำไมน๊าถึงซวยอย่างนี้ และอื่นๆอีกมากมาย .....คราวนี้ก็มาลองคิดดู คิดไปคิดมาก็ให้รู้สึกเหมือนตัวเองไม่ค่อยมีความสุขเท่าไหร่ แต่คงเป็นโชคดีที่ตัวเองเป็นคนชอบอ่าน วันนึงก็เลยลองหยิบหนังสือแนว ธรรมะขึ้นมาอ่าน(กะอ่านเล่นๆ)... แล้วก็เริ่มเห็นจริงในบางเรื่อง ....แล้วก็เริ่มเอามาปรับใช้ในชีวิตจริง ..... สุดท้ายศรัทธาก็เกิดและชีวิตก็มีความสุขขึ้นตามลำดับ ......... แม่หมอคิดว่า คนเราเลือกที่จะมีความสุขได้นะคะ อยู่ที่เราจะเลือกรึเปล่า และกฎแห่งกรรมก็มีจริงค่ะอาจช้าไปบ้าง เร็วไปบ้าง แต่มีจริงแน่นอนค่ะ ..... ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปรัชญา เป็นศาสนาที่เน้นแนวคิด.... บางครั้งเราอาจคิดว่าห่างไกลกับชีวิตประจำ วันของเรา หรือ บางคนอาจคิดว่าวัยยังไม่ถึงยังไม่แก่ซะหน่อย ....แต่ไม่ลองไม่รู้ค่ะ แม่หมอเลยอยากชวนเพื่อนๆให้มาเริ่มศึกษาธรรมะไปพร้อมๆกับแม่หมอ เราจะเดินไปด้วยกันสู่เส้นทางสายธรรมเพื่อความสุขที่เราเลือกจะมีค่



a

วันอาทิตย์

โปรดอนาถปิณฑิกเศรษฐี

 ก่อนกาลที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จสู่กรุงกบิลพัสดุ์เพื่อโปรดศากยะวงศ์นั้น .... สมัยเมื่อพระธรรมของพระองค์แพร่หลายไปในหมู่มหาชนล่วงแล้วได้หลายพรรษา แคว้นมคธมีความเจริญรุ่งเรือง มีการติดต่อค้าขายกับแคว้นอื่นๆ อาทิ แคว้นโกศล ที่มีพระราชาชื่อปเสนทิ และมีนครสาวัตถึเป็นเมืองหลวง ..... ที่นครแห่งนี้มีคหบดีนายหนึ่งนามว่า สุทัตต เป็นขุนคลังของพระราชา เป็นผู้มัธยัสถ์แต่ใจบุญ ชอบที่จะมอบทานแก่คนยากจนทั่วไปไม่เลือกหน้า จนได้ชื่อว่า อนาถปิณฑิก อันมีความหมายว่า เป็นผู้ให้แก่คนอนาถา

อนาถปิณฑิกผู้นี้มีญาติอยู่แคว้นมคธ วันหนึ่งได้เดินทางมาเพื่อประกอบธุรกิจส่วนตัวและแวะเยี่ยมญาติที่กรุงราชคฤห์........  ซึ่งน้องสาวและน้องเขยกำลังจัดหาอาหารไปถวายแด่องค์พระศาสดา พระพุทธเจ้าพร้อมพระภิกษุที่วัดป่าไผ่เวฬุวัน  ... ซึ่งอนาถปิณฑิกได้ไต่ถามความ และเคยได้ยินเรื่องราวของพระพุทธเจ้ามาก่อน จึงปราถนาที่จะเข้าเฝ้า จึงได้ตาม น้องสาวและน้องเขยไปยังวัดป่าไผ่เวฬุวัน

เมื่ออนาถปิณฑิกเข้าสู่ที่ประทับและรอจนพระศาสดาเสวยพระกระยาหารเสร็จ ก็ขอเข้าเผ้าและกราบทูลให้พระองค์ทรงทราบถึงปัญหาธรรมที่สงสัย........ เกี่ยวกับผู้สร้าง และผลงานของผู้สร้าง จากความมีอำนาจอย่างยิ่งของเทพเจ้าที่เขานับถืออยู่ .... สิทธัตถะศาสดาทรงมองเห็นอุปนิสัยอันมีเมตตาเป็นรากฐานของเศรษฐีแห่งกรุงสาวัตถี จึงได้มีดำรัสตอบปัญหาที่เขาสงสัย มีความเป็นปฏิปุจฉาธรรมดังต่อไปนี้

"ดูก่อนท่านเศรษฐี หากมีปัญหาขึ้นว่า ใครเป็นผู้สร้างรูปและชีวิตให้แก่เรา  เทพเจ้าคือพระพรหมเป็นผู้สร้างนั้นหรือ   หากมนุษย์ทั้งหลายพากันเชื่อเช่นนี้ มนุษย์ทั้งหลายก็จำต้องยอมตนให้แก่ผู้มีอำนาจเหนือตน คือผู้สร้างและให้ชีวิตแก่ตน มนุษย์ย่อมมีสภาพเหมือนวัตถุอันสำเร็จมาจากมือนายช่างหม้อ"

"ดูกรท่านเศรษฐี  หากมนุษย์เชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างโลก เป็นผู้สร้างสรรพสิ่งในโลก มนุษย์ทั้งหลายจักไม่ต้องมีความทุกข์ใจ เศร้าเสียใจ เพราะสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นมาจากพรหม เป็นสมบัติของพรหมผู้สร้าง ไม่ใช่สมบัติที่มนุษย์เป็นผุ้กระทำ บุญบาปย่อมไม่มีแก่มนุษย์เลย"

" ถ้ามนุษย์ทั้งหลายไม่เชื่อพรหม แต่อ้างว่ามีอำนาจอื่นใดที่ยิ่งกว่าพรหม มาเป็นผู้สร้างชีวิตเรา สิ่งเหล่านี้เป็นไปไม่ได้เลย ดูกรท่านเศรษฐี ตถาคตขอบอกว่า ไม่มีสิ่งมีอำนาจอันใดเป็นผู้สร้าง ชีวิตของเรา สรรพสิ่งทั้งหลายโดยรอบตัว มาจากเหตุของมันเอง เหมือนพืชผักออกมาจากเมล็ดผักนั้นเอง  ... มีลางคนบอกว่า ตนเป็นผู้สร้างตนเอง แต่มีปัญหาว่าเหตุใดตนจึงไม่สร้างสิ่งที่พอใจให้แก่ตนเอง ความดสมนัสใจ และความน่ารักน่าใคร่น่ายินดีทั้งหลายที่เกิขึ้นนั้น เหตุใดจึงสร้งความโทมนัสใจให้แก่ตนเอง "

" หากคนทั้งหลายยอมรับข้อโต้เถียงอันนี้ว่า ไม่มีใครเป็นผู้สร้างนอกจากพรหม เราก็ค้นคว้าไม่ได้ว่าเหตุใดพรหมจึงสร้างสิ่งอันไม่เป็นที่ปรารถนาให้มนุษย์ด้วย ..... ตถาคตขอบอกว่า  ผู้สร้างนั้นไม่ใช่พรหม ไม่ใช่เทพผู้มีอำนาจสูงองค์ใด ไม่ใช่ตัวเอง ไม่ใช่ความเคลื่อนไหวอื่นใด .... ผู้สร้างร่างและชีวิตทั้งหลายคือกรรม ได้แก่การกระทำของเราเอง กรรมเป็นผลให้เกิดความโทมนัส และความยินดี ทั้ง2อย่าง  ความดีและความชั่วที่เกิดมาจากเหตุคือการกระทำของเราทั้งหลายเอง "

" ดูกรท่านเศรษฐี โลกแห่งสรรพสัตว์นี้ ตกอยู่ในกฏแห่งความเป็นเหตุผลของกันและกัน  วัตถุที่เรียกว่าทองคำเพราะทำสำเร็จด้วยทองคำ จะเป็นเหตุอื่นทำให้เป้นทองคำนั้นเป็นไม่มี"

เทศนาอันเป็นปฏิปุจฉาของศาสดาสิทธัตถะพุทธะอันแสดงแก่เศรษฐีอนาถปิณฑิก โดยสังเขปมาถึงตรงนี้  ........ ท่านเศรษฐีเกิดความโสมนัสในธรรมจึงกราบทูลว่าตัวเขานั้นใกล้จะมองเห็นความจริงในธรรม พระธรรมได้ทำลายความมืดในใจเขาที่เคยมีอยู่ให้เกิดความสว่างไสวขึ้นมาบ้างแล้ว  จึงกราบทูลขอให้พระศาสดาทรงแนะนำแก่เขาว่าควรจะดำเนินชีวิตอย่างไรต่อไปจึงจะเป็นสุขอยู่ในเพศแห่งการครองเรือน.......... สิทธัตถะบรมศาสดาจึงมีรับสั่งว่า  ความสุขสงบที่พระองค์และสาวกผู้เป็นอรหันต์ของพระองค์ได้ทรงทราบและอาศัยทางดำเนินอันถูกต้อง8ประการ (อัฏฐังคิกมรรค) ทางเหล่านั้นได้เปิดให้คนทั้งหลายเดินไปโดยอิสระ ผู้ใดเดินตามทางเหล่านั้นก็จะพบความสุขสงบที่ปรารถนา

" ดูกร ท่านเศรษฐี บุคคลผู้ใดที่ติดอยู่กับสุขสมบัติ จงละทิ้งสุขสมบัตินั้นเสียเพื่อไม่ให้ติดอยู่ เพราะจักเกิดพิษแก่ตนเอง .... ผู้ครองเรือนทั้งหลายย่อมปรารถนาความสุขและสมบัติด้วยกัน แต่อย่าปล่อยให้ใจตกเป็นทาสมัน จงใช้สุขและสมบัติให้ถูกทาง จงมีเมตตา สละสมบัตินั้นๆแก่ผู้อื่นบ้างก็จะมีความสุขที่ตมปรารถนาในฐานะผู้ครองเรือนได้ .... ดูกรท่านเศรษฐี ชีวิตของผู้ครองเรือนจะหาความสงบได้ ต้องเป็นชีวิตที่ขยันหมั่นเพียร การไม่มีความเพียรเป็นมลทินของผู้ครองเรือน ... ชีวิตของคนไม่จำเป้นต้องออกจากบ้านมาอยู่ป่า ดำเนินชีวิตอยู่กับบ้าน อยู่ภายในโลกให้ถูกต้อง ก็จะพบความสุขได้ในฐานะผู้ครองเรือน"

เศรษฐีอนาถปิณฑิกได้กล่าวคำสรรเสริญในธรรมของสิทธัตถะศาสดา........  กราบทูลว่าตนเห็นธรรมตามคำสั่งสอน และขอปฏิเสธธรรมของคณะจารย์อื่นที่เคยฟังมา และกราบทูลเชิญเสด็จกรุงสาวัตถึ แคว้นโกศลหากพระองค์จะกรุณาก็จะยังประโยชน์แก่ชาวโกศลและปเสนทิราชาโดยแท้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

-