ทักทาย

แม่หมอขอแนะนำตัวเองก่อนเลยนะคะ ก็เป็นผู้หญิงธรรมด๊าธรรมดาคนนึง อาจดูเหมือนเป็นสาวมั่นที่ลุ๊คดู เปรี้ยวไปบ้างเล็กน้อย ..... ส่วนใหญ่วันๆ ก็ทำงาน หาเงิน (แล้วก็อยากรวย) ว่างๆก็ใช้เงิน หาเงิน วนเวียนอยู่กับเงิน อยู่กับงาน อยู่กับครอบครัว ชีวิตหมดไปอย่างงี้แหละค่ะทุกๆวัน ..... แล้วมาวันนึงก็ให้รู้สึก เหนื่อยกับชีวิต บางครั้งก็คิดว่า เอ๊ะทำไมคนนั้นต้องทำกับเราอย่าง นี้ คนนี้ต้องทำกับเราอย่างนั้นด้วย รึทำไมน๊าถึงซวยอย่างนี้ และอื่นๆอีกมากมาย .....คราวนี้ก็มาลองคิดดู คิดไปคิดมาก็ให้รู้สึกเหมือนตัวเองไม่ค่อยมีความสุขเท่าไหร่ แต่คงเป็นโชคดีที่ตัวเองเป็นคนชอบอ่าน วันนึงก็เลยลองหยิบหนังสือแนว ธรรมะขึ้นมาอ่าน(กะอ่านเล่นๆ)... แล้วก็เริ่มเห็นจริงในบางเรื่อง ....แล้วก็เริ่มเอามาปรับใช้ในชีวิตจริง ..... สุดท้ายศรัทธาก็เกิดและชีวิตก็มีความสุขขึ้นตามลำดับ ......... แม่หมอคิดว่า คนเราเลือกที่จะมีความสุขได้นะคะ อยู่ที่เราจะเลือกรึเปล่า และกฎแห่งกรรมก็มีจริงค่ะอาจช้าไปบ้าง เร็วไปบ้าง แต่มีจริงแน่นอนค่ะ ..... ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปรัชญา เป็นศาสนาที่เน้นแนวคิด.... บางครั้งเราอาจคิดว่าห่างไกลกับชีวิตประจำ วันของเรา หรือ บางคนอาจคิดว่าวัยยังไม่ถึงยังไม่แก่ซะหน่อย ....แต่ไม่ลองไม่รู้ค่ะ แม่หมอเลยอยากชวนเพื่อนๆให้มาเริ่มศึกษาธรรมะไปพร้อมๆกับแม่หมอ เราจะเดินไปด้วยกันสู่เส้นทางสายธรรมเพื่อความสุขที่เราเลือกจะมีค่



a

วันพุธ

สมาธิระดับฌาน

เรียนรู้ธรรมะไปกับแม่หมอวันนี้ในหัวข้อฝึกสมาธิ  แม่หมอจะพาเพื่อนๆไปรู้จักกับคำว่าฌาน หรือระดับสมาธิขั้นสูงค่ะ  ก่อนอื่นเรามาฟื้นความจำกันก่อนนะคะว่า สมาธิแบ่งออกเป็น3ระดับคือ

1.ขณิกสมาธิ หรือสมาธิชั่วขณะ เป็นสมาธิขั้นต้น ซึ่งอาจใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่การงานประจำวันให้ได้ผลดี เป็นจุดเริ่มของการเจริญวิปัสสนา

2. อุปจารสมาธิ หรือสมาธิเฉียดๆ สมาธิจวนจะแน่วแน่ .....เป็นสมาธิขั้นระงับนิวรณ์  หรือสมาธิที่สามารถผ่านอุปสรรคหลักไปได้ อันได้แก่ ..... 1.กามฉันท์ (ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น ในกามคุณทั้ง5 คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส) ..... 2.พยาบาท (ความขัดเคืองแค้นใจ ความเกลียดชัง ผูกใจเจ็บ คิดร้ายต่อผู้อื่น ความโกรธ ความหงุดหงิด ความฉุนเฉียว)....... 3.ถีนะมิทธิ ( ถีนะหมายถึง อาการทางใจ ที่มีความหดหู่ ห่อเหี่ยว ท้อแท้ ซึมเซา เหงาหงอย ละเหี่ย เซ็ง  มิทธิหมายถึงอาการทางกาย ที่มีความเซื่ิองซึม เฉื่อยชา ง่วงเหงาหาวนอน ).....4. อุทธัจจกุกกกุจจะ (อุทธัจจะ หมายถึง จิตที่ฟุ้งซ่าน ไม่สงบ  พล่านไปมา กุกกกุจจ หมายถึงความวุ่นวายใจ รำคาญใจ ระแวง เดือดร้อนใจ กลุ้มใจ กังวลใจ ) ..... 5.วิจิกิจฉา (ความลังเล สงสัย เคลือบแคลง ไม่แน่ใจ เกี่ยวกับองค์พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์  )   ....... หากสมาธิสามารถระงับนิวรณ์5ได้ก็พร้อมเข้าสู่ภาวะแห่งฌาน

3. อัปปนาสมาธิ หรือสมาธิแน่วแน่ เป็นสมาธิระดับสูงสุดหรือที่เรียกว่าฌาน ถือว่าเป็นผลสำเร็จของการเจริญสมาธิ

การฝึกสมาธิ เป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกันระหว่างร่างกาย ความรู้สึก ความคิด ระบบสมอง และจิตใจนะคะ ........  การเริ่มต้นสมาธิส่วนใหญ่มักจะเริ่มจากการภาวนา เพื่อให้ร่างกายสงบ  ใจสงบ อารมณ์สงบ  ..... อาจมีบ้างที่กิเลสที่ฝังอยู่ในกมลสันดานจะเผยออกมาตอนเราทำสมาธิ ก็ให้พิจรณาแค่รู้ว่ายังมีผลต่อจิต โดยยังไม่ต้องพิจรณารายละเอียดของอารมณ์ ให้แค่รู้ ......   เมื่อภาวนาจนจิตสงบได้ สติจะเกิด จิตก็จะเริ่มพัฒนาขึ้นเป็นสมาธิในขั้นแรกที่เรียกว่าขณิกสมาธิ ...........จากนั้นเมื่อ มีความมานะพยายามต่อเนื่อง พร้อมๆกับขจัดกิเลสในจิคใจลง จนสามารถระงับนิวรณ์5ได้ก็จะเป็นการเข้าสู่ อุปจารสมาธิ ............และเมื่อใดที่เริ่มมีสัญญานว่าสติรับรู้ได้ยินเสียงของความเงียบ เกิดสภาพว่างเปล่าที่ต่อเนื่องพร้อมที่จะเกิดปัญญาเพื่อพิจรณาเหตุและผลของสภาวะธรรม มองทุกอย่างที่เกิดเป็นเรื่องธรรมดาของโลก รู้อะไรก็ปล่อยไป  และเริ่มที่จะจัดระเบียบในสมองที่จะพิจรณาเรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นว่าเป็นเรื่องของกาย เวทนา จิต และธรรม ถ้าสามารถรักษาสภาพให้นิ่งอยู่อย่างนั้นได้ต่อเนื่อง  ก็จะเป็นการเริ่มเข้าสู่ฌาน หรืออัปนาสมาธิ  ..... สภาพของฌาน จะต้องแจ้งโดยปราศจากข้อสงสัย จะรู้แจ้งด้วยตัวของตัวเอง  ความรู้สึกนึกคิดเหตุและผลของการเรียนรู้ที่ผ่านมา จะค่อยๆถูกจัดให้เป็นหมวดหมู่ พิจรณาได้ว่าเป็นเรื่องของกาย เวทนา จิต และธรรม เป็นการรู้เห็นอย่างประเสริฐ

ฌาน จึงหมายถึง การเพ่งพินิจด้วยจิตที่เป็นสมาธิแน่วแน่ถึงขั้นอัปนาสมาธิ  เป็นสภาพว่างเปล่าที่ปราศจากเครื่องกีดขวางใดๆ พร้อมจะเกิดปัญญาเมื่อเริ่มต้นพิจรณาในเหตุและผลของสภาวะธรรม  ซึ่งแบ่งออกเป็น8ขั้น รูปฌาน4ขั้น และอรูปฌานอีก4ขั้น  ดังนี้ค่ะ
 
รูปฌาน คือฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์

 การพิจรณาสภาวะธรรมจะเริ่มจาก สติปัฏฐาน4 อันได้แก่ 1. กายานุปัสสนาสติปัฏฐานา (การพิจรณาว่ากายนี้เป็นของไม่เที่ยง ไม่ใช่ของเรา) .... 2.เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐานา ( การพิจรณาว่า อารมณ์ทั้งหลายเป็นของแปรปรวน ไม่แน่นอน ) ...... 3. จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐานา (จิตเป้นของอ่อนไหว คิดได้ตลอดเวลา ไม่แน่นอน เป็นของว่างเปล่า) .....4. ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐานา ( ควมเปลี่ยนแปลงของโลกเกิดอยู่ทุกขณะจิต เป็นธรรมชาติของโลกเกิดขึ้นวนเวียนไม่จบสิ้น อันทำให้เกิดทุกข์ )  รวมเรียกว่า กาย เวทนา จิต ธรรม เป็นของไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ......... ซึ่งก็ต้องพิจรณาไปกับ ขันธ์ 5 (ส่วนประกอบของมนุษย์ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาน)  ปฏิจจสมุปบาท (เหตุและผลที่เกี่ยวเนื่องในสรรพสิ่ง)  .......

การเริ่มต้นพิจรณารูปกายอันเป็นส่วนหนึ่งของขันธ์5 ให้พิจรณาความเป็นจริงจนเกิดความเบื่อหน่ายเริ่มจาก เกศา โลมา นขา ทันตา ตะโจ (ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง) แล้วพิจรณากลับไปมา  .....เมื่ออยู่ในฌานที่พิจรณารูปกายนี้ สภาวะธรรมจะเกิดไปเรื่อยๆ สติเป็นตัวควบคุม ปัญญาเป้นตัวรู้หาเหตุผล ......หลังจากพิจรณารูปกายจนหมดสิ้น สภาวธรรมของอารมณ์จะปรากฏในฌาน ที่เรียกว่า เวทนา ก็เอาเวทนานุปัสสนา สติปัฏฐานา เทียบให้เห้นสภาพความเป็นจริงในฌานพิจรณาเช่นเดียวกับกาย ......เมื่อหมดจากเวทนาหรืออารมณ์  ต่อไปก็จะเป้นสภาวธรรมของสัญญา หรือความทรงจำ  สภาวธรรมในอดีตตั้งแต่เล็กจนโตที่สามารถระลึกจำได้ .........การพิจรณาสภาวะธรรมแห่งสัญญานี้ ให้ใช้จิตตานุปัสสนาเป็นข้อพิจรณาให้เห็นสภาพอันแท้จริง ซึ่งเป้นของไม่มีตัวตน เป็นสิ่งที่ผ่านมาแล้ว ยึดถือไม่ได้  ภาพที่ปรากฏจะทำให้คล้อยตาม  หากเชื่อหรือยึดถือว่าเคยเกิดขึ้นมาแล้วจริง เวทนาก็จะบังเกิดขึ้นอีก แสดงว่าสัญญายังมีอำนาจจิต ก็จะยังไม่หลุดพ้น ..... แต่หากก้าวข้ามผ่านสิ่งที่เรียกว่าตัวตนออกไป เป็นการก้าวข้ามพ้นธรรมชาติ  สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นกับร่างกายก็คือผู้ปฏิบัติจะมีสภาพร่างกายและประสาทสัมผัสเป็นทิพย์ จากที่พ้นความเป็นธรรมชาติ ซึ่งเป้นผลพลอยได้จากการปฏิบัตินั่นเอง ....

ระดับของรูปฌาน4ขั้น มีศัพท์ที่ต้องทำความเช้าใจคือ  วิตก คือความตรึกของอารมณ์ ..... วิจาร คือความตรองหรือพิจรณาอารมณ์ .... ปีติคือความปลาบปลื้มในอารมณ์ ความอิ่มใจ...... เอกัคคตา คือความมีอารมณ์เป็นหนึ่ง เรามาดูรายละเอียดของระดับ รูปฌาน4ขั้นกันเลยนะคะ

1.ปฐมฌาณ ผู้ที่ได้ฌานระดับ1 ยังมี วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ..... ย่อมมีวิตก นึกถึงกรรมฐานอย่างเดียว วิจารพิจารณากรรมฐานอย่างเดียว ปิติอิ่มใจในกรรมฐานเท่านั้น สุขสบายใจในกรรมฐาน เอกัคคตารู้เฉพาะกรรมฐานอย่างเดียว.... เป็นสภาวะที่สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอุศลกรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ซึ่งมี วิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่

2. ทุติยฌาณ ผู้ที่ได้ยังฌานระดับ2 ไม่มี วิตก วิจาร  มีแต่ปิติ สุข เอกัคคตตา..... การบรรลุทุติยฌาน จะมีความผ่องใสแห่งจิตใจภายใน มีภาวะใจเป็นหนึ่งผุดขึ้น..... ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารระงับไป มีแต่ปีติและสุข เกิดแต่สมาธิอยู่

3. ตติยฌาน ผู้ที่ได้ฌานระดับ3 จะยังคงมีแต่ สุขและเอกัตตา...... เพราะปีติจางไป จึงมีอุเบกขาอยู่ มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยกาย ..... การบรรลุตติยฌานพระอริยทั้งหลายกล่าวว่าเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข

4. จตตุถญาณ ผู้ที่ได้ฌานระดับ4 จะมีแต่อุเบกขาและเอกัตตา .....เปลี่ยนสุข เป็น อุเบกขา พร้อมกับมี เอกัคคตาเท่านั้น .... เพราะละสุข ละสุขละทุกข์ และเพราะโสมนัสโทมนัสดับหายไปก่อน จึงบรรลุจตุฌาน อันไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาอยู่

เมื่อได้ จตตุถฌาณแล้ว อภิญญาย่อมเกิดขึ้นได้ถึง 5 อย่างคือ

1. อิทธิวีดี อภิญญา - แสดงฤทธิได้

2. ทิพทโสต อภิญญา - หูทิพย์ฟังเสียงมนุษย์และเทวดาที่อยู่ในไกลหรือสามัญชนได้

3. ปรจิตต วิชานน อภิญญา - รู้วาระจิตคนอื่นได้

4. ปุพเพนิวาสานุสสติ อภิญญา - ระลึกความเป็นอยู่ในชาติก่อนๆ ได้

5. ทิพพจักขุ อภิญญา - ตาทิพย์เห็นได้ไกล อันสามัญชนเห็นไม่ได้


อรูปฌาน คือ ฌานที่มีอรูปธรรมเป็นอารมณ์

ฌานที่เป็นอรูปฌานนี้  อยู่ในสภาวะว่าง เคลื่อนไปมาได้นึกถึงที่ใดก็ไปได้ทันทีเพราะละเอียดลึกซี้กว่ารูปฌาน4ที่จิตยังอาศัยอยู่ในกาย จะเป็นอิสระ.... ซึ่งสภาวะธรรมของรูปฌาน4ที่เกิดเป็นสัญญาของชาติกำเหนิดในภพปัจจุบัน การรู้ได้หมายจำเหตุผลต่างๆ...... เมื่อจิตหลุดไม่ผูกพันกับสิ่งใดสัญญาที่มากระทบในฌานไม่สามารถทำลายสติให้หวั่นไหวได้ จะเกิดญานทัศนะที่เรียกว่า บุพเพนิวาสนุสติญาน ปัญญาที่เกิดจากการทรงฌานจะเกิดวิชชา....... เป็นการก้าวข้ามผ่านพ้นกฏเกณฑ์ของธรรมชาติเบื้องต้นในเรื่องภพชาติ ร่างกายจะแยกจากจิตที่ปฏิบัติหรือที่เรียกว่าถอดจิตได้

การพิจรณาสภาวะธรรมในขั้นอรูปฌาน สัญญาที่เกิดขึ้นจึงเป็นเรื่องภพภูมิ ชาติกำหนิดที่ผ่านมาทุกภพทุกชาติ .... สติจึงต้องคุมฌานให้จิตและปัญญาดำรงต่อไปได้อย่าหวั่นไหวเพราะสงสารหรือเวทนา เรื่องราวในสัญญาที่ต้องพิจรณามีอยู่มาก ผู้ปฏิบัติจะต้องใช้ปฏิภาณในฌานพิจรณาให้รวดเร็ว ...... กล่าวคือต้องใช้ทั้งปฏิภาณและปัญญาที่จะรวบรวมสภาวะธรรมให้เป็นหมวดหมู่ โดยใช้จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐานาพิจรณาสัญญาว่าเป็นของไม่เที่ยงเป็นของสมมุติ ผูกมัดเราไม่ได้ ไม่มีผลต่อสติและฌาน......  ต้องใช้อุเบกขาให้มั่นคง พิจรณาให้ลึกซึ้งเป็นอริยสัจ ...... กิเลสฝ่ายกุศลกรรมในพรหมวิหารธรรมคือ เมตตา กรุณา มุทิตา ก็จะถูกพิจรณาให้หลุดพ้นไปจากจิตในฌานด้วย .... อรูปฌานนี้จะเป็นการตรวจสอบตนเองว่าเคยทำกรรมใดมา มีจิตสัมผัสกับกรรมใด  ขาดกุศลกรรมใดอยู่  และมีบารมีธรรมที่จะกำหนดอธิษฐานกำเหนิดของตัวเองเพื่อแสวงหาบุญกุศลตามปัจจัยที่ขาดอยู่..... ผู้ที่ทรงฌานในอรูปฌานจะเป็นผู้รู้กรรมของสัตว์โลกคือรู้กรรมของตนเองและรู้กรรมของผู้อื่นทั้งในอดีตและอนาคต

จิตจะพัฒนาต่อไปจากสัญญาของภพชาติไปสู่สภาวะธรรมของสังขารและวิญญานโดยใช้ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานาขึ้นเปรียบเทียบ พิจรณาเรื่อง ภพ ชาติ เวทนา ชรา มรณา เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งหลายให้ก่อเกิดทุกข์ ปัญญาจะแยกแยะเป็นหมวดหมู่ เดินหน้าถอยหลัง รวบรวมเป็นเหตุและผล พิจรณาสภาวธรรมของสังขารและวิญญาน สรรพสิ่งในวัฏสงสาร อริยสัจจะปรากฏ  สามารถแยกแยะ รู้สภาวะรรมของโลกที่เป็นสากล มองสภาพของมรรค8เป็นสัจ มรรคที่ครบองค์8จะอยู่ในสภาพที่มีเสถียรภาพทันที ....

การมีชีวิตอยู่ในสภาพที่เหนือธรรมชาติของผู้ปฏิบัติที่อยู้ในอรูปฌาน นี้ องค์ประกอบของชีวิตยังอยู่ครบสมบูรณ์  สติที่ควบคุมร่างกายจากการปฏิบัติธรรมจะทำให้จิตมีพลังllแรงกล้า อธิษฐานจิตสิ่งใดก็เป็นไปได้ตามประสงค์....... กระบวนการทางร่างกายจะเปลี่ยนไป รูปกายที่จิตอาศัยปฏิบัติธรรมอยู่จะเกิดสภาวะที่ผิดธรรมชาติ ไม้ได้รับประทานอะไรก็อยู่ได้ นั่งปฏิบัติธรรมนานเท่าไหร่แผลกดทับจึงไม่มี  เมื่อสิ้นชีวิตร่างกายไม่เน่าเปื่อย ดังพระอริยสงฆ์บางรูปที่กระดูกกลายเป้นพระธาตุ นั่งคือสิ่งที่เกิดขึ้นในอรูปฌานนั่นเอง ...........และหากผู้ปฏิบัติสิ้นอายุขัยในภพชาตินี้จะไปอุบัติเป็นพรหมในพรหมโลกที่ไม่มีรูปกาย...

ลำดับของอรูปฌาน4ขั้น มีดังนี้

5. อากาสานัญจายตนฌาณ ฌานระดับ5 ฌานอันกำหนดอากาศ ช่องว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์

6. วิญญาณัญจายตนฌาณ ฌานระดับ6  ฌานอันกำหนดวิญญาณหาที่สุดไม่ได้เป็นอารมณ์

7. อากิญจัญญายตนฌาณ  ฌานระดับ7  ฌานอันกำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรเป็นอารมณ์

8 .เนวสัญญานาสัญญายตนฌาณ ฌานระดับ8 ระดับสูงสุด ฌานอันเข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่

นิโรธสมาบัติ

นิโรธสมาบัติเป็นสภาพภายนอกที่เป็นสัมผัสจริง มืใช่เป็นจิตที่อยู่ในฌานต่อเนื่องจากฌาน8 เพราะนิพพานต้องอาศัยรูปกายที่เป็นขันธ์5ของมนุษย์ เป็นที่ดับสงสาร จิตยังมีกรรมอยู่กับสิ่งที่เรียกว่ารูปกาย การจะดับสิ่งที่เรียกว่าอยู่ในตัวตนจึงต้องดับให้หมดทั้ง5ขันธ์

นิโรธสมาบัตินี้เป็นความสามารถพิเศษของพระอนาคามีและพระอรหันต์ ซึ่งจะเข้าถึงได้ด้วยการอธิษฐานจิต และเจริญรูปฌาน4และอรูปฌาน4ตามลำดับ เมื่อเข้านิโรธสมาบัติ วจีสังขารจะดับก่อน ต่อมากายสังขารดับ ส่วนจิตตสังขารดับทีหลัง เมื่ออยุ่ในสมาธิจนครบเวลาที่ได้อธิษฐานจิตไว้เมื่อก่อนเข้าแล้ว พอถึงเวลาจะออกจากสมาบัติ จิตตสังขารจะเกิดขึ้นก่อน กายสังขารจะเกิดตาม ส่วนวจีสังขารเกิดทีหลัง

ผู้ที่เข้านิโรธสมาบัติ หากดูจากภายนอกกับคนที่ตายแล้วจะเหมือนกัน เพราะ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขารดับไป แต่ต่างกันก็คือ ผู้ที่เข้านิโรธสมาบัติอายุยังไม่สิ้น ไฟธาตุยังไม่ดับ อินทรีย์ยังไม่แตก เพราะฉะนั้นตัวยังอุ่น ร่างกายไม่เน่าเปื่อยแม้จะอยู่ในสมาบัติถึง7วันก็ตาม

นิพพาน

เป็นสภาพดับสูญ ไม่อยู่ในกฏเกณฑ์ของโลกไม่มีเวลาเป้นเงื่อนไข สามารถดับไปเลยพร้อมสภาวะนิโรธก็ได้ หรือกลับมาสู่กายที่เคยอาศัยปฏิบัติออกสู่นิโรธก็ได้ .....สภาพนิพพานมีทางเลือก2ทางคือ ดับสูญเหมือนพระพุทธองค์ .....หรือทางที่2 ดับแล้วดำรงขันธ์อยู่เป้นอะไรก็ได้เท่าที่อยากจะเป็น ไม่มีเวลา ไม่มีเงื่อนไข ไม่ทุกข์ไม่สุข ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ร้อน ไม่หนาว  .... นิพพานของผู้นั้นจะยังมีให้เห็นอยู่ สัมผัสได้ รับรู้ มองเห้น มีตัวตน แต่มีสภาวะเหนือโลก
( บางส่วนของบทความนี้มีที่มาจากหนังสือ ปฏิบัติธรรมสุ่เส้นทางนิพพาน โดยหมอนพ จุลพุทธ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

-