ทักทาย

แม่หมอขอแนะนำตัวเองก่อนเลยนะคะ ก็เป็นผู้หญิงธรรมด๊าธรรมดาคนนึง อาจดูเหมือนเป็นสาวมั่นที่ลุ๊คดู เปรี้ยวไปบ้างเล็กน้อย ..... ส่วนใหญ่วันๆ ก็ทำงาน หาเงิน (แล้วก็อยากรวย) ว่างๆก็ใช้เงิน หาเงิน วนเวียนอยู่กับเงิน อยู่กับงาน อยู่กับครอบครัว ชีวิตหมดไปอย่างงี้แหละค่ะทุกๆวัน ..... แล้วมาวันนึงก็ให้รู้สึก เหนื่อยกับชีวิต บางครั้งก็คิดว่า เอ๊ะทำไมคนนั้นต้องทำกับเราอย่าง นี้ คนนี้ต้องทำกับเราอย่างนั้นด้วย รึทำไมน๊าถึงซวยอย่างนี้ และอื่นๆอีกมากมาย .....คราวนี้ก็มาลองคิดดู คิดไปคิดมาก็ให้รู้สึกเหมือนตัวเองไม่ค่อยมีความสุขเท่าไหร่ แต่คงเป็นโชคดีที่ตัวเองเป็นคนชอบอ่าน วันนึงก็เลยลองหยิบหนังสือแนว ธรรมะขึ้นมาอ่าน(กะอ่านเล่นๆ)... แล้วก็เริ่มเห็นจริงในบางเรื่อง ....แล้วก็เริ่มเอามาปรับใช้ในชีวิตจริง ..... สุดท้ายศรัทธาก็เกิดและชีวิตก็มีความสุขขึ้นตามลำดับ ......... แม่หมอคิดว่า คนเราเลือกที่จะมีความสุขได้นะคะ อยู่ที่เราจะเลือกรึเปล่า และกฎแห่งกรรมก็มีจริงค่ะอาจช้าไปบ้าง เร็วไปบ้าง แต่มีจริงแน่นอนค่ะ ..... ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปรัชญา เป็นศาสนาที่เน้นแนวคิด.... บางครั้งเราอาจคิดว่าห่างไกลกับชีวิตประจำ วันของเรา หรือ บางคนอาจคิดว่าวัยยังไม่ถึงยังไม่แก่ซะหน่อย ....แต่ไม่ลองไม่รู้ค่ะ แม่หมอเลยอยากชวนเพื่อนๆให้มาเริ่มศึกษาธรรมะไปพร้อมๆกับแม่หมอ เราจะเดินไปด้วยกันสู่เส้นทางสายธรรมเพื่อความสุขที่เราเลือกจะมีค่



a

วันพุธ

อคติ4

ธรรมะน่ารู้วันนี้แม่หมอขอนำเสนอหัวข้อธรรมที่ชื่อว่าอคติ4ค่ะ .......อคติ4หมายถึงความลำเอียง ซึ่งเป็นสัญชาตญาณถูกโน้มน้าวไปโดยไร้ความเที่ยงธรรม ความเอนเอียงแห่งอารมณ์ ผุดขึ้นจากความเหลื่อมล้ำต่ำสูง และช่องว่างในสังคม........เป็นความประพฤติที่ผิด ความลำเอียง ความไม่เที่ยงธรรม....อคติ หรือความลำเอียงเกิดจากสาเหตุ 4 ประการ คือ


1. ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะรัก คือทำให้ไม่ยุติธรรม เพราะความรักใคร่ เช่น น้องของตนเองเล่นกับเพื่อนแล้วรังแกเพื่อน แทนที่จะดุว่าน้อง กลับไปด่าเพื่อนน้องแทน ว่ามาแกล้งน้องตน หรือเป็นการโอนเอียงโดยสนับสนุนญาติมิตรที่ชอบพอ หรือผู้จ่ายสินจ้างแก่ตน


2. โทสาคติ ลำเอียงเพราะชัง คือ ทำให้ไม่ยุติธรรม เพราะความไม่ชอบ เช่น พ่อแม่ที่รักลูกแต่ละคนไม่เท่ากัน เมื่อลูกที่ตนเองรักทำผิด ไม่ยอมลงโทษ แต่ไปโทษลูกที่ตนเองไม่ค่อยรักแทนเป็นการลำเอียงไม่เข้าข้างฝ่ายที่ตนเกลียดชัง


3. โมหาคติ ลำเอียงเพราะเขลา คือ ทำให้ไม่ยุติธรรม เพราะความไม่รู้ เบาปัญญา หลงผิด เช่น พ่อแม่ที่ลงโทษลูกโดยที่ยังไม่ได้สอบถามความเป็นจริง ผู้ใหญ่ที่ลงโทษผู้น้อยโดยที่ยังไม่ได้สอบสวนความจริงให้รอบคอบ หรือเป็นการเสียความยุติธรรมเพราะโฉดเขลา ไม่รู้ทันเหตุการณ์ที่แท้จริง


4. ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว คือ ทำให้ไม่ยุติธรรม เพราะความกลัวภัย เช่น เพื่อนนักเรียนที่ตัวใหญ่ทำผิด แต่ไม่กล้าบอกครู เพราะกลัวเพื่อนจะมาทำร้าย หรือตำรวจเห็นผู้มีตำแหน่งสูงกว่าตน กระทำความผิด แต่ไม่กล้าจับ เพราะกลัวถูกย้าย เป็นการขาดดุลยอมร่วมด้วยเพราะเกรงอำนาจอิทธิพล หรือ กลัวขาดผลประโยชน์



เพื่อนๆรู้จักบทธรรมข้ออคติ4แล้วก็พยายามหลีกเลี่ยงอย่าให้เกิดกับเรานะคะ เมื่อเราทุกคนพยายามเลี่ยงอคติ4แล้ว สังคมเราก็จะอยู่กันอย่างมีความสุข ยุติธรรม และโอกาสที่จะเกิดความขัดแย้งที่รุนแรงก็จะลดลงค่ะ
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

-