สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง
หลวงพ่อเกษมเป็นพระสายวิปัสสนากรรมฐาน....... เป็นพระเกจิเถราจารย์ทางด้านธุดงค์วัตร ปลีกวิเวก เป็นพระเถราจารย์ปูชนียบุคคลรูปหนึ่งของไทย นอกจากท่านยังเป็นเจ้านายในราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ ที่ออกผนวชอีกด้วย
หลวงพ่อเกษมเดิมมีนามว่า เจ้าเกษม ณ ลำปาง...... ประสูติ เมื่อ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2455 เป็นบุตรใน เจ้าหนูน้อย ณ ลำปาง (ภายหลังเปลี่ยนนามสกุลใหม่เป็น มณีอรุณ) ..... เมื่อท่านอายุได้ 13 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ซึ่งเป็นการบรรพชาหน้าศพและท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรอีกครั้งเมื่ออายุ 15 ปีและจำวัดอยู่ที่วัดบุญยืน จังหวัดลำปาง
หลวงพ่อเกษมได้ศึกษาด้านพระปริยัติธรรม....จนสามารถสอบนักธรรมชั้นโทได้ในปี พ.ศ. 2474 และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในปีถัดมา ท่านได้รับฉายาว่า "เขมโก" แปลว่า ผู้มีธรรมอันเกษม ..... พ.ศ. 2479 ท่านสามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก ท่านเรียนรู้บาลีจนสามารถเขียนและแปลได้ รวมทั้งสามารถแปลเป็นภาษามคธได้เป็นอย่างดี
หลวงพ่อเกษมเมื่อสำเร็จทางด้านปริยัติธรรมแล้ว........ ท่านเสาะแสวงหาครูบาอาจารย์ที่มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญในด้านวิปัสสนา จนกระทั่ง ท่านทราบข่าวว่ามีพระเกจิรูปหนึ่งมีชื่อเสียงในด้านวิปัสสนา คือ ครูบาแก่น สุมโน ท่านจึงฝากตัวเป็นศิษย์และได้ตามครูบาแก่นออกท่องธุดงค์ไปแสวงหาความวิเวกและบำเพ็ญเพียรตามป่าลึก จนถึงช่วงเข้าพรรษาซึ่งพระภิกษุจำเป็นต้องยุติการท่องธุดงค์ชั่วคราวท่านจึงต้องแยกทางกับพระอาจารย์ และกลับมาจำพรรษาที่วัดบุญยืนตามเดิม พอครบกำหนดออก ก็ติดตามอาจารย์ออกธุดงค์บำเพ็ญภาวนา
หลวงพ่อเกษมได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดบุญยืน ...... จากการที่เจ้าอธิการคำเหมย เจ้าอาวาสวัดบุญยืนมรณภาพลง ทางคณะสงฆ์ได้ลงความเห็นพ้องต้องกันว่า พระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก มีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อท่านได้รับเลือกเป็นเจ้าอาวาสวัดบุญยืน ท่านก็ไม่ยินดียินร้าย แต่ท่านก็ห่วงทางวัดเพราะท่านเคยจำวัดนี้ ท่านเห็นว่าถือเป็นภารกิจทางศาสนาเพราะท่านเองต้องการให้พระศาสนานี้ดำรงอยู่ จึงยอมรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญยืน หลังจากนั้นท่านก็ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสหลายครั้งเนื่องจากท่านอยากจะออกธุดงค์ แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ดังนั้น ท่านจึงออกจากวัดบุญยืนไปที่ศาลาวังทานพร้อมเขียนข้อความลาออกจากการเป็นเจ้าอาวาสไว้ด้วย
หลวงพ่อเกษมไม่ยึดติดแม้แต่สถานที่ ...... ท่านได้ปฏิบัติธรรม ณ สุสานไตรลักษณ์ตลอดชนชีพ เป็นพระที่เป็นที่เคารพสักการะของคนในจังหวัดลำปางและทั่วประเทศ ท่านปฏิบัติศีลบริสุทธิ์ตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยไม่ติดยึดในกิเลสทั้งปวง
หลวงพ่อเกษมมีวัตรปฏิบัติที่น่าอัศจรรย์...... ลักษณะบำเพ็ญภาวนาดูเป็นการทรมานตนเกินกว่าใครจะคิดว่าเป็นการปฏิบัติธรรมก็ตาม เช่นนั่งสมาธิภาวนาอยู่หน้าเชิงตะกอนเผาผี กลางแดดร้อนระอุ ท่ามกลางสายฝน แต่ท่านทนได้และใช้เป็นอุบายภาวนาโดยไม่มีอันตรายใดๆ เป็นนิสัยที่ท่านเคยปฏิบัติมาก่อนในอดีต เป็นการแยกกายและจิตให้ออกจากกันขณะภาวนานั่นเอง
หลวงพ่อเกษมได้ปฏิบัติธรรมจนเป็นพระที่ขาวสะอาด....... และเป็นที่เคารพสักการะของคนทั่วประเทศ ศีลบริสุทธิ์ตามพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านเป็นพระไม่ติดยึดใคร ต้องการอะไร ขออะไร ไม่เคยปฏิเสธ จนสังขารของท่านดูแล้วไม่แข็งแรง แต่จิตของหลวงพ่อแข็งแรง
หลวงพ่อเกษมได้ถึงแก่พิราลัย เมื่อวันที่ 15 มกราคา 2539........ ยังความอาลัยเศร้าโศกเสียใจมายังหมู่สานุศิษย์ทั่วประเทศ ส่วนสรีระของท่านนั้นก็ยังความอัศจรรย์ด้วยเนื่องจากไม่เน่าเปื่อยเหมือนอย่างสังขารทั่วไป ทั้งยังเขียนป้ายบอกผู้ที่มาเคารพสรีระ ท่านด้วยว่าให้พนมมือไหว้ที่หน้าอกเพียงครั้งเดียวแล้วไม่ต้องกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์อย่างศพของพระเถระทั่วไป นับว่าท่าน นั้นถือสมถะเป็นอย่างมาก
คำสอนหลวงพ่อเกษม
พระนิพพานเปรียบเมือนคุณของอากาศอธิบายว่า อากาศมีคุณอยู่ 10 ประการ คือ ๑. ไม่รู้จักเกิด ๒. ไม่รู้จักแก่ ๓. ไม่รู้จักตาย ๔. ไม่จุติ ๕. ไม่กลับเกิดอีก ๖. เป็นของดำรงค์สภาพไว้ได้โดยไม่ต้องอาศรัยอะไร ๗. สำหรับฝูงนกบินไปมา ๘. ใครจะข่มเหง ลอบลักเอาไปไม่ได้ ๙. ไม่รู้มีอะไรมากางกั้น และที่สุด
๑๐. ไม่ปรากฏ
การเห็นเป็นเหตุแห่งการคิด การคิดเป็นเหตุแห่งการเห็น ถ้าคิดดีก็เป็นทางเย็น ถ้าคิดไม่เป็นก็เย็นสบาย
ตายไปเหม็นเน่า เราเขาเหมือนกัน อยู่ไปทุกวัน ใครได้ก็ดี ใครมีก็ได้
การกินก็ต้องเป็นห่วง เพราะอยู่ในบ่วงของตัณหา กินเพื่อเลี้ยงอาตมา ให้มีอยู่ได้เป็นวันๆ ตั้งแต่เกิดมา ได้กินหรือยัง กินแล้วให้เหลือ 1 คำ อย่าให้หมดเกลี้ยง จะฝึกโบราณ
ความหลุดพ้น ที่มนุษย์ทุกคนพึงหานั้น อยู่ที่ตนเอง หากตนเองมุ่งปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็จะได้พบไม่ยาก ขอให้มุ่งปฏิบัติเถิด
การหลุดพ้นนั้น จะต้องทำจิดใจของตนให้หมดกิเลส หมดสิ้นจากทุกข์ทกอย่าง หมดสิ้นจากสิ่งที่อยากได้ สิ่งที่เรียกว่า โลภ โกรธ หลง ตัดสิ่งนี้ให้หมดสิ้น และเจริญวิปัสสนากรรมฐานจึงได้พบทางหลุดพ้น
ชีวิตและปฏิปทาของหลวงพ่อเกษม เขมโก ย่อมเตือนใจให้ระลึกถึงพระพุทธพจน์ที่ว่า สีลคนโธ อนุตตโร กลิ่นศีลยอดเยี่ยมกว่ากลิ่นทั้งปวง"
ป่าเป็นธรรมชาติ ธรรมชาติไม่ได้บอกให้เราคิดเพ้อเจ้อ ฟุ้งซ่าน แต่มนุษย์ไม่ได้ทำตามหน้าที่ตามธรรมชาติ คิดเก่ง คิดชอบ คิดไร้สาระ คิดเอาแต่ใจตัวไม่รู้จบ มนุษย์ทำเกินหน้าที่ของตัว ไม่ทำตามธรรมชาติ เมื่อใดมนุษย์ถือมั่น ความทุกข์ก็ไม่มี มีแต่ประโยชน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น